ไม่พบผลการค้นหา
นาซ่ายิงจรวดปล่อยยานอวกาศ TESS ขึ้นสู่วงโคจร เพื่อปฏิบัติภารกิจค้นหาโลกใบใหม่นอกระบบสุริยะ หลังจากที่กล้องโทรทัศน์เคปเลอร์สำรวจไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

เมื่อวานนี้ (18 เม.ย. 2561) ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ องค์การการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NASA) ยิงจรวดปล่อยยานอวกาศ TESS ขึ้นสู่วงโคจร และจะเริ่มภารกิจสำรวจอวกาศในปี 2020 เพื่อค้นหาดาวเคราะห์ที่มีสภาพเหมาะสมการการดำรงชีวิตในระบบสุริยะใกล้เคียง

ยานอวกาศสำรวจโลกใหม่ หรือ TESS ถูกปล่อยจากฐานยิงจรวดสเปชเอ็กซ์ฟอลคอน9 ของบริษัทเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศของอีลอน มัสก์ นักลงทุนชื่อดังของสหรัฐฯ ในฐานทัพอากาศที่มลรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ โดยจรวดดังกล่าวติดตั้งกล้องสำรวจชนิดพิเศษ 4 ตัว มูลค่ากว่า 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีประสิทธิภาพในการสอดส่องท้องฟ้าได้กว่า 85 เปอร์เซ็นต์ 

ฮาน โคอิงแมน รองประธานสเปชเอ็กซ์ กล่าวว่า "ภารกิจของ TESS มีความสำคัญอย่างยิ่งกับทางสเปชเอ็กซ์ ทำให้เราหวนกลับไปถึงวัตถุประสงค์ของทางบริษัทราว่าแท้จริงแล้วคืออะไร TESS จะช่วยเราค้นหาโลกใบใหม่ และสเปชเอ็กซ์ก็มีเป้าหมายในการทำให้มนุษย์รู้จักดวงดาวต่างๆ มากขึ้นเช่นกัน"

ทั้งนี้ ในระหว่างการปฏิบัติภารกิจ คาดว่า TESS จะสำรวจและศึกษาดาวเคราะห์กว่า 20 ล้านดวง ดร.จอร์จ ริกเกอร์ นักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจของภารกิจสำรวจโลกใหม่จาก MIT กล่าวว่า "TESS เป็นดาวเทียมที่ได้รับการพัฒนามาจากกล้องโทรทัศน์อวกาศเคปเลอร์ในการค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ๆ นักวิทยาศาสตร์จะใช้ข้อมูลจากการสำรวจดาวมาวิเคราะห์ เพื่อค้นหาดาวเคราะห์ที่พอจะมีประสิทธิภาพ มีก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซมีเทน ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต"

"กล้องโทรทัศน์เคปเลอร์ทำให้พวกเรารู้จักดวงดาว รู้ขนาดของดาวเคราะห์บางดวง รวมไปถึงรู้มวลน้ำหนักของดาวอีกหลายดวง แต่ยานอวกาศ TESS จะทำให้เราสามารถศึกษาชั้นบรรยากาศได้" ดร.สตีเฟ่น ไรน์ฮาร์ท หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่ากล่าว

ที่มา Bloomberg และ Nbcnews