ไม่พบผลการค้นหา
กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รอบล่าสุดผ่าน “ยกที่หนึ่ง” ด้วยเสียงข้างมากของที่ประชุมรัฐสภา เห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาล - พรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบเพียงร่างเดียว และมีแค่ 2 มาตรา

คือ มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน 

 ในกรณีที่ตำแหน่ง ส.ส.ว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งหรือประกาศชื่อ ส.ส.ขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย ส.ส.เท่าที่มีอยู่ ในกรณีมีเหตุใดๆ ที่ทำให้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึง 100 คน ให้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่

มาตรา 91 การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่จะได้รับเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศแล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งมีรายชื่อในบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองได้รับเลือกตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

ขณะนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ 2 มาตราที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอ มีข้อถกเถียงเรื่อง “ความไม่สมบูรณ์” ของตัวกฎหมาย เพราะร่างของประชาธิปัตย์-พรรคร่วมรัฐบาล ในความตั้งใจเดิมไม่ต้องการให้เป็น “ร่างหลัก” ในการพิจารณา แต่เมื่อ ส.ว.ลงมติคว่ำเรียก 12 ฉบับ แล้วหันมาโหวตให้กับร่างของพรรคประชาธิปัตย์ - พรรคร่วมรัฐบาล เพียงร่างเดียว จึงเกิดปัญหา

เพราะตามปกติ ไม่สามารถแปรญัตติเกินหลักการได้ จึงมีคำถามคำใหญ่ว่า การพิจารณาใน กมธ.ชั้นแปรญัตติ ปรับแต่งร่างกฎหมายสามารถทำได้เพียง 2 มาตราเท่านั้นหรือไม่ หรือทำได้เกินกว่านั้น

จุรินทร์ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชุมรัฐสภา 0DE468C8-B40D-477F-8E3F-AA388DDCF23E.jpeg


นักเลือกตั้ง มือกฎหมายอาชีพ ประจำพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐ เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ตกผลึกตรงกันว่า  

ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 124 วรรคท้าย ที่ระบุว่า

“การแปรญัตติเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ หรือตัดทอน หรือแก้ไขมาตราเดิม ต้องไม่ขัดกับหลักการแห่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่เกี่ยวเนื่องกับหลักการนั้น”

คือทางออก....

“ไพบูลย์ นิติตะวัน” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ บอกว่า ข้อบังคับรัฐสภา 124 วรรคท้าย ทำให้สามารถแปรญัตติการแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่เกี่ยวเนื่องกับหลักการ 2 มาตรานั้นได้ ซึ่งมี 6 มาตรา รวมเป็น 8 มาตรา

ดังนั้น ส.ส พปชร จะเสนอแปรญัตติ เพื่อพิจารณาตามข้อบังคับรัฐสภา ข้อที่ 124 วรรคท้าย จากเดิมแก้ไขเพิ่มเติม 2 มาตรา เพิ่มมาตราที่เกี่ยวเนื่องอีก 6 มาตรา รวมแก้ไขเพิ่มเติม 8 มาตรา

คำขอแปรญัตติของพรรคพลังประชารัฐ “สรุป” ได้ 8 ข้อ 

1.ขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 3 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83) จำนวน ส.ส. อาทิ

มาตรา 83  สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา

จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

จำนวนหนึ่งร้อยคนดังนี้

​(1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคน

​(2) สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวนหนึ่งร้อยคน

​การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับโดยให้ใช้

บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละหนึ่งใบ

​การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับโดยให้ใช้

บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละหนึ่งใบ

2. ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นมาตรา 3/1 โดยสรุปสาระสำคัญคือการลงคะแนน อาทิ

​“มาตรา 3/1 ให้ยกเลิกความในมาตรา 85 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

​“มาตรา 85 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยให้แต่ละ

เขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละหนึ่งคนและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง

ได้คนละหนึ่งคะแนน โดยจะลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใด หรือจะลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเลยก็ได้

​ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด

เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

3. ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นมาตรา 3/2 เป็นการแก้ไขมาตรา 86 วิธีการคำนวณ ส.ส. อาทิ

​“มาตรา 86 การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่ง

เขตเลือกตั้ง 

​​4. ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นมาตรา 3/3 ใจความสำคัญ อาทิ 

​“มาตรา 3/3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 90 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นวิธีการเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

 5. ขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 4 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 91) มีใจความ อาทิ

“มาตรา 91  การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง

ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

6. ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นมาตรา 4/1 สาระสำคัญ อาทิ

​“มาตรา 4/1 ให้ยกเลิกความในมาตรา 92 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

​“มาตรา 92 เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่า

คะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการให้มีการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเดิมทุกรายไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่นั้น”

7. ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นมาตรา 4/2 มีสาระสำคัญความว่า

​“มาตรา 4/2 ให้ยกเลิกมาตรา 93 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐” 

8. ขอแปรญัตติเพิ่มความเป็นมาตรา 4/3 มีสาระสำคัญความว่า

​“มาตรา 4/3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 94 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

​“มาตรา 94  ถ้าต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดขึ้นใหม่เพราะเหตุที่การเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมมิให้มีผลกระทบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง ตามมาตรา 91””

เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ก็เตรียมแปรญัตติเพิ่มเติมจาก 2 มาตราที่เสนอมา

แต่ปัญหาดังกล่าวยังเป็นความ “คาใจ” ของ โกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท และ สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย 2 พรรค ที่ได้ประโยชน์จากการเลือกตั้งบัตรใบเดียว ตาม “กติกา” รัฐธรรมนูญ 2560 

เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่มีความสมบูรณ์ เพราะเสนอเพียง 2 มาตรา และเตรียมจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน 

ประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ  CE5F4BC1-BE20-4077-922E-7E4979534E93.jpeg

ฟากหนึ่งงัดข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 124 หาทางออก

ฟากหนึ่งงัดมุกส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ 

2 มุม 2 ขั้ว เลือกตั้งบัตร 2 ใบ - บัตรใบเดียว เดินมาถึงจุดตัดสำคัญในเกมร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้ง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง