ข้อตกลงดังกล่าวจะส่งผลให้กองกำลังของสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงสนามบินและท่าเรือของปาปัวนิวกินี ซึ่งเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก โดยการลงนามนับเป็นความเคลื่อนไหวที่ถูกมองว่าเป็นความพยายามที่สหรัฐฯ กำลังทำการตอบโต้อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีนในภูมิภาคนี้
“ความร่วมมือด้านการป้องกันร่างขึ้นโดยสหรัฐฯ และปาปัวนิวกินี ในฐานะหุ้นส่วนที่เท่าเทียมและมีอำนาจอธิปไตย” บลิงเคนกล่าวในพิธีลงนามร่วมกับ เจมส์ มาราเป นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี
“เรากำลังยกระดับจากที่เคยมีความสัมพันธ์ทั่วไป… ไปสู่ความสัมพันธ์ที่มีความเฉพาะกับสหรัฐฯ โดยข้อตกลงความร่วมมือด้านการป้องกันได้สำเร็จเสร็จสิ้นลงแล้ว” มาราเปกล่าว
ปาปัวนิวกินีมีประชากรเกือบ 10 ล้านคน และประเทศนี้มีที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ส่งผลให้ปาปัวนิวกินีมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ ในการต่อต้านภัยคุกคามจากจีนในหมู่ภาคเอเชียแปซิฟิก
ข้อตกลงใหม่มีขึ้น ในขณะที่ผู้นำของประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิก กำลังรวมตัวกันเพื่อประชุมสุดยอดในเมืองหลวงของปาปัวนิวกินีอย่างพอร์ตมอร์สบี โดยในการประชุมแยกกัน นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ได้เดินทางเยือนปาปัวนิวกินี เพื่อเข้าร่วมการประชุมกับผู้นำ 14 ชาติเกาะภูมิภาคแปซิฟิกด้วย
ที่มา: