ไม่พบผลการค้นหา
ผู้แทน กมธ.อาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ประจำอินโดนีเซีย ชี้ว่าการใช้ ก.ม.ฉุกเฉินรับมือโควิด-19 ใน 3 ชาติอาเซียน 'ไทย-กัมพูชา-ฟิลิปปินส์' ไม่ได้ช่วยคุมการแพร่ระบาดได้ดีเท่ามาตรการต่างๆ ที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ขณะที่ 'สมาชิกรัฐสภาอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน' (APHR) จี้ผู้นำชาติอาเซียนคุยเรื่องละเมิดสิทธิช่วงโควิดฯ ในการประชุมครั้งที่ 36

ยูยุน วาห์นิงกรัม ผู้แทนคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ของอินโดนีเซีย เผยแพร่บทความใน The Jakarta Post สื่อภาษาอังกฤษในอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. โดยระบุว่า ประเด็นสิทธิมนุษยชนในอาเซียนตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด เพราะรัฐบาลบางประเทศประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอนุญาตให้รัฐบาลจำกัดสิทธิสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ

บทความของผู้แทน กมธ. AICHR (ไอชาร์) ระบุว่า แนวคิดเรื่องสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้เกิดทางแพร่งระหว่างการใช้ชีวิตตามปกติและข้อยกเว้นที่จะไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน เพราะทำให้คนในสังคมมองความสัมพันธ์ระหว่างหลักการด้านความเป็นธรรมและหลักการด้านกฎระเบียบในมุมที่ต่างออกไป เพราะหลายครั้ง 'รัฐ' ให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายทางสังคมมากกว่าการเคารพสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังได้มอบ 'อำนาจพิเศษ' ให้แก่ผู้มีอำนาจรัฐอีกด้วย

พร้อมกันนี้ บทความยังได้ยกตัวอย่าง 3 ประเทศในอาเซียนที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้แก่ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และไทย โดยอ้างถึงผลการดำเนินงานของไอชาร์ ซึ่งติดตามสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศเหล่านี้ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการบังคับใช้กฎหมายฉุกเฉินต่างๆ ของแต่ละประเทศ กระทบสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน

ผู้แทน กมธ.ไอชาร์ ยกตัวอย่างสิทธิที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย สิทธิในการเคลื่อนย้าย สิทธิในการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ สิทธิในด้านศาสนา สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สิทธิด้านสุขภาพ-การทำงาน-การศึกษา สิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพสื่อ สิทธิในการเข้าถึงอาหาร สิทธิด้านที่อยู่อาศัย และความมั่นคงปลอดภัยส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เคยระบุก่อนหน้านี้ว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะทำได้อย่างเหมาะสมก็ต่อเมื่อมีปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ หนึ่ง เกิดสถานการณ์ฉับพลันที่เป็นภัยคุกคามต่อวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของชาติ และ สอง มาตรการที่ประกาศใช้มีความจำเป็นต่อการระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่มีองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนบางประเทศที่สะท้อนว่า การประกาศสถานการฉุกเฉินบ่อนทำลายหลักนิติรัฐ ลดบทบาทของกระบวนการตรวจสอบตามกลไกรัฐสภาและกระบวนการยุติธรรม แต่กลับมอบอำนาจพิเศษให้ผู้อยู่ในอำนาจ

AFP-ฟิลิปปินส์จับผู้หญิงละเมิดเคอร์ฟิวช่วงโควิด-ไวรัสโคโรนา-COVID19.jpg

ในทัศนะของผู้แทนไอชาร์ อินโดนีเซีย มองว่าบางประเทศในอาเซียนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยเหตุผลเรื่อง 'ความสะดวก' ไม่ใช่ 'ความจำเป็น' เพราะหากเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ซึ่งไม่ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงมีคำถามว่าการประกาศสถานการณ์หรือการใช้กฎหมายฉุกเฉินเป็นแนวทางควบคุมสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ได้ผลจริงหรือไม่

นอกจากนี้ บทความยังระบุด้วยว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและใช้กฎหมายฉุกเฉินในการจัดระเบียบสังคมของประเทศอาเซียนช่วงโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อแวดวงการเมืองและกระบวนการยุติธรรม รวมถึงมีส่วนควบคุมและจำกัดบทบาทของภาคประชาสังคมในประเทศนั้นๆ

"บางที การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอาจไม่ใช่กุญแจสำคัญในการรับมือกับวิกฤตด้านสาธารณสุข เช่น แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่สิ่งที่ดีกว่าคือการดำเนินงานต่างๆ อย่างโปร่งใส ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ มีมาตรการตอบสนองที่รวดเร็ว มีการตรวจคัดกรองในวงกว้าง และมีระบบติดตาม-รักษาอาการผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน เกิดจากการประเมินความเสี่ยงและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ" บทความระบุ

ขณะเดียวกัน สมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR) ซึ่งเป็นเครือข่ายสมาชิกสภาผู้แทนและวุฒิสภาในประเทศสมาชิกอาเซียน ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงประธานอาเซียนคนปัจจุบัน เรียกร้องให้ผู้นำชาติอาเซียนที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 36 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในสัปดาห์นี้ มีวาระด้านการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนช่วงที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ออกมาตรการและนโยบายจำกัดสิทธิในการรับมือและควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

ทั้งนี้ จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวถูกส่งไปยังผู้นำรัฐบาลประเทศอาเซียนทั้ง 10 ชาติอีกด้วย รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: