เว็บไซต์ข่าวสดรายงานคำชี้แจงของนายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ระบุว่า พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฏษกร (ฉบับที่ 48) พ.ศ.2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (เนชั่นแนล อีเพย์เมนต์) ซึ่งได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 มี.ค. เป็นต้นไป
โดยกฎหมายนี้มีสาระสำคัญ ได้แก่ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และให้ผู้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องนำส่งข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร ได้แก่ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชีทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีและมียอดรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป หรือ มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชีทุกบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป
นอกจากนี้ ยังมี e-tax invoice และ e-receipt ซึ่งเปิดให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีและใบรับแบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งมาให้กรมสรรพากรได้เอง รวมถึงเปิดให้ผู้จ่ายเงินสามารถเลือกจ่ายภาษี หัก ณ ที่จ่ายผ่านธนาคาร หรือ คนกลาง ตลอดจนยังเปิดระบบ e-filing เพิ่มช่องทางการยื่นแบบภาษีออนไลน์ในภาษีทุกประเภท
ส่วนการรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมลักษณะเฉพาะจะครอบคลุมทั้งข้อมูลบัญชีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยสถาบันการเงินต้องเริ่มเก็บข้อมูลบัญชีปี 2562 เพื่อรายงานให้แก่กรมสรรพากรภายในเดือน มี.ค. 2563 เป็นต้นไป และปฏิบัติเป็นประจำทุกๆ ปี โดยข้อมูลธุรกรรมเฉพาะที่กำหนดจะนับเฉพาะยอดรับโอน หรือ เงินขาเข้าในบัญชีเท่านั้น ไม่รวมการโอนออกหรือถอนออกไป รวมถึงจะนับยอดรวมการโอนของทุกบัญชี ที่มีเจ้าของเปิดบัญชีในธนาคารเดียวกันรวมกันด้วย เช่น หากมีการเปิดบัญชีกับธนาคารหนึ่ง 5-10 บัญชี ก็จะนำยอดรับโอนทั้ง 5-10 บัญชี มานับรวม ถ้าเกินก็ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร แต่จะไม่นับข้อมูลบัญชีที่ต่างธนาคาร
แล้วเมื่อกรมสรรพากรได้รับรายงานข้อมูลธุรกรรมลักษณะเฉพาะจากสถาบันการเงินแล้ว จะมีการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เพื่อแยกแยะข้อมูลของผู้เสียภาษีเป็น 4 กลุ่ม คือ
แต่คนที่เสียภาษีและมีความเสี่ยงจะถูกตรวจพบว่าแจ้งข้อมูลการเสียภาษีตรงข้ามกับข้อมูลธุรกรรม ก็ต้องมาเสียภาษีให้ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นไม่เคยเสียภาษีมาก่อนก็จะมีการตรวจสอบหรือเรียกเข้ามาพบเพื่อข้อมูลเพิ่ม โดยกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เป็นการรังแกคนค้าขายออนไลน์ หรือใคร เพราะตามกฎหมายหากใครมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็ต้องเสียอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ในพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฏษกร (ฉบับที่ 48) พ.ศ.2562 ได้ระบุเหตุผลการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ว่า โดยที่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติได้กำหนดให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการดำเนินการของภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนซึ่งรวมถึงการรับชำระเงินภาษีประกอบกับลักษณะในการทำธุรกรรมของภาคเอกชนในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ส่งผลให้การตรวจสอบและติดตามข้อมูลเพื่อการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฏากรในปัจจุบัน ไม่อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการนำส่งเงินภาษี การยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากร และเพื่อให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดเก็บภาษีอากร สมควรปรับปรุงวิธีการนำส่งเงินภาษีบางประเภทและการยื่นรายการหรือเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรให้สามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรได้
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะให้กรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรและปรับปรุงอัตราโทษสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเปิดเผยข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรหรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: