ไม่พบผลการค้นหา
รมว.เกษตรฯ เร่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมาตรการใช้ยาง นำน้ำยางทำถนนทุกชุมชนทั่วประเทศ หวังระบายสต็อกสร้างเสถียรภาพราคายางพารา ฟาก รองผู้ว่าการ กยท. เผย สัปดาห์หน้าสรุปผลสอบสวนข้อเท็จจริงอำนาจตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราไทย วงเงิน 1.2 พันล้านบาท

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่าภายในสัปดาห์หน้าบอร์ดกยท.จะรับทราบผลสรุปจากนายนที ขลิบทอง คณะกรรมการกยท.และประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราไทย วงเงิน 1.2 พันล้านบาทเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางในช่วงที่นายธีธัช สุขสะอาด เป็นผู้ว่าฯ กยท.และต่อมามีคำสั่งมาตรา 44 ย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2560 ขณะที่ผลสอบได้ส่งให้นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ ต่อไป

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาความเห็นบอร์ด กยท.ให้มีการนำหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมในเรื่องอำนาจของผู้ว่าฯ กยท.ทำได้หรือไม่ ในเรื่องตั้งบริษัทร่วมทุน ซึ่งทราบว่าทำหนังสือไปถามสำนักงานอัยการสูงสุด ในปัจจุบันสถานะของบริษัทร่วมทุนฯ โดยบอร์ดให้ชำระบัญชีให้เสร็จไม่เกินเดือน มิ.ย. เพราะยังขายยางที่เข้าซื้อแทรกแซงราคาไว้ไม่หมด ขณะนี้จึงมีสต็อก อยู่ทำให้ปิดบัญชีไม่ได้ ดังนั้นการที่บอกว่าจะขาดทุน 200 ล้านบาท ก็ยังสรุปไม่ได้ ซึ่งช่วงเข้าซื้อมาราคานำตลาด อาจจะมองขาดทุนยังไม่ได้ เพราะช่วงนั้นต้องการรักษาเสถียรภาพ แต่ไม่ได้ซื้อนำราคาสูงเหมือนในอดีต

นายณกรณ์ กล่าวว่าช่วงนี้ปิดกรีด ราคายางขยับขึ้นมากิโลกรัมละ 50 กว่าบาท แต่ดูสถานการณ์จริงๆ ตามตลาดต่างประเทศผันผวนมาก ปรากฏว่ายังมีราคาซื้อขายต่ำกว่าในประเทศ ซึ่งมีความผิดปกติ ส่งผลราคาน้ำยางสด กับยางแผ่นรมควัน ต่างกันแค่สองถึงสามบาท จากปกติต้องต่างกันห้าบาทขึ้นไป ทำให้เกษตรกรหันมาขายน้ำยางสด ดีกว่า โดยทางกยท.ได้ซื้อนำราคา 50 สตางค์ และขายออกไม่มียางติดมือใน 5-6 เดือนนี้ จึงดึงราคาขายในประเทศขยับไปได้

สำหรับมาตรการรัฐเพิ่มการใช้ยางในประเทศ นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรฯ ได้เร่งรัดนำน้ำยางมาทำถนนทุกชุมชนทั่วประเทศ ซี่งทำพร้อมกันได้ทุกท้องถิ่น ใช้ยางช่วงเปิดกรีดเดือนพ.ค.พอดี มาทำถนน จะเริ่มเร็วๆ นี้ หลังจากสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สภา อปท.) ประชุมทั่วประเทศแล้ว

อย่างไรก็ดี ทุกชุมชนเริ่มทำถนนยางทันช่วงเปิดกรีดเดือนพ.ค. น้ำยางออกมารองรับช่วงทำพอดี ที่ผ่านมา สภาเทศบาล ประชาพิจารณ์ ประมูลแล้ว เบื้องต้น 7.5หมื่นหมู่บ้าน ๆละ 1 กิโลเมตร รวมทั้งการทำถนนยาง ต้องมีการรับรองวัสดุ ในสัปดาห์นี้จะออกชื่อ 5 บริษัท โดยหน่วยงานสามารถจัดซื้อนำไปทำได้ เมื่อมีตัวรับรองน้ำยางพีเบ็น หรือ สารผสมเพิ่ม ระหว่างน้ำยาง กับซีเมนต์ เพื่อใช้ไปทำถนน ซึ่งต้องออกรับรองในตัวสารผสมเพิ่ม ทำให้ได้มาตรฐานก่อนเพราะรมว.เกษตรฯ กังวล ว่าจะไปหลอกขายกัน อาจทำให้ถนนพังเร็วขึ้น

โดยสารผสมเพิ่ม ทำให้ทนขึ้น 3-5 เท่าเทียบถนนยางมะตอยดินลูกรัง นอกจากนี้บริษัทผลิตล้อยางชั้นนำของโลก จะมาซื้อยางจากกยท.จากที่เมื่อก่อนซื้อผ่านเทรดเดอร์สิงโปร์ เช่น บริษัทมิสลิน บริสโตน มาซื้อกยท.โดยตรง เพราะกยท.ได้ผ่านการรับรองด้านสิ่งแวดล้อม เป็นผลผลิตยางและไม้ยางที่มาจากสวนยางปลูก ไม่ได้บุกรุกที่ป่า