นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกประกาศกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ‘’เรื่องปิดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่’’โดยมีประกาศเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากเจ้าหน้าที่ขึ้นไปสำรวจบนดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเกิดไฟไหม้ป่าตั้งแต่เดือนมีนาคม -เดือนเมษายน เสียหายไปทั้งหมดเกือบ 4 พันไร่ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าสงวนเสียชีวิตจากไฟป่าและจากการล่าสัตว์ด้วยน้ำมือมนุษย์ด้วย
สำหรับหนังสือประกาศนั้น ระบุว่า การปิดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติดอยหลวงเชียงดาวนั้นเพื่อเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศน์บนดอยหลวงเชียงดาวเนื่องจากที่ผ่านมาสถานการณ์ไฟป่าที่รุนแรงส่งผลให้ระบบนิเวศน์บนดอยหลวงเชียงดาว ทั้งพืชเฉพาะถิ่น พืชกึ่งอัลไพน์ มีความเสียหายยังไม่สามารถประเมินได้ ดังนั้น ทางกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแลรักษาต่อแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัยและการขยายพันธุ์ของสัตว์ป่ารวมทั้งการดำเนินการสำรวจผลกระทบด้านพันธุ์พืชจึง ส่งผลทำให้ระบบนิเวศและสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครองที่อาศัยอยู่บนดอยหลวงเชียงดาวเสียชีวิต จึงทำให้ในปีนี้นายธัญญา เนติธรรมกุลอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 ไปจนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ให้มีการสั่งปิดดอยหลวงซึ่งปีนี้นักท่องเที่ยวจะไม่สามารถเดินทางขึ้นไปเที่ยวดอยหลวงเชียงดาวได้ ส่วนกรณีถ้าจะมีผู้เข้าไปในพื้นที่นั้นให้ทาง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีไปตามความเหมาะสม
ด้านนายประกาศิต ระวิวรรณ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เปิดเผยว่า จากการขึ้นไปสำรวจความเสียหายจากไฟป่าบนดอยทุกยอดดอยถูกไฟไหม้กินพื้นที่กว่า 3 พันไร่ สาเหตุเนื่องจากมีการจุดไฟเพื่อล่าสัตว์เนื่องจากพบร่องรอยการล่าสัตว์ พบอาวุธและกะโหลกของกวางผาซุกซ่อนอยู่ในซอกถ้ำนอกจากนี้ยังมีพืชพรรณไม้หายากอย่างเช่นดอกกุหลาบขาวเชียงดาว ถูกไฟไหม้ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้รอเวลาแต่ละช่วง ฝน หนาว ร้อน เพื่อสำรวจพรรณพืชให้ครบและสรุปได้ว่าฟื้นตัวได้หรือไม่โดย-ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
หลังจากนี้จะได้มีมาตรการรองรับด้วยการหารือกับ ภาคีเสนอและผู้ประกอบการในพื้นที่ช่วยกันแนะนำการท่องเที่ยวทางเลือก (เหมือน ททท. โปรโมทท่องเที่ยวเมืองรอง) ที่ไม่ใช่การขึ้นยอดดอยหลวง อาทิ การเดินศึกษาธรรมชาติในป่ารอบดอยแบบ 1 วัน, การท่องเที่ยวโดยชุมชน (ตัวอย่างบ้านตึงงาม,บ้านหัวทุ่ง) การขึ้นดอยค้ำฟ้าที่เมืองคอง, การจัดการแสงสว่างในกลางคืนเพื่อทำให้เชียงดาวเป็นเมืองแห่งดาว, การชื่นชมความงามของดอยหลวงเชียงดาวจากมุมต่างๆด้านล่าง โดยรอบ (เหมือนภูเขาไฟฟูจิ) ทางที่ประชุมก็เสนอเส้นทาง สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ และเห็นด้วยว่าเชียงดาวควร จะเป็นเมืองที่ท่องเที่ยวได้ทุกฤดู ทั้งร้อน ฝน ไม่ใช่แค่หนาว และไม่ต้องเข้าเขตป่าสงวน โดยจะมีการระดมความเห็นต่อไป และทางภาคีจะช่วยทำสื่อประชาสัมพันธ์ “เที่ยวเชียงดาวเที่ยวได้ทั้งปี” เพื่อรวมแผนการท่องเที่ยวแบบต่าง ๆ ให้ครบ เนื่องจากชุมชนหลายแห่งมีความคิดริเริ่ม มีสิ่งดึงดูดใหม่ ๆ แต่ขาดการนำเสนอสู่สาธารณชน แต่ทั้งนี้ การท่องเที่ยวทุกมิติ นอกจากสร้างอาชีพและรายได้แล้ว จะต้องเป็นเครื่องมือสำคัญนำไปสู่การจัดการดูแลป่าและทรัพยากรร่วมกับชุมชนและภาครัฐ เพื่อความยั่งยืน และแก้ปัญหาไฟป่าฝุ่นควันด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :