สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อนำเสนอผลการทำงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน นำไปสู่การยกระดับความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนให้กับภาคีเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน
นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธานคนที่ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า อุบัติเหตุทางถนนจัดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐและ สสส. ได้ผลักดันสร้างความปลอดภัยทางถนนมาอย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมาย การพัฒนากลไกการจัดการความปลอตภัยทางถนนในระดับพื้นที่ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่ปัญหาหลักที่พบคือ "การสร้างวินัยการขับขี่ปลอดภัย" ยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก การที่มีกลุ่มคนที่มีความเชื่อว่า "การสร้างความปลอดภัยทางถนนในสถานศึกษา" จะเป็นจุดเริ่มตันของการสร้างความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นในชาติ
สสส. จึงได้สนับสนุนให้เกิดการดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบในการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ตั้งแต่ 2559 และขยายผลต่อมายังโครงการขยายผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตันแบบสู่โรงเรีนเพื่อความปลอดภัยทางถนน โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในปี 2562 ถึงปัจจุบัน
“การสร้างสถานศึกษาปลอดภัยทางถนนจะเป็นแหล่งบ่มเพาะให้เต็กและคนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกัน ในการสร้างความปลอดภัยทางถนน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการจุดเสี่ยง จุดอันตราย และการสร้างวินัยจราจรให้เกิดขึ้น ประกอบกับการเห็นความสำคัญของการปลูกฝังวินัยจราจรที่กระทรวมหาดไทย มีนโบายตำบล (ท้องถิ่น) ขับขี่ปลอดภัย ที่ได้กำหนดให้มีการพัฒนาศูนย์พัฒนาเต็กเล็กและโรงเรีนเพื่อความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่” นพ.วีระพันธ์ กล่าว
พรทิพภา สุริยะ ผู้จัดการโครงการขยายผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน สสส. กล่าวว่า จากการดำเนินโครงการฯ ทำให้เกิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน 17 แห่ง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้เพียง 8 แห่ง ซึ่งได้ผลเกิดคาด เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเป้า ต.เหล่าเสือโก้ก อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลราชธานี และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลขุนทะเล (บ้านนิคม) ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น ขณะเดียวกันเกิดโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน 8 แห่ง เช่น โรงเรียนบ้านหนองห้าง อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี และโรงเรียนบ้านกำพวน ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง เป็นต้น
ผลการดำเนินงานโครงการนี้ นอกจากได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังเกิดรูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน ใน 3 ด้าน คือ
1.ด้านการจัดการจุดเสี่ยงโดยการมีส่วนร่วมจากชุมชน
2.ด้านการจัดการพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งพบว่าครู เด็กเล็ก และนักเรียน เกิดพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากเดิมที่มีการสวมหมวกนิรภัยเฉลี่ย ร้อยละ 1-10 เพิ่มขึ้นเป็น 70-100% ขณะที่กลุ่มผู้ปกครองสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้น 70%
3.ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับช่วงวัย ซึ่งมีการบูรณาการการสอน และผลิตสื่อการสอดที่สร้างการเรียนรู้วินัยจราจร อาทิ นิทาน เกมส์ เพลง สื่อท้องถิ่น ทำให้เด็กเรียนรู้จดจำและสื่อสารให้ผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี
ด้าน รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. กล่าวเสริมว่า ข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน (มรณบัตร, ตำรวจ, บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด) ในปี 2556-2560 พบเด็กอายุ 0-9 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวม 3,373 คน หรือเฉลี่ยปีละ 675 คน ขณะที่เด็กอายุ 10-24 ปี เสียชีวิตรวมมากถึง 14,261 คน หรือเฉลี่ยปีละ 2,853 คน
ขณะที่ผลการสำรวจของมูลนิธิไทยโรดส์ ปี 2553-2562 พบว่า เด็กไทยนั่งรถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัย เฉลี่ยเพียง 8% เท่านั้น จากความกังวลต่อสถานการณ์ข้างต้น สสส. จึงร่วมกับภาคี ฯ พัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะและพฤติกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยทางถนน ตลอดจนผลักดันให้ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันจัดการจุดเสี่ยง และยกระดับศูนย์เด็กเล็กต้นแบบและโรงเรียนต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรพัฒนาครูและทีมงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเป็นเครื่องมือในการขยายผลต่อไป