ไม่พบผลการค้นหา
มิตติ ติยะไพรัช เลขาธิการพรรคไทยรักษาชาติ โพสต์กรณีรัฐบาลไทยควบคุมตัวฟุตบอลผู้ลี้ภัยทั้งๆ ที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากออสเตรเลียแล้ว เรียกร้องทางการไทยดำเนินการตามหลักมนุษยธรรม ส่งตัวไปประเทศปลายทางให้เร็วที่สุด

"ในฐานะเป็นคนไทย ขอเป็นส่วนหนึ่งในการเรียกร้องให้ทางการไทยได้พิจารณาเรื่องนี้ตามหลักมนุษยธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน และได้จัดการส่งนายฮาคีม กลับประเทศออสเตรเลียโดยเร็วที่สุดครับ สำหรับนายฮาคีม อัล-อราบี ถือว่าได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยจากออสเตรเลียแล้ว ขอเอาใจช่วยให้นายฮาคีม ปลอดภัยและกลับประเทศออสเตรเลียโดยเร็วที่สุดครับ"

นายมิตติให้สัมภาษณ์วอยซ์ออนไลน์ว่าติดตาม กรณีของนายฮาคีม อัล-อราบี มาตลอด เพราะเป็นคนที่คลุกคลีอยู่กับวงการฟุตบอล และเขาเห็นว่ากรณีของนายฮาคีมนั้น ได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัยจากออสเตรเลียแล้ว แต่กลับถูกรัฐบาลไทยควบคุมตัวเอาไว้โดยอ้างว่ามีหมายจับของอินเตอร์โพล ซึ่งหมายนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว และได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากออสเตรเลียแล้ว จึงอยากเรียกร้องกับรัฐบาลไทย และอยากให้ผู้สนใจกีฬาผุตบอลในไทยให้ความสนใจกับนักฟุตบอลผู้ลี้ภัยรายนี้ด้วย 

ฮาคีม อัล-อาไรบี (Hakeem al-Araibi) นักฟุตบอลชาวบาห์เรนของทีม 'Pascoe Vale FC' ในประเทศออสเตรเลีย ถูกควบคุมตัวโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2561 ระหว่างเดินทางมาเที่ยวประเทศไทยกับภรรยา แรกๆ คาดว่าเนื่องจากมี ‘หมายแดง’ ที่ออกโดยองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) แต่สุดท้ายหมายแดงนั้นก็ถูกยกเลิกไป เพราะเขาได้รับรองสถานะผู้ลี้ภัยจากสหประชาชาติให้พำนักในออสเตรเลีย จากการลี้ภัยทางการเมือง

แต่เขายังคงถูกควบคุมตัวอยู่อ้างตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ทำให้พบว่าทางบาห์เรนสอดแนมการเคลื่อนไหวของ อัล อาไรบี มาก่อนหน้า จึงขอความร่วมมือกับไทยให้ควบคุมตัวเขาตั้งแต่ยังไม่มาถึงที่ไทย ถึงแม้จะไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกันก็ตาม

และล่าสุด เครก ฟอสเตอร์ อดีตกัปตันฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย เดินทางเยือนไทยเพื่อรณรงค์ให้ปล่อยตัว 'ฮาคีม' โดยให้สัมภาษณ์กับ ‘วอยซ์ออนไลน์’ เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2562 ว่า เขาต้องการเรียกร้องให้ทางการไทยและแฟนฟุตบอลชาวไทยได้ตระหนักว่าการจับกุมและควบคุมตัวฮาคีม เป็นการทำลายชีวิตนักฟุตบอลอาชีพ ทั้งยังเป็นการผิดคำสัญญาที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีไทย เคยให้ไว้กับที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อปี 2559

อ่านเพิ่มเติม

‘ฮาคีม อัล-อาไรบี’ vs ‘รองประธานฟีฟ่า’ บททดสอบ ‘สิทธิมนุษยชน’ ใน ‘ฟุตบอล’

“เราจะไม่หยุดแค่นี้” วงการบอลจี้ไทยปล่อยตัว ‘ฮาคีม’ นักเตะผู้ลี้ภัยจากบาห์เรน