ไม่พบผลการค้นหา
7 พรรคฝ่ายค้าน ลงพื้นที่รับฟังปัญหา ผลกระทบจากโครงการ EEC ด้านภาคประชาชนโวยโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ทำลายแหล่งอาหาร ทำลายอาชีพประมงพื้นบ้าน ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

7 พรรคฝ่ายค้าน ลงพื้นที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี รับฟัง เสียงสะท้อนปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง ที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผล กระทบของการสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ณ ที่ทำการชุมชนบ้านบางละมุง โดยมี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ พันตำรวจเอกทวีสอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายภาสกร เงินเจริญกุล หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ รวมถึง นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายพรรคอนาคตใหม่ และนายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง ส.ส.เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ จ.นครศรีธรรมราช ในฐานะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ร่วมพูดคุย

ชาวบ้านในพื้นที่ บอกว่า หากมีการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ปากคลองบางละมุง ซึ่งเป็นแหล่งทำประทง จะถูกปิดไม่สามารถประกอบอาชีพประมง ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำรายได้หลักชาวบ้าน ยืนยันว่า ไม่ได้ปฎิเสธความเจริญ แต่ถ้าภาครัฐดำเนินการโครงการนี้จริงต้องรับผิดชอบ และดูแลรายได้ของประชาชนในพื้นที่ เช่น หากประกอบอาชีพประมงมีรายได้ต่อเดือน 100,000 บาท ต่อเดือน รัฐก็ต้องชดใช้ให้ 100,000 บาท และหาช่องทางอาชีพอื่นๆ ให้ สอดคล้องกับวิถีชีวิต

ชาวบ้านบอกอีกว่า เคยเสนอรูปแบบของการก่อสร้างที่ประชาชนในพื้นที่ จะได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการประกอบอาชีพน้อยที่สุดคือการสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ตรงข้ามกับ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1 หรือ 2 เพื่อไม่ได้ปิดปากแม่น้ำบางละมุง แต่ภาครัฐระบุว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า รูปแบบของรัฐบาล

หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย เสนอว่า ให้โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1 และ 2 หรือดำเนินการตามรูปแบบการสร้างของประชาชนในพื้นที่ต้องการ 

ด้านเลขาธิการพรรคเศรษฐกิจใหม่ เชื่อว่าปัญหามีมาตั้งแต่ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 1 และ 2 อยากให้ชาวบ้านรวบรวมข้อมูลทั้งหมดให้ 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน 

จากนั้นเจ็ดพรรคฝ่ายค้านเพื่อประชาชน เดินทางต่อมายัง ศาลาเอนกประสงค์บ้านแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อรับฟังเสียงสะท้อน จากภาคประชาชนโดยเฉพาะผลกระทบจากการพัฒนาโครงการeec และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 1 ถึง 3 ที่มีโครงการเตรียมถมทะเลกว่า 3,000 ไร่ จากการรับฟังเสียงสะท้อนของคนในพื้นที่เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า โครงการดังกล่าวเป็นการ ทำลายระบบนิเวศน์ ทำลายแหล่งอาหาร ทำลายอาชีพประมงพื้นบ้าน ทำลายทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะข้อเท็จจริงให้กับประชาชนได้รับทราบยังไม่เพียงพอ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในแง่ของการรับฟังผลกระทบจากการพัฒนาโครงการดังกล่าวยังไม่เห็นรัฐดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงกระบวนการเยียวยาการฟื้นฟูความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ที่จะเกิดขึ้นภายหลังโครงการเดินหน้า เชื่อว่ารัฐก็ยังไม่มีแผนรองรับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :