วันที่ 9 ธ.ค. 2564 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาวาระรับทราบรายงานประจำปี 2563 ศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ตนเข้าใจว่าทุกองค์กรชี้แจงจะมีกรรมการมาชี้แจงเอง อยากให้ตอบว่าทำไมไม่ให้ตัวกรรมการมาชี้แจงด้วยตัวเอง แต่เป็นเรื่องให้เกียรติสภาฯ ที่มีข้อซักถามหลายอย่าง แต่อย่างน้อยจะได้เคลียร์ตรงนี้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่มาชี้แจงด้วยตัวเอง ตัวเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะชี้แจงได้หรือไม่
สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ระบุว่าตามรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บริหารต้องมาชี้แจงการปฏิบัติหน้าที่
รังสิมันต์ ระบุว่า ถ้าตุลาการไม่มาก็ไม่มีช่องทางตรวจสอบ การไม่มาไม่ให้เกียรติสภา ไม่สู้หน้าประชาชน ฝากคราวหน้ามาหน่อยมาบอก ส.ส.ให้ชื่นใจหน่อย ทั้งนี้ รายงานนี้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้มูลความผิดเมื่อ 16 ก.ค. 2564 โดยการทุจจริตชี้มูลมูลค่าไม่เยอะ 13 ล้านบาท แต่การชี้มูลดังกล่าวเกิดคำถาม ถ้าในศาลมีทุจริตคอร์รัปชันด้วยเงินแคนี้จะเชื่อมั่นทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมูญได้ไง พฤติการณ์ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
รังสิมันต์ ระบุว่า มีการพบผิดปกติของ เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิกาารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแก้ไขทีโออาร์ใหม่ ท่านอาจเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ได้ แต่พอเจอข้อกล่าวหานี้ กระทั่งเป็นเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จะดำรงตำแหน่งนี้ได้อย่างไร และกระทบต่อความเชื่อมั่นของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องนับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เหมือนอยู่ในโลกยุคน้ำแข็ง มีช้างแมมมอธเดิน ป.ป.ช.ไต่สวนเมื่อเดือน มิ.ย.ปี 2555-ปัจจุบัน โดยรายงานของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ การคอร์รัปชันทำไมไม่ทำให้เรียบร้อยก่อนเข้าสภา กรณีนี้ไม่ใช่แค่พัวพันเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ แต่เคยพัวพันกับ ปัญญา อุดชาชน ขณะเป็นรองเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ แต่วันนี้ได้ดีเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แต่ ปัญญาไม่ถูกชี้มูล แต่ ณ วันนี้ที่มีคอร์รัปชัน ปัญญา เป็นรองเลขาธิการฝ่ายบริหาร ทำงานใกล้ชิด
"ถ้าผมเป็นเชาวนะ ผมคงอิจจา เพราะเชาวนะถููกชี้มูล ผมอยากให้รายงานพูดถึงรายละเอีดยปัญหาที่เกิดขึ้น เวลาเป็นตัวแทนประชาชน เราอ่านแล้วจะได้รู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญที่เคารพที่บอกว่าการชุมนุมประชาชน 10 ส.ค. 2564 เป็นการล้มล้างการปกครอง คนที่มีหน้าตาแบบไหน มีพื้นฐานแบบไหนที่ชี้ถูก ชี้ผิดแล้วตัดสินประชาชน เราจะได้เห็นกัน"
ธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ตั้งคำถามต่อความสุจริตต่อการปฏิบัติหน้าที่ หลังจากพบว่าในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีประเด็นทุจริตจัดซื้อคอมพิวเตอร์มูลค่า 13 ล้านบาท โดยอดีตข้าราชการระดับสูงในฝ่ายบริหาร ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และขอให้ผู้ที่เข้าชี้แจงตอบในกรณีดังกล่าวว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่
เลขาฯ ศาล รธน.แจงแทนตุลาการปมคดีล้มล้างปกครอง
จากนั้น เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงว่า เคารพข้อสังเกตข้อวิจารณ์ของ อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่บอกว่าศาลได้ทำหน้าที่วินิจฉัยเรื่องขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ไปทำหน้าที่อื่น นั้น กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ยกประวัติการปกครองการเมืองในอดีต สืบเนื่องอำนาจปกครองพระมหากษัตริย์ สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ ในการเกิดขึ้นการสร้างบ้านสร้างเมืองสร้างชาติ ไมได้สร้างแผนที่แล้วเป็นชาติ บ้านเมือง อันนั้นจินตนาการ แต่ประวัติการสร้างชาติทุุกประเภทมาจากรากฐานประเพณีอันดีงาม มีคติฐานชอบธรรมหลายรูปแบบ เช่นของไทยจะพูดถึงปิตุลา เป็นการปกกครองแบบพ่อปกครองลูก มีการพูดถึงคติแบบแผนประเพณีการปกครองธรรมราชา สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความต้องการของใครคนหนึ่งคนใด แต่เป็นความเหมาะสมและความอุตสาหะของผู้ปกครองในอดีต ไม่ว่าบูรพมหากษัตริย์ทุกพระองค์ จนเราได้มีบ้านเมืองอยู่อาศัยร่มเย็นเป็นสุข
"ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องสำคัญบ้านเมืองต้องหวนระลึกถึงความเป็นชาติ กระทำยิ่งคนในชาติไม่ใช่คนในชาติ ต้องคำนึงความรับผิดชอบที่จะเกิดผลร้ายต่อประเทศชาติ ที่กระทบต่อทุกคนไม่ได้เป็นผลเกิดจากคนทำกลุ่มน้อย ถ้าดูประวัติศาสตร์ความเป็นมา พัฒนาการเมืองการปกครองของไทย มีการปรับ การแก้ให้เป็นไปตามยุคสมัยตลอดมา ตรงนั้นทำหน้าที่ของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง เราถึงดำรงความเป็นไทยมาได้ถึงทุกวันนี้ บ้านเมืองได้พัฒนาสืบสถาพรมั่นคงตลอดมา ทำไมศาลต้องหยิบยกข้อพิจารณานี้มาประกอบการพิจารณาของศาล"
เชาวนะ ชี้แจงว่า เป็นการชี้แจงตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ อย่างกฎหมายรัฐธรรมนูญตั้งแต่เปลีย่นแปลงการปกครอง 2475 มีการกล่าวถึงพระราชสถานะ ประเพณีการเมืองการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสืบเนื่องมาตลอด ทุกบ้านทุกเมืองกระทำเหมือนกันคือรักษาแก่นสาร
'ก้าวไกล' เดือด เลขาฯ ศาล รธน.บอกแก้ 112 ไม่รักษากฎเกณฑ์
เชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ชี้แจงว่า การแก้ไขกฎหมาย มาตรา112 นำไปสู่ไม่รักษากฎเกณฑ์ เคารพสักการะสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดปัญหา
โดยระหว่างชี้แจงของเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล
ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ใช้สิทธิประท้วงเชาวนะ ประท้วง เชาวนะที่ชี้แจงพาดพิงถึงพระมหากษัตริย์ 8 ครั้ง ข้อบังคับห้ามพูดถึงพระมหากษัตริย์ และวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ประท้วงว่า ชี้แจงวนเวียนซ้ำซาก การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเป็นอำนาจของนิติบัญญัติที่ผู้ใดมิอาจก้าวล่วงได้ ได้เปิดพื้นนที่ให้เชาวนะชี้แจงประวัติการศึกษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง และเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญกำลังละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยแทนศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าชี้แจงอย่างนี้ขอให้นัดใหม่ แล้วเชิญตุลาการมาชี้แจง
โดย ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า ข้อบังคับห้ามการพูดถึงโดยไม่จำเป็น โดยย้ำว่าไม่ได้ผิดข้อบังคับการประชุม ผู้ชี้แจงสามารถชี้แจงทุกประเด็นได้
ชาวนะ ระบุว่า ที่ตนกราบเรียนอยู่ในกระบวนพิจารณาวินิจฉัยที่เป็นเหตุให้ ผู้ถูกร้องทั้ง 3 คนขัดต่อมาตรา 49 อย่างไร คำวินิจฉัยอยู่บนความเป็นธรรม เป็นจริงอาศัยหลักกฎหมายมาประกอบ ไม่ได้เกิดจากศาลมีเจตนาอย่างอื่นตามที่วิพากษ์วิจารณ์ เมื่อมีคำถามเกิดขึ้นก็พยายามตอบให้ ด้วยความเคารพ ส.ส. ไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจแต่อย่างใด ประเด็นพิจารณาวินิจฉัยการกระทำใดเข้างอค์ประกอบความผิดล้มล้างการปกครองมีเนื้อหาประเด็นเหล่านี้ประกอบด้วย เป็นการพิจารณาวินิจฉัยบนพื้นฐานข้อเท็จจริงและกฎหมาย ไม่ได้คิดเอง หรือศาลไปบิดเบือน สร้างกฎหมายขึ้นมาเอง ไม่มีเรื่องนั้นแต่อย่างใด
เชาวนะ ชี้แจงว่าไม่ได้ละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้อยู่ในคำตอบแต่เกิดจากข้อวิพากษ์วิจารณ์ของ ส.ส.ที่ได้วิจารณ์ไว้ แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่ท่านจะให้ยุติการตอบกรณี อมรัตน์ นั้น แม้ อมรัตน์ไม่ได้อนุญาตให้ตนยุติก็ตาม แต่เรื่องสำคัญที่ท่านได้มีข้อสงสัยก็กราบเรียนโดยสรุป ศาลทำโดยชอบธรรมด้วยรัฐธรรมนูญด้วยความเป็นธรรม ไม่ได้เกิดจากเหตุผลอื่นใดทั้งสิ้น ส่วนกรณียุบพรรคอนาคตใหม่ ศาลไม่ได้สร้างอำนาจหรือกฎหมายขึ้นมา แต่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
เชาวนะ ระบุถึงข้อกล่าวหาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่ชี้้มูลความผิดตนเองว่า เป็นการใช้อำนาจ ป.ป.ช. ควรให้ความเคารพ การดำเนินการเป็นขั้นตอนการกล่าวหา ส่วนเป็นการชี้แจงให้ความจริงอีกด้านอย่างไร เป็นกระบวนการต้องให้ความเคารพเช่กัน
โดยที่ประชุมสภาฯ ได้รับทราบรายงานรับทราบรายงานประจำปี 2563 ศาลรัฐธรรมนูญ