ไม่พบผลการค้นหา
บัดนี้ 'งูเห่า' ได้เกิดขึ้นแล้วในรัฐสภาไทย เป็นการเกิดขึ้นตามการออกแบบของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 หากย้อนไปเมื่อวันแรกของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ด้วยสภาพของสภาเสียงปริ่มน้ำ เป็นผลให้เกิดการเทเสียงให้อีกขั้วหนึ่ง ท่ามกลางข่าวสะพัดว่ามีการทุ่มซื้อตัวงูเห่าด้วยหลักสิบล้านบาท

"ปริ่มน้ำมาก เกินครึ่งหนึ่งแค่ 5 ที่นั่ง ล้มได้ทุกเมื่อ เขาหวังว่าจะมีงูเห่าจากพรรคอื่น แต่พรรคตัวเองที่มี 20 พรรคก็จะมีงูเห่าได้ตลอดเวลาเหมือนกัน อาจจะตั้งรัฐบาลได้ พอเปิดสภาไประหว่างนั้นก็เกิดงูเห่าได้ตลอดเวลา" เป็นคำพยากรณ์ก่อนเปิดสภาได้เพียง 1 สัปดาห์ของ ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 

ให้หลังจากคำสัมภาษณ์ดังกล่าว การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2562

ได้เกิดปรากฎการณ์การประลองเสียงกันภายในสภาฯ เป็นครั้งแรก และมีการเทเสียงให้กับอีกขั้วการเมืองที่มีเสียงในสภาเป็นรอง

เมื่อฝ่ายขั้ว 20 พรรคการเมือง หรือ ว่าที่รัฐบาล เสนอญัตติให้เลื่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน

ผลการลงมติในครั้งนั้นเป็นการลงมติแบบเปิดเผย ซึ่งผลการลงมติแตกแถว มาจากพรรคพลังประชารัฐ ขานว่าไม่เห็นชอบกับการเลื่อนประชุม 5 เสียง ประกอบด้วย นายอนุชา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ส.ส.สมุทรปราการ และ นายอนุชา น้อยวงศ์ ส.ส.พิษณุโลกนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ส.ส.ยะลา และ นายอัฎฐพล โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี 

อนุชา วิรัช พุทธิพงษ์ พลังประชารัฐ รัฐสภา

เป็นผลให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ 248 ต่อ 246 เสียงไม่เห็นชอบกับญัตติของ 'วีระกร คำประกอบ' ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ที่เสนอให้เลื่อนการประชุมออกไป

หากจำแนกเสียงของฝ่ายซีก 20 พรรคการเมืองจะมีเสียงในสภาฯ 253 เสียง แบ่งเป็นพรรคพลังประชารัฐ 115 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ 52 เสียง พรรคภูมิใจไทย 51 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง พรรครวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง พรรคพลังท้องถิ่นไท 3 เสียง พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง และพรรคอื่นๆพรรคอีก 12 เสียง

ขณะที่ 7 พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย มี 243 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 136 เสียง พรรคอนาคตใหม่ 78 เสียง (80เสียง ขาด ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หยุดปฏิบัติหน้าที่ และ จุมพิตา จันทรขจร ส.ส.นครปฐม ลาป่วย) พรรคเสรีรวมไทย 10 เสียง พรรคประชาชาติ 7 เสียง พรรคเศรษฐกิจใหม่ 6 เสียง พรรคเพื่อชาติ 5 เสียง และพรรคพลังปวงชนไทย 1 เสียง

เป็นตัวเลขในสภาฯ เท่าที่มีอยู่ 498 คน

248 เสียง ของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย 7 พรรคได้เสียงเพิ่มขึ้นมาอีก 5 เสียงจากพรรคพลังประชารัฐ

นี่จึงเป็นที่มาของคำกล่าวกลางสภาฯ ของ 'ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ' ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ที่ประกาศว่า บัดนี้ได้เกิดงูเห่ากลางสภาแล้ว

ชวน-กระดาน-นับคะแนน-ประธานสภาผุ้แทนราษฎร-สภา

เมื่อถึงวาระการลงมติลับครั้งแรกในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กับวาระการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ผลการลงมติ 'ชวน หลีกภัย' ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภาฯ ด้วยมติ 258 เสียง  ขณะที่ 'สมพงษ์ อมรวิวัฒน์' ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้เพียง 235 เสียง

ผลการโหวตครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการลงมติแบบเปิดเผย ผลการโหวตพบว่า คะแนนเสียง 7 พรรคการเมืองขาดหายไป 7 เสียง จากจำนวนเต็ม 242 เสียง (กนก ลิ้มตระกูล ส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อไทย กลับก่อน)  และทำให้ถูกมองว่าเป็นเสียงงูเห่าที่เทให้กับซีกของ 20 พรรคการเมือง

ชวน-สภา-ประธานสภา-ยกมือไหว้

26 พ.ค. 2562 สภาผู้แทนราษฎร นัดประชุมเป็นครั้งที่ 2 เป็นคิวลงมติเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎรอีก 2 คน

ผลการลงมติรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 'สุชาติ ตันเจริญ' ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ เฉือนเอาชนะ 'เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์' ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ด้วยมติ 248 ต่อ 246 เสียง

การลงมติครั้งนี้ได้เกิดงูเห่าภายใน 253 เสียงของซีก 20 พรรคการเมือง เทเสียงให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตย 3 เสียง

ขณะที่ผลโหวตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 'ศุภชัย โพธิ์สุ' ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย ได้คะแนนเสียง 256 เสียง ขณะที่้ 'ประสงคฺ์ บูรณ์พงศ์' ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย ได้เสียงเพียง 239 เสียง 

เสียงโหวตครั้งนี้มี งูเห่าจาก 7พรรคขั้วประชาธิปไตยเทเสียงให้ 'ศุภชัย' 4 เสียง

สำหรับการลงมติลับใน 3 ครั้งทั้งหมดจะไม่นับเสียงของ 'ชัย ชิดชอบ' ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ที่เป็นประธานการประชุมชั่วคราว เนื่องจาก 'ชัย ชิดชอบ' จะทำลายบัตรลงคะแนนทุกครั้ง

สมศักดิ์ สุชาติ สามมิตร ณัฏฐพล พลังประชารัฐ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือผลผลิตของ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ออกแบบให้ระบบเลือกตั้งทุกคะแนนเสียงต้องไม่ตกน้ำ ส่งผลให้มีพรรคการเมืองถึง 27 พรรคได้ ส.ส.เข้าไปนั่งอยู่ในสภาฯ

และมี 11 พรรคการเมืองที่มี ส.ส.พรรคละ 1 คน โดยที่ไม่ได้คะแนนพรรคถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของ ส.ส.พึงมีที่ควรจะได้

ด้วยเสียงของสองขั้วในสภาฯ ที่ออกสูสีทุกเสียงมีผลต่อสถานะของรัฐบาล และยังเป็นเสียงที่ปริ่มน้ำ

ระบบของรัฐสภานับจากนี้จึงต้องเกิดการต่อรองอย่างหนักหน่วง เพื่อให้รัฐบาลไม่ล่มลงก่อนเวลา

ยังไม่นับกระแสข่าวลือเรื่องการทุ่มซื้อตัว ส.ส.เพื่อดึงเสียงจากอีกฝ่าย ว่ากันว่า ทุ่มซื้อด้วยเลขหลักสิบล้านบาท ต่อ 1 หัว ส.ส. แถมจ่ายกันเป็นงวดๆ พร้อมทั้งโบนัสให้ด้วยหากลงมติฝืนมติพรรคของตัวเอง

แค่เปิดฉากลงมติวันแรกในสภาผู้แทนราษฎร ก็เริ่มต้นวงจรอุบาทว์ทางการเมืองที่ปลุกฟื้นคืนมาอีกครั้ง จากผลลัพธ์ของระบบเลือกตั้งที่ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเข้มแข็งและไม่ต้องการให้ได้รัฐบาลที่มีเสียงในสภาอย่างมีเสถียรภาพพอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง