ไม่พบผลการค้นหา
ในรายการ Wake Up Thailand เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์ถึงผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง การถวายสัตย์ปฏิญาณตน จากผู้ตรวจการแผ่นดินไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่า การเข้าเฝ้าถวายสัตย์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์ และเป็นการกระทำทางการเมือง (Political Issue) อยู่ในความหมายของการกระทำของรัฐบาล (Act of Government) ตามมาตรา มาตรา 47 ของพ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ดังนี้

ในรายการ Wake Up Thailand เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์ถึงผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง การถวายสัตย์ปฏิญาณตน จากผู้ตรวจการแผ่นดินไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่า การเข้าเฝ้าถวายสัตย์เป็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์ และเป็นการกระทำทางการเมือง (Political Issue) อยู่ในความหมายของการกระทำของรัฐบาล (Act of Government) ตามมาตรา มาตรา 47 ของพ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ดังนี้

เห็นด้วยในส่วนแรก: ศาลรธน. ตีตกปมถวายสัตย์ เหตุผู้ถูกร้องไม่ได้ถูกละเมิดเสรีภาพ 

 นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจจำกัด จะรับพิจารณาคดีได้ ต้องเป็นเรื่องที่กำหนดไว้เท่านั้น การร้องศาลรัฐธรรมนูญนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร้องไปศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลบอกไม่รับ ซึ่งถือว่าถูกต้อง เพราะการผู้ไปยื่นร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและส่งไปศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่ผู้ถูกกระทบหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพ ในทางกฎหมายจึงถูกต้องที่ศาลชี้ว่า ไม่ใช่การกระทบสิทธิเสรีภาพ การกระทำทางรัฐธรรมนูญหลายกรณีอาจไม่ชอบหรือขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของใคร แต่ไม่ใช่ว่า ถ้ามาช่องทางอื่นแล้วศาลจะรับไว้พิจารณาไม่ได้เช่นเดียวกัน ถ้าช่องมาถูก ก็อาจรับไว้ได้

นายวรเจตน์ กล่าวว่า ปัญหาของคำสั่งอยู่ตรงเหตุผลช่วงที่สอง ที่ศาลชี้ว่า นอกเหนือที่จากที่ไม่กระทบสิทธิเสรีภาพแล้ว การกระทำการถวายสัตย์ปฏิญาณยังถือเป็นการกระทำของรัฐบาล เป็นการกระทำทางการเมือง ในความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะเข้าตามการอ้างอิงของศาลคือ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลฯ มาตรา 47 (1) ซึ่งตนไม่เห็นด้วยกับ เหตุผลที่ศาลให้ ศาลสามารถปฏิเสธไม่รับคำร้องได้ด้วยเหตุผลประการเดียวคือ ไม่ละเมิดสิทธิ เพราะการรับคำร้องกรณีนี้ต้องใช้เงื่อนไข2 อย่างคือ 1.ต้องละเมิดสิทธิ 2.ต้องไม่ใช่การกระทำที่พ.ร.ป.ที่เขียนยกเว้นไว้ให้ศาลตรวจสอบ

 "ฉะนั้นหากคนร้องไม่ได้ถูกละเมิดสิทธิแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องดูประเด็นอื่นอีก การที่ศาลเข้ามาดูจะเป็นปัญหาเรื่องข้อกฎหมายว่า ตกลงแล้วการถวายสัตย์ปฏิญาณ มันเป็นการกระทำทางการเมือง หรือการกระทำของรัฐบาล ตามที่ศาลวินิจฉัยเอาไว้ตามคำสั่งจริงหรือ"นายวรเจตน์กล่าว 

ชี้ถวายสัตย์คือพิธีการ ต้องทำก่อนรับหน้าที่ - ไม่ใช่การกระทำรัฐบาล

นายวรเจตน์ กล่าวอีกว่า ตามหลักวิชา การกระทำของรัฐบาล เป็นการกระทำทางการเมืองชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่อาจตรวจสอบทางกฎหมายได้ การกระทำขององค์กรต่างๆ จะมี 2 มิติซ้อนกันในทางรัฐธรรมนูญคือ มิติทางการเมือง กับมิติทางกฎหมาย การกระทำสามารถตรวจสอบทางกฎหมายได้ ผ่านการวินิจฉัยโดยตุลาการ การกระทำบางอย่างเป็นการกระทำทางการเมืองโดยแท้ ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมาย ที่ศาลจะตรวจสอบได้ ตัวอย่าง การกระทำของรัฐบาล ที่ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมายที่ศาลจะตรวจสอบได้ เช่น การประกาศสงคราม การทำสนธิสัญญาสันติภาพ การยุบสภาผู้แทนราษฎร การกระทำทางนโยบาย เหล่านี้ ต้องตรวจสอบทางการเมือง ไม่สามารถตรวจสอบทางกฎหมายได้

"การถวายสัตย์ปฏิญาณในความเห็นของผม ไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล หรือการกระทำทางการเมือง ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่การถวายสัตย์ปฏิญาณมีลักษณะเป็นแบบพิธีหรือขั้นตอนที่ต้องกระทำ ก่อนเข้ารับการปฏิบัติหน้าที่ เป็นขั้นตอนที่ทำให้องค์กรได้รับการแต่งตั้งนั้นปฏิบัติบัติหน้าที่ได้ ถ้าไม่ทำก็ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ มันเป็นขั้นตอนแบบพิธีการ ถ้าทำไม่ครบก็จะมีปัญหาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ว่า ต้องดูเมื่อไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ผลจะเป็นอย่าไงรค่อยว่ากันต่อไป" นายวรเจตน์กล่าวและว่า

ความเห็นผมคือ ไม่ใช่การกระทำของรัฐบาลที่ศาลตรวจสอบไม่ได้ ศาลอาจตรวจสอบได้ ถ้าเรื่องนี้ ไปตามช่องทางการส่งเรื่องที่ถูกต้อง

นายวรเจตน์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแค่ครม. เดิมตามประวัติศาสตร์องค์กรที่ต้องปฏิญาณมีแต่ส.ส.เท่านั้น การปฏิญาณของส.ส. ส.ว.เป็นธรรมเนียมที่มีตั้งแต่ 2475 กรณีของการให้ครม.ถวายสัตย์ปฏิญาณมีตอน 2492 ต่อมามีกำหนดถ้อยคำเอาไว้ ต่อมา 2517 มีกำหนดในส่วนของศาล เขียนกำหนดให้ต้องมีปฏิญาณ ส.ส. ส.ว.ต้องปฏิญาณในสภา ส่วนครม.หรือศาลหรือองคมตรี ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ ต้องทำก่อนเข้ารับหน้าที่ ถ้าไม่ทำก็เข้ารับหน้าที่ไม่ได้

เชื่อไม่โมฆะ แนะถวายสัตย์ใหม่ ยันสภามีอำนาจอภิปรายตามม.152

นายวรเจตน์ กล่าวอีกว่า ครม.ประยุทธ์ได้ปฏิบัติ เพียงแต่กล่าวถ้อยคำไม่ครบถ้วน ประเด็นอยู่ตรงนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนว่า หากฝ่าฝืนจะเป็นอย่างไร จึงมีหลายความเห็นบอกคนมองว่า ทำหน้าที่ไม่ได้เป็นโมฆะไปเลย แต่ตนไม่ได้เห็นขั้นนั้น ในกระบวนการแบบพิธีเข้ารับหน้าที่ที่ยังไม่สมบูรณ์ วิธีที่ทำให้สมบูรณ์ก็ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณใหม่ ถ้าไม่ทำจะส่งผลให้ทุกการกระทำเป็นโมฆะไปหรือไม่ ตนก็ไม่คิดถึงขั้นนั้น เพราะมีการกระทำแล้ว มีขั้นตอนอื่นสืบเนื่องมา กรณีนี้คือทำต่อไป เพราะมีกำหนดว่า หากยังไม่ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพรางก่อนก็ได้ เมื่อทำแล้วไม่ครบ ไม่สมบูรณ์ ก็ต้องทำให้สมบูรณ์ แต่จะทำอย่างไรให้มีผลสมบูรณ์ ก็ไม่มีผลทางกฎหมายให้เสียเปล่าไป

นายวรเจตน์ กล่าวว่า ในทางการเมืองก็ต้องมีการอภิปราย ซักถามได้ เพราะถือว่า ไม่ทำไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ สภาสามารถเปิดอภิปรายได้อยู่แล้ว ไม่เกี่ยว���้วยว่า จะมีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่แล้ว เป็นคนละประเด็นกัน ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทางกฎหมาย ว่า เรื่องที่เกิดขึ้นจะรับพิจารณาได้หรือไม่ ซึ่งเขาไม่รับ แต่ว่าสภาตรวจสอบทางการเมืองอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 เพื่อซักถามปัญหา

"ถ้าเป็นประเด็นทางกฎหมายจริงๆสภาต้องมีมติว่า ไม่ถูกต้อง ไม่รับที่จะให้ครม.ทำหน้าที่ต่อไปโดยทำให้ไม่ถูกต้องได้ ก็จะมีประเด็นไปศาลรัฐธรรมนูญในแง่ช่องการขัดแย้งกันระหว่างองค์กร แต่ช่องทางนี้ถูกปิดไปแล้วโดยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชี้ว่า เป็นการกระทำของรัฐบาล ก็ปิดช่องทางกฎหมายอันอื่น แต่ในทางการเมืองไม่ได้ปิดช่องทางใด" นายวรเจตน์กล่าว

นายวรเจตน์ อธิบายว่า ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเป็นเรื่องหลักการ ไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล สามารถตรวจสอบทางการเมืองได้ ไม่มีปัญหา ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญเขียนว่า ไม่ตกอยู่ภายใต้องค์กรใด ก็สามารถที่จะพูดได้ 2 มิติคือ สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญเขียนในคำสั่งไม่ได้ผูกพันทุกถ้อยคำในทางกฎหมาย ต้องดูว่าเป็นเหตุผลหลักหรือเหตุผลประกอบ ส่วนที่ศาลเขียนไม่ตกอยู่ภายใต้ตรวจสอบขององค์กรใด เป็นเหตุผล ประกอบทั่วไป ไม่ผูกพันองค์กรใด เป็นคำสั่งไม่รับฟ้อง ไม่ใช่คำวินิจฉัยเต็มรูป ในเนื้อหาของคดี

"ตอนนี้อาจมีคนเถียงว่า สภาไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ก็อาจไม่โต้แย้งแบบนี้ได้ สภาผู้แทนฯเป็นองค์กรสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ การบอกไว้ไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบนั้น การตรวจสอบทางกฎหมาย ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจชี้ในแดนทางการเมือง ถ้าบอกว่าอันนี้ผูกพันตรวจสอบไม่ได้ เดี๋ยวก็จะมีเรื่อง พระราชกำหนด (พ.ร.ก.)อีก ตอนนี้มีการส่งพ.ร.ก.ให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลก็อาจชี้ว่า พ.ร.ก.ไม่ขัด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พ.ร.ก.ต้องกลับมาที่สภา แล้วหากสภาโหวตตกก็ทำได้ อำนาจของสภาเป็นเรื่องทางการเมือง อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องกฎหมาย เป็น 2 ส่วนต้องแยกกัน ไม่ควรเอาประเด็นการเมืองมาบิดผันระบบตรวจสอบ ฝ่ายค้านต้องตั้งหลักให้มั่นว่า คำวินิจฉัยเป็นอย่างไร"นายวรเจตน์กล่าว 

เมื่อถามว่า แม้ไม่รับฟ้อง แต่คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายวรเจตน์ กล่าวว่า นี่คือปัญหาที่ตนวิจารณ์มาเป็นสิบปีแล้ว หลายครั้งคำวินิจฉัยของศาล ก่อตั้งกฎเกณฑ์ทางกฎหมายขึ้นมา เรื่องนี้ขึ้นกับว่า องค์กรที่เกี่ยวข้องจะเห็นเป็นอย่างไร ปกติคำสั่งจะผูกพันกับตัวเหตุผลหลัก ส่วนอื่นที่เป็นส่วนประกอบจะไปผูกผันกับส่วนอื่นไม่ได้ มิเช่นนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเขียนอะไรไว้ ก็จะผูกพันทุกอย่างซึ่งเป็นไปไม่ได้โดยสภาพ การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่รับคำร้องนั้นถูกต้องแล้ว ถ้าผมเป็นตุลาการเรื่องส่งมาลักษณะแบบนี้ ผมก็จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา เนื่องจากการถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ได้ละเมิดสิทธิของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ ด้วยเหตุผลเท่านี้

เมื่อถามว่า เหตุผลอื่นยังไม่ได้ผูกพันใคร นายวรเจตน์ กล่าวว่า เหตุผลที่ปรากฎในคำวินิจฉัยศาลปรากฎได้ 2 อย่าง คือเหตุผลหลักในการวินิจฉัย ส่วนนี้จะมีผลหลัก กับเหตุผลส่วนประกอบ เขียนเพื่อให้มีน้ำหนักมากขึ้น ส่วนนี้ ไม่ได้ผูกพันองค์กรอื่น แต่จะเป็นปัญหาทางกฎหมายต่อไปในแง่การตีความ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้จะเป็นปัญหาต่อศาลปกครองหรือศาลอื่นมากกว่าที่จะเป็นปัญหาของสภาผู้แทนราษฎร ที่ตรวจสอบทางการเมือง ไม่ใช่เกณฑ์ทางกฎหมาย อย่างไรเสียไม่ได้ผูกพันกับเขาอยู่แล้ว

นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า สมมติ มีคนไปฟ้องศาลปกครองไม่เห็นชอบการโยกย้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยการต่อสู้ว่า ครม.ไม่มีอำนาจ เพราะการถวายสัตย์ปฏิญาณไม่สมบูรณ์ด้วยรัฐธรรมนูญ ก่อนศาลปกครองจะวินิจฉัย ก็ต้องดูว่า ครม.ถูกต้องมีอำนาจหรือไม่ ไม่เช่นนั้นชี้ประเด็นหลักไม่ได้ คำวินิจฉัยเมื่อวานก็มีปัญหาว่า ศาลปกครองต้องผูกพันกับส่วนท้ายอย่างไร จะหยิบยกคำฟ้องของคู่ความมาพิจารณาได้หรือไม่ ตามกฎหมายทั่วไป อาจมองว่ามีผลผูกพันแล้วหรือไม่ ก็ต้องเถียงกัน

ดักคอรัฐบาลอ้างอภิปรายไม่ได้ แนะแยกปม 'การเมือง-กฎหมาย'

นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวอีกว่า แต่ทั้งหมดไม่กระทบอะไรทั้งสิ้นกับสภาผู้แทนราษฎรที่จะอภิปรายในวันที่ 18 ก.ย.นี้ได้ คำสั่งดังกล่าวจะมีผลทำให้ส.ส.รัฐบาลโต้แย้งว่า เรื่องนี้อภิปรายไม่ได้ เพราะศาลชี้แล้วว่า มีผลผูกพันทุกองค์กร ซึ่งความเห็นตนมันเป็นคนละประเด็นกัน นี่เป็นการว่ากันทางการเมือง หากเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอะไรแล้ว ก็ไม่สามารถอภิปรายอะไรได้เลย ในที่สุดคงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงอะไรในสภาพการณ์ทางการเมืองในความเป็นจริง แต่ในทางระบบตรวจสอบก็ว่ากันไปตามระบบ

"ที่เกิดขึ้นคือมีการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนแล้วแต่ไม่ครบ มีการแถลงนโยบายแล้ว มีขั้นตอนต่อเนื่องมาแล้ว แต่ในทางกฎหมายก็ต้องพูดให้ชัดว่า ไม่สมบูรณ์ทางรัฐธรรมนูญ แต่ก็คงไม่ถึงกับมีผลทำให้ทุกอย่างเป็นโมฆะ ก็เป็นความไม่สมบูรณ์แบบนี้เรื่อยไป อาจมีคนหยิบยกประเด็นทางกฎหมายได้ในวันหน้า ซึ่งกับขึ้นกับทัศนะของศาลแต่ละคดีว่า อย่างไร สำหรบตน ก็ทำให้ครบ เพื่อเยียวยาสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อดูท่าทีแล้วรัฐบาลก็คงเดินไปในท่าทีแบบนี้ตอบสภาว่า ทำครบขั้นตอนแล้ว เพียงแต่ขั้นตอนนั้นกล่าวไม่ครบ" นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์กล่าว