วันนี้ (1 พ.ย. 65) พรรคเพื่อไทย แถลงข่าวภายหลังเปิดประชุมศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) นัดแรก เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ซึ่งมีแกนนำพรรคเข้าร่วมประชุม อาทิ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทย ตลอดจนที่ปรึกษาศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทย อย่างนางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และนายพานทองแท้ ชินวัตร
นพ.ชลน่าน แถลงว่า วันนี้พรรคเพื่อไทยเปิดการประชุมศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งมีคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งที่ปรึกษา พื้นที่ นโยบาย และประชาสัมพันธ์ ที่ประชุมได้ปรึกษาหารือในวาระพิจารณา แต่เรื่องหนึ่งที่หัวหน้าพรรคได้มีส่วนร่วม คือการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ว่าจะเป็นการสนับสนุน “เพื่อไทย แลนด์สไลด์ทั้งแผ่นดิน” หมายความว่า ให้พรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้ง ส.ส. มากกว่า 250 คนขึ้นไป เพื่อที่จะคืนประชาธิปไตย คืนความกินดีอยู่ดี แก้วิกฤต สร้างความหวังและอนาคตให้ประชาชน
ประเสริฐ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง ส.ส. พรรคเพื่อไทย แถลงว่า วันนี้ถือว่าเป็นการคิดออฟ (Kickoff) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเลือกตั้งที่จะถึงนี้ หากนับจากวันนี้ถึงวันหมดอายุสภาฯ ก็เหลือเพียง 5 เดือนเท่านั้น ทั้งยังมีกฎระเบียบหาเสียงภายในระยะเวลา 180 วันที่ต้องคำนึงถึงด้วย
ประเสริฐ ชี้แจงว่า ศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งจะตั้งอยู่ที่ที่ทำการพรรคเพื่อไทย ซี่งประกอบด้วย 6 คลัสเตอร์ ได้แก่
1. กลุ่มบริหารนโยบายและข้อมูลการเลือกตั้ง นำโดย นายภูมิธรรม เวชยชัย
2. กลุ่มบริหารพื้นที่ 5 โซน คือ
3. กลุ่มงานกฎหมายและป้องกันทุจริตการเลือกตั้ง
4. กลุ่มงานรณรงค์และการผลิตสื่อ
5. กลุ่มงานสื่อสารและประชาสัมพันธ์
6. กลุ่มงานปราศรัย
ประเสริฐ ยังชี้แจงว่า พรรคตั้งสมมติฐานว่าการเลือกตั้ง ส.ส. อาจเกิดขึ้นนาทีใดก็ได้ โดยมี 2 กรณีคือ สภาผู้แทนราษฎรมีอายุครบถึงวันที่ 23 มี.ค. 66 หรืออีกกรณีคือการยุบสภาผู้แทนราษฎรที่จะมีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน ซึ่งพรรคเตรียมแผนไว้แล้วทั้งหมด
พรรคเพื่อไทยเตรียมแผนการเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. อย่างที่เปิดมาในช่วงก่อนหน้านี้ และคิดว่าจะเปิดตัวครบทั้ง 400 เขตให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน หรืออย่างช้าที่สุดต้นเดือนธันวาคม ซึ่งปัจจุบันมีผู้แสดงความจำนงครบหมดแล้ว แต่เนื่องจากบางเขตมีผู้สมัครหลายราย จึงต้องหาข้อมูลเปรียบเทียบเพิ่มเติมก่อนจะเปิดตัวได้ครบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุที่ยังเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครฯทั้งหมดไม่ได้เพราะกำลังรอดีล ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พรรคเศรษฐกิจไทย เข้าพรรคหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวตอบว่า เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์อย่างนั้น แต่เพราะเรามีตัวผู้สมัครที่มีความประสงค์หรือแสดงเจตจำนงมาในพื้นที่เดียวกันหลายคน จึงต้องใช้เวลาพิจารณา บางเขตถึงขั้นต้องสำรวจความนิยมในพื้นที่ ส่วนเรื่องที่จะมี ส.ส. ย้ายเข้า-ออกพรรค เรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปิดตัวหรือไม่เปิดตัว
อย่างไรก็ดี หากการเปิดตัวผู้สมัครคนใดกระทบกับคะแนนนิยมของพรรค ทางพรรคก็จะมีการพิจารณา มีการเปลี่ยนตัวได้ทุกเวลาก่อนการเลือกตั้ง ส่วนกลุ่มการเมืองที่เป็น ส.ส. ก็ต้องยื่นลาออกจากพรรคเขาเองก่อน
“เราถือเป็นพรรคของพี่น้องประชาชน ข้อดีคือในการทำงานของพรรค เราจะมีเสียงสะท้อนจากพี่น้องประชาชนอย่างมาก เราต้องฟังเรื่องนี้เป็นเรื่องหลัก” นพ. ชลน่าน กล่าว
ประเสริฐ กล่าวเสริมว่า เรา มีกฎเกณฑ์ในการเสนอคนที่เป็นผู้สมัครชัดเจน ซึ่งการเสนอตัวเป็นผู้สมัครนั้น ควรจะเป็นสมาชิกพรรค และควรแสดงเจตจำนงการเป็น ส.ส. ในนามพรรคเพื่อไทย ซึ่งเราก็ดูเฉพาะใบสมัครที่มี ยังไม่มีการยื่นใบสมัครจากกลุ่มการเมืองอะไรต่างๆตรงไหน
โดยสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน วาระของสภาผู้แทนราษฎรเหลือระยะเวลาอีกไม่นาน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของพรรคสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุดที่จะทำให้พรรคได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในที่สุด พรรคเพื่อไทยจึงจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย” ประกอบด้วยผู้บริหารศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้งฯ ได้แก่
ผู้บริหารศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง
1. ศาสตราจารย์พิเศษชัยเกษม นิติสิริ ที่ปรึกษา
2. ชลน่าน ศรีแก้ว ที่ปรึกษา
3. สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ที่ปรึกษา
4. พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ที่ปรึกษา
5. ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ที่ปรึกษา
6. พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ที่ปรึกษา
7. พานทองแท้ ชินวัตร ที่ปรึกษา
8. แพทองธาร ชินวัตร ที่ปรึกษา
9. ประเสริฐ จันทรรวงทอง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง
10. ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง
11. วิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง
12. สุทิน คลังแสง รองผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง
13. จักรพงษ์ แสงมณี เลขานุการศูนย์ปฏิบัติการเลือกตั้ง
โดยแบ่งกลุ่มงาน ดังนี้
1. กลุ่มงานนโยบายและข้อมูลการเลือกตั้ง
1.ภูมิธรรม เวชยชัย
2.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
3.พันศักดิ์ วิญญรัตน์
4.นพดล ปัทมะ
2. กลุ่มงานบริหารพื้นที่
ผู้รับผิดชอบ แบ่งเป็นรายภาค ดังนี้
ภาคเหนือ
1.สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
2.จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
3.กฤษณา สีหลักษณ์
4.วิสุทธิ์ ไชยณรุณ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.ประเสริฐ จันทรรวงทอง
2.สุทิน คลังแสง
3.ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
4.เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
5.เกรียง กัลป์ตินันท์
6.ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
7.พงศกร อรรณนพพร
ภาคกลาง
1.สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล
2.ศาสตราจารย์พิเศษชัยเกษม นิติสิริ
3.จาตุรนต์ ฉายแสง
4.สรวงศ์ เทียนทอง
กรุงเทพมหานคร
1.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด
2.วิชาญ มีนชัยนันท์
3.วราวุธ ยันต์เจริญ
4.ดนุพร ปุณณกันต์
ภาคใต้
1.ชลน่าน ศรีแก้ว
2.วิสุทธิ์ ไชยณรุณ
3.จักรพงษ์ แสงมณี
4.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์
3. กลุ่มงานกฎหมายและป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง
1.รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
2.ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
3.พลตำรวจตรีสุรสิทธิ์ สังขพงศ์
4.กฤช เอื้อวงศ์
5.วัฒนา เตียงกูล
4.กลุ่มงานรณรงค์และผลิตสื่อ
1.ภูมิธรรม เวชยชัย
2.ทรงศักดิ์ เปรมสุข
3.เฉลิม แผลงศร
5. กลุ่มงานสื่อสารและประชาสัมพันธ์
ผู้รับผิดชอบ
1.นพดล ปัทมะ
2.พิชัย นริพทะพันธุ์
3.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
4.อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
5.วลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
6.ตรีชฎา ศรีธาดา
7.ชญาภา สินธุไพร
6. กลุ่มงานปราศรัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และกรุงเทพมหานคร ผู้รับผิดชอบ
1.ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุงประธานคณะทำงาน
2.สุทิน คลังแสง คณะทำงาน
3.อดิศร เพียงเกษ คณะทำงาน
4.อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เลขานุการคณะทำงาน
ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ ผู้รับผิดชอบ
1.จาตุรนต์ ฉายแสงประธานคณะทำงาน
2.สุทิน คลังแสง คณะทำงาน
3.เอกพร รักความสุข คณะทำงาน
4.วลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ เลขานุการคณะทำงาน