นางสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยเติบโตเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสะสมต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 33 ระหว่างปี 2558-2562 โดยปัจจัยหลักมาจากภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจาก 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2562 เป็น 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568 หรือมีอัตราการเติบโตร้อยละ 260 นับจากนี้อีก 5 ปี
ล่าสุดวันนี้ (11 ธ.ค. 2562) ธนาคารยูโอบีรุกตลาดอีคอมเมิร์ซโดยได้จับมือร่วมกับลาซาด้าและเบนโต๊ะเว็บ เปิดตัวโซลูชั่นครบวงจร เพื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายย่อย ปล่อยสินเชื่อวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท โดย UOB BizMerchant จะเป็นสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายย่อย กำหนดระยะเวลาสัญญา 12 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ย MRR +7 หรือเท่ากับร้อยละ 14.75 ต่อปี โดยมีหลักเกณฑ์คือต้องเป็นผู้ค้าในธุรกิจลาซาด้าอย่างน้อย 6 เดือน และมีรายได้เฉลี่ย 500,000 บาทขึ้นต่อไปต่อเดือน นอกจากนี้
คาดปี' 63 สินเชื่อชะลอตัว เหตุสงครามการค้า-ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
นางสยุมรัตน์ เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อในภาพรวมของธนาคารในปี 2562 สามารถปล่อยไปได้แล้วกว่า 15,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 3 ยังถือว่าสูงเมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าการปล่อยสินเชื่อภาพรวมในปี 2563 จะทรงตัวเป็นผลจากเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะปัญหาสงครามการค้าที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดส่งออกของไทย ขณะเดียวกันการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็จะมีผลต่อผู้ประกอบการรายเล็กที่ทำธุรกิจในประเทศด้วย ส่วนของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จะใกล้เคียงปีนี้ที่ธนาคารสามารถควบคุมได้ในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.6
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :