เรื่องเริ่มต้นจาก วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ประธานศาลปกครองสูงสุดคนปัจจุบันกำลังจะพ้นตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปีในวันที่ 1 ต.ค.นี้หรือในอีก 7 เดือนข้างหน้า จึงต้องมีกระบวนการคัดเลือก ‘ประธานศาลปกครองสูงสุด’ คนใหม่ขึ้นมาแทน
ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เมื่อ 20 ธ.ค.66 ด้วยมติเอกฉันท์คือ วิษณุ วรัญญู ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานศาลปกครองสูงสุดมา 6 ปี 10 เดือน
มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการคัดเลือกตุลาการในศาลปกครองสูงสุดระบุเหตุผลว่า วิษณุเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเหมาะสมทั้งในด้านการครองตน ครองคน ครองงาน การปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมตุลาการศาลปกครอง รวมทั้งเป็นผู้ได้รับการยอมรับจากตุลาการศาลปกครอง จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบให้เสนอชื่อ วิษณุ วรัญญู รองประธานศาลปกครองสูงสุด ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด
เอกสารยังสรุปคุณสมบัติสำคัญคือ
ขั้นตอนตามกฎหมาย สำนักงานศาลปกครองได้มีหนังสือแจ้งไปยังนายกฯ เพื่อให้นำเสนอชื่อวิษณุขอความเห็นชอบต่อวุฒิสภา หลังจากนั้น นายกฯ จึงจะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
ทว่าผลลัพธ์กลับพลิกผัน
1 เม.ย.67 ในการประชุมวุฒิสภาซึ่งเป็นการประชุมลับและลงคะแนนลับ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ตำรงตำแหน่งประธานศาลปครองสูงสุด พิจารณาเสร็จแล้ว คือ นายวิษณุ วรัญญู
ผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 45 เสียง ไม่เห็นชอบ 158 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง
จึงถือว่า นายวิษณุไม่ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด
ส่วนรายงาน กมธ. สามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติฯ ซึ่งมี พล.อ.อู๊ด เบื้องบน เป็นประธานทำสรุปส่งให้วุฒิสภานั้น วุฒิสภาก็มีมติให้ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ รวมถึงบันทึกการประชุม 6 ครั้งของ กมธ.ด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้วก็นับเป็น ‘ปกติ’ ของการคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญ โดย กมธ.ให้เหตุผลว่า “หากเปิดเผยออกไปอาจจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานหรือบุคคลผู้ให้ข้อมูลมาเพื่อประกอบการพิจารณา”
ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวว่า วิษณุถูกโจมตีจากกรณีเคยเป็นประธานงานแต่งงานให้กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งวิษณุก็ได้ชี้แจงไว้ว่า ปิยบุตรได้เชิญตนและอาจารย์ที่เคารพนับถือหลายท่านไปร่วมงานมงคลสมรส มีหลายคนไปร่วมงาน แสดงให้เห็นว่าเชิญตนในฐานะเป็นครูบาอาจารย์ที่เคารพ ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด เพราะมีอาจารย์ที่เคยสอนนายปิยบุตรไปร่วมงานนี้กันหลายคน และเมื่อนายปิยบุตรตั้งพรรคการเมืองและเล่นการเมืองแล้ว ไม่ได้พบกันอีก และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกัน
การปัดตก วิษณุ จากเก้าอี้ ‘ประธานศาลปกครองสูงสุด’ ถือเป็นผลงานชิ้นท้ายๆ ของ สว. ชุดนี้ และเป็นที่คลางแคลงใจของผู้คน เนื่องจากวิษณุถือเป็นบุคคลที่มีผลงานวิชาการมากมาย และเอกอุด้านกฎหมายมหาชนที่หาตัวจับยาก ไม่มีปัญหาคุณสมบัติใดๆ จึงไม่แปลกที่คำถามทั้งหลายจะพุ่งสู่ผู้พิจารณา
วิษณุ วรัญญู ปัจจุบันอายุ 66 ปี อดีตหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวัยเด็กเรียนมัธยมแผนกศิลป์ภาษาฝรั่งเศส จากเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ในปี 2518 โดยสอบไล่ได้คะแนนสูงเป็นลำดับที่ 4 ของทั้งประเทศ และอยู่ในกลุ่มนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุดของประเทศในวิชาภาษาฝรั่งเศส
ในช่วงนักศึกษาเข้าเรียนในคณะนิติศาสตร์ มธ. โดยสอบคัดเลือก มธ 2 ได้คะแนนสูงสุด และได้รับพระราชทานรางวัล ‘ทุนภูมิพล’ สำเร็จปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 และได้สอบคัดเลือกตลอดจนบรรจุเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. ในปีเดียวกัน
วิษณุสอบชิงทุนการศึกษาของรัฐบาลฝรั่งเศส และได้ไปศึกษาต่อปริญญาโทและเอกสาขากฎหมายมหาชน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ยังได้รับทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อเข้าศึกษาอบรมหลักสูตรต่างๆ อีกหลายครั้ง ดังนี้
คุณวุฒิอื่น
ประวัติการดำรงตำแหน่งที่สำคัญ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อีกทั้งในปี 2540 ได้รับแต่งตั้งจากสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหลายชุด ตั้งแต่เรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมือง จนถึงโครงสร้างสถาบันการเมือง