ไม่พบผลการค้นหา
'ธนบุรี เฮลท์แคร์' จับมือ 'มหิดลฯ' หนุนเงินลงทุนด้านวิศวกรรมทางการแพทย์ ชี้ จะสร้างเมดิคัลฮับ ไทยต้องพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีเพราะ "ภาคบริการไม่มีใครสู้ได้อยู่แล้ว"

นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนเม็ดเงินในฝั่งวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ประเทศมีความได้เปรียบเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยไม่ต้องแบกต้นทุนจำนวนมาก 

กรุงเทพธนบุรี เปิดการแพทย์
  • นพ.บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ประธานฯ ธนบุรี กรุ๊ป ย้ำว่า จริงอยู่ที่สาธารณสุขไทยมีชื่อเรื่องศักยภาพของบุคลากรการแพทย์ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ได้สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศในทวีปยุโรปหรืออเมริกา อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ประกอบกับความจริงที่ว่าหลายประเทศก็เร่งพัฒนาคุณภาพทีมแพทย์ของตนขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จึงจะเป็นการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันหากประเทศไม่ยอมพัฒนาด้านเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มความสามารถขึ้นไปอีก 

"การบริการไม่มีใครเทียบเราอยู่แล้ว ที่คนมาหาเรา 50% ก็เรื่องการบริการ แต่ถ้าไทยไม่ปรับปรุงเรื่องเทคโนโลยี อนาคตเราจะแข่งกับคนอื่นได้ไหม เมียนมา เวียดนาม ที่จะมาเป็นคู่แข่ง อีกหลายประเทศเต็มไปหมด"

เมื่อหันมาดูเงินลงสนับสนุนจากภาครัฐที่จัดสรรให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ นพ.บุญ ยอมรับว่ายังน้อยเกินไปมาก ยิ่งมาเจอสถานการณ์โควิด-19 ที่รัฐบาลหมดเงินไปกับการกู้เศรษฐกิจกลับมา จึงเป็นเหตุผลที่ภาคเอกชนต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลักดันแทน

โดยล่าสุด ธนบุรี กรุ๊ป ได้จับมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเน้นพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะเข้ามาตอบโจทย์อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาคของกลุ่มธุรกิจ

กรุงเทพธนบุรี เปิดการแพทย์
"งบที่รัฐบาลให้น้อยมาก ผมไม่อยากบอกตัวเลข บอกแล้วอาย" นพ.บุญ กล่าว

นพ.บุญ ยังเสริมว่า แม้ภาครัฐจะมีความพยายามในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์แต่เม็ดเงินที่จะดันขึ้นมาก็ยังนับเป็นสัดส่วนที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ราว 0.5% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผลดีจะไปตกอยู่ในฝั่งการจ้างงานที่ ประธานฯ THG มองว่าจะอยู่ที่ราว 2-3 แสนตำแหน่ง


เป้าหมายคือจับ 'คนรวย'

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจโรงพยาบาลในเครือธนบุรีฯ นพ.บุญ ชี้ว่า ที่ผ่านมา โรงพยาบาลในเครือไม่ได้รับผลกระทบมากนัก อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ซึ่งจับกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยต่างประเทศจากฝั่งตะวันออกกลาง, จีน และยุโรป ได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากผู้ป่วยต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้าไทยได้ 

กรุงเทพธนบุรี เปิดการแพทย์
  • โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง

นพ.บุญ ย้ำว่า การบริหารประเทศด้านเศรษฐกิจและการเฝ้าระวังการติดเชื้อต้องหาสภาวะสมดุลให้เจอ เพราะ 3 เดือน ที่รัฐบาลเลือกปิดประเทศไปเป็นต้นทุนด้านหนี้สาธารณะที่สูงมากต่ออนาคตของประชาชน  

กรณีของโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ผลกระทบด้านการเงินมีปัญหาค่อนข้างหนักในเดือน เม.ย.-พ.ค. ก่อนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังมีการคลายล็อกดาวน์ตามลำดับ พร้อมย้ำว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยรอเดินทางเข้ามารักษาอีกมาก

ขณะกรณีความกังวลเรื่องผู้ป่วยจะนำเชื้อไวรัสเข้ามาแพร่ในประเทศไทย นพ.บุญ ย้ำว่า เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้เป็นคนรวบและมีกำลังทรัพย์ในการอยู่ในสถากักกันตัวประกอบกับโรงพยาบาลที่รับการรักษาก็ต้องีมแผนรองรับอย่างหนาแน่นเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่มีสามารถสบายใจได้เพื่อหาจุดสมดุลระหว่างการเปิดเศรษฐกิจและการป้องกันการแพร่ระบาด

ประธานฯ ธนบุรี กรุ๊ป ย้ำว่า การจะยกประเทศขึ้นมาเป็นเมดิเคิลฮับของประเทศจำเป็นต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ชัดพร้อมกับศักยภาพทางการแพทย์ที่แม่นยำ พร้อมยกตัวอย่างกรณี การปฏิสนธินอกร่างกาย หรือ เด็กหลอดแก้ว (IVF) ที่ นพ.บุญ ย้ำว่า โรงพยาบาลฯ มีอัตราประสบความสำเร็จถึง 86% สูงกว่าประเทศจีนที่มีอัตราประสบความสำเร็จเพียง 20% เท่านั้น จึงทำให้ผู้ป่วยเลือกเดินทางมารักษาที่ประเทศไทย