ไม่พบผลการค้นหา
สื่อนอกเผยชื่อ 50 มหาเศรษฐีร่ำรวยที่สุดของไทยปีนี้ ส่วนใหญ่ยังเหมือนปีก่อน แต่มีการวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจทีวีอยู่ในช่วงขาลง ทำรายได้มหาเศรษฐีกลุ่มนี้ลดลง แต่เจ้าของธุรกิจครีมผิวขาวติดโผครั้งแรก ขณะที่ 'นักธุรกิจล่าสัตว์ป่า' ที่เผชิญคดีหลุดโผ 50 อันดับแรก

นิตยสารฟอร์บส์ของสหรัฐฯ เผยผลจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดของไทยประจำปี 2561 วานนี้ (2 พ.ค.) พบว่าตระกูลที่ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกมีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่รายได้รวมของมหาเศรษฐีทั้งหมดรวมกัน เป็นเงินกว่า 1.62 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 5.3 ล้านล้านบาท

  1. ตระกูลเจียรวนนท์ (เครือซีพี) 30,000 ล้านดอลลาร์
  2. ตระกูลจิราธิวัฒน์ (เซ็นทรัล) 21,200 ล้านดอลลาร์ (ขึ้นจากอันดับ 3)
  3. เฉลิม อยู่วิทยา (กระทิงแดง) 21,000 ล้านดอลลาร์ (ขึ้นจากอันดับ 4)
  4. เจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) 17,400 ล้านดอลลาร์ (ตกจากอันดับ 2)
  5. วิชัย ศรีรัตนประภา (คิงพาวเวอร์) 5,200 ล้านดอลลาร์
  6. กฤษณ์ รัตนรักษ์ (สถานีโทรทัศน์ช่อง 7) 3,700 ล้านดอลลาร์
  7. สารัชถ์ รัตนาวะดี (ธุรกิจพลังงาน Gulf) 3,400 ล้านดอลลาร์ (ติดอันดับปีแรก)
  8. ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ (รพ.กรุงเทพ) 3,350 ล้านดอลลาร์
  9. อาลก โลเฮีย (ธุรกิจปิโตรเคมิคัล) (จาก 10 ขึ้นมา 9) 3,300 ล้านดอลลาร์
  10. วานิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต) 3,000 ล้านดอลลาร์

ฟอร์บส์ระบุว่าปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และธนาคารโลก (World Bank) ยังคาดการณ์ด้วยว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ส่วนธุรกิจไทยที่มีความโดดเด่นน่าจับตาในปีที่ผ่านมา ได้แก่ ธุรกิจด้านพลังงาน และธุรกิจเกี่ยวกับความงาม แต่กิจการวิทยุโทรทัศน์และการกระจายเสียงถือว่าอยู่ในภาวะ 'ขาลง' ทำให้มหาเศรษฐีที่ประกอบธุรกิจกลุ่มนี้มีรายได้ลดลงเมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน

สราวุฒิ พรพัฒนารักษ์ แห่ง บมจ. ดู เดย์ ดรีม (DDD) ผู้ผลิตครีมสเนลไวท์ วัย 41 ปี ได้รับการกล่าวถึงในฐานะมหาเศรษฐีดาวรุ่งที่ติดอันดับการจัดโผของนิตยสารฟอร์บส์เป็นปีแรก โดยระบุว่าค่านิยมที่ให้คุณค่ากับผู้หญิงผิวขาวเป็นประเด็นถกเถียงในโลกตะวันตกว่าอาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติ แต่สำหรับประเทศไทยและจีน ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวกระจ่างใสเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และสเนลไวท์ได้รับความนิยมอย่างมากจากทั้งลูกค้าชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวจีน

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึง เปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัทอิตาเลียน ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด มหาชน (ITD) ซึ่งหลุดจากโผ 50 อันดับมหาเศรษฐีของไทยไปตั้งแต่ปี 2559 แต่ยังเป็นมหาเศรษฐีที่มีข่าวดังในไทยอย่างมากในปีนี้ สืบเนื่องจากคดีที่เขาถูกจับกุมและตั้งข้อหา พร้อมพวกรวม 4 คน ในกรณีล่าสัตว์ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งใหญ่นเรศวรเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา และคาดจะยังมีคดีความต่อเนื่องไปอีกพักใหญ่

ซีพี พัฒนาออฟฟิศให้เช่า รองรับสายสีแดง

ส่วนมหาเศรษฐีที่ติดอันดับอื่นๆ ได้แก่ อันดับ 11 สันติ ภิรมย์ภักดี (เบียร์สิงห์) 2,400 ล้านดอลลาร์ (ตกจากอันดับ 9) ตามด้วยอันดับ 12 ตระกูลโอสถานุเคราะห์ (เครือโอสถสภา) 2,300 ล้านดอลลาร์ 13 ฤทธิ์ ธีระโกเมน (เอ็มเค) 2,200 ล้านดอลลาร์ 14 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ (สี TOA) 2,100 ล้านดอลลาร์ 15 ศุภลักษณ์ อัมพุช (เดอะมอลล์) 2,050 ล้านดอลลาร์ 16 ชูชาติ - ดาวนภา เพ็ชรอำไพ (เมืองไทยลิสซิ่ง) 2,000 ล้านดอลลาร์ 17 วิลเลียม ไฮเนกกี (เครือไมเนอร์) 1,940 ล้านดอลลาร์ 18 สมโภชน์ อาหุนัย (พลังงาน) 1,930 ล้านดอลลาร์

19 ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ธุรกิจและการลงทุน) 1,900 ล้านดอลลาร์ 20 วิชัย ทองแตง (นักลงทุนตลาดหลักทรัพย์) 1,850 ล้านดอลลาร์ 

อันดับ 21 ฮาราลด์ ลิงค์ (กลุ่มบี-กริม) 1,800 ล้านดอลลาร์ 22 ประยุทธ มหากิจศิริ (กาแฟ-ธุรกิจชิปปิง) 1,700 ล้านดอลลาร์ 23 คีรี กาญจนพาสน์ (รถไฟฟ้า BTS) 1,650 ล้านดอลลาร์ 24 ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (พฤกษาเรียลเอสเตท) 1,550 ล้านดอลลาร์ 25 อิสระ ว่องกุศลกิจ (น้ำตาลมิตรผล) 1,500 ล้านดอลลาร์ 26 ชาตรี โสภณพนิช (ธนาคารกรุงเทพ) 1,470 ล้านดอลลาร์ 27 อนันต์ อัศวโภคิน (แลนด์แอนด์เฮาส์) 1,450 ล้านดอลลาร์ 28 สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ (ไทยซัมมิทกรุ๊ป) 1,300 ล้านดอลลาร์ 29 บัณฑูร ล่ำซำ (ธนาคารกสิกรไทย) 1,200 ล้านดอลลาร์ 30 พรเทพ พรประภา (สยามกลการ) 1,150 ล้านดอลลาร์

อันดับ 31 ฉัตรชัย แก้วบุตตา (ศรีสวัสดิ์) 1,100 ล้านดอลลาร์ 32 นิชิตา ชาห์ เฟเดอร์บุช (พรีเชียสชิปปิง) 1,060 ล้านดอลลาร์ 33 พิชญ์ โพธารามิก (เครือโมโน) 935 ล้านดอลลาร์ 34 สุรางค์ เปรมปรีดิ์ (ธุรกิจสื่อ) 920 ล้านดอลลาร์ 35 เสถียร เศรษฐสิทธิ์ (คาราบาวแดง) 915 ล้านดอลลาร์ 36 วิฑูรย์ สุริยวนากุล (สยามโกลบอลเฮาส์) 910 ล้านดอลลาร์ 37 จรีพร จารุกรสกุล (กิจการโลจิสติกส์ WHA) 820 ล้านดอลลาร์ 38 บุญชัย เบญจรงคกุล (เบญจจินดาโฮลดิ้ง) 800 ล้านดอลลาร์ 39 เฉลิม หาญพานิชย์ (โรงพยาบาล BCH) 730 ล้านดอลลาร์ 40 สุวิน-ธัญญาภรณ์ ไกรภูเบศร์ (บิวตี้ คอมมูนิตี้) 715 ล้านดอลลาร์

อันดับ 41 ตระกูลวิริยะพันธ์ (วิริยะประกันภัย) 710 ล้านดอลลาร์ 42 ไกรสร จันสิริ (ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด) 700 ล้านดอลลาร์ 43 วรวิทย์ วีรบวรพงศ์ (สยามแก๊ส) 695 ล้านดอลลาร์ 44 วิชัย มาลีนนท์ (สถานีโทรทัศน์ช่อง 3) 680 ล้านดอลลาร์ 45 สราวุฒิ พรพัฒนารักษ์ (ดู เดย์ ดรีม) 675 ล้านดอลลาร์ 46 คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล (เครือไทยรัฐ) 670 ล้านดอลลาร์ 47 วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ (ไทยฟู้ดส์กรุ๊ป) 665 ล้านดอลลาร์ 48 ประพันธ์ ศิริวิริยะกุล (น้ำตาล KTIS) 660 ล้านดอลลาร์ 49 ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ (คาราบาวแดง) 640 ล้านดอลลาร์ 50 อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ (ขนมขบเคี้ยวเครือเถ้าแก่น้อย) 600 ล้านดอลลาร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: