ไม่พบผลการค้นหา
หน่วยงานด้านอวกาศของอินเดียได้ปล่อยจรวด ที่ตั้งเป้าหมายในความพยายามเพื่อการลงจอดยานอวกาศบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งนี้ หากภารกิจนี้สำเร็จ การลงยอดยานอวกาศของอินเดีย จะส่งผลให้อินเดียกลายมามีสถานะเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศ

ภาพจากโทรทัศน์เมื่อวันศุกร์ (14 ก.ค.) เผยให้เห็นการปล่อยจรวด LVM3 ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ออกจากฐานปล่อยยานอวกาศหลักของอินเดีย ที่ตั้งอยู่ในรัฐอานธรประเทศทางตอนใต้ของประเทศ โดยในภาพวิดีโอนั้น การปล่อยจรวดทิ้งให้เกิดกลุ่มควันและไฟบริเวณฐานปล่อยจรวด พร้อมกันกับภาพจรวดที่พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า

ภารกิจจันทรายาน-3 ได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งยานลงจอดและยานสำรวจเข้าใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 23 ส.ค.ที่จะถึงนี้ โดยก่อนหน้านี้ มีหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศต่างๆ เพียง 3 แห่ง ได้แก่ สหรัฐฯ อดีตสหภาพโซเวียต และจีน ที่ได้ลงจอดยานอวกาศของตัวเองลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่ไม่มีใครลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้มาก่อน

เสียงปรบมือและเสียงเชียร์ดังไปทั่วห้องควบคุมภารกิจที่ศูนย์อวกาศสาทิชดาวัน ซึ่งวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ของ ISRO ต่างเฉลิมฉลองกัน ขณะที่พวกเขาติดตามการปล่อยยานอวกาศ นอกจากนี้ ชาวอินเดียอีกหลายพันคนได้แสดงความยินดี จากบริเวณนอกศูนย์ควบคุมภารกิจ และโบกธงชาติอินเดียขณะที่พวกเขาเฝ้าดูยานอวกาศทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า

“ขอแสดงความยินดีกับอินเดีย จันทรายาน-3 ได้เริ่มต้นการเดินทางสู่ดวงจันทร์แล้ว” สฤษดิ์ ปาณิเกร สมนาถ ผู้อำนวยการ ISRO กล่าวหลังจากการปล่อยจรวดไม่นาน ในขณะที่ นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ซึ่งกำลังเดินทางเยือนฝรั่งเศส ทวีตข้อความว่าภารกิจนี้แบกรับ “ความหวังและความฝันของชาติเรา”

ภารกิจจันทรายานครั้งที่ 3 ประกอบด้วยยานลงจอดสูง 2 เมตร ที่ออกแบบมาเพื่อติดตั้งยานสำรวจ ใกล้กับขั้วใต้ของดวงจันทร์ ซึ่งคาดว่าจะยังคงใช้งานได้เป็นเวลา 2 สัปดาห์โดยดำเนินการทดลองหลายครั้ง ทั้งนี้ ภารกิจจันทรายาน-2 ของ ISRO ในปี 2563 ประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศออกนอกโลก แต่ยานของมันที่ลงจอดและรถโรเวอร์ถูกทำลาย จากการชนใกล้กับจุดที่ยานของภารกิจจันทรายาน-3 พยายามจะทำการลงจอด

เมื่อยานแตะพื้นผิวดวงจันทร์ รถโรเวอร์จะวิ่งออกจากฐานซึ่งมีชื่อว่า วิกรม ที่แปลว่า ความกล้าหาญ ในภาษาสันสกฤต จะเคลื่อนตัวลงสู่พื้นดวงจันทร์ และสำรวจพื้นที่ใกล้เคียง รวบรวมภาพและส่งกลับมายังโลก เพื่อทำการวิเคราะห์ นอกจากนี้ รถโรเวอร์ที่ชื่อปรักยันในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ปัญญา จะมีวงชีวิตภารกิจใน 1 วันตามการรับเวลาแบบจันทรคติ หรือ 14 วันโลก


ที่มา:

https://www.aljazeera.com/news/2023/7/14/chandrayaan-3-india-launches-rocket-to-land-spacecraft-on-moon?fbclid=IwAR2Q5-3kkt8KsZblGuQ_KLW83ntwsure9xgeqYCiG8fZBGbCPimiAzD9BcE