ไม่พบผลการค้นหา
‘ไพบูลย์’ ชี้ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ที่ใช้ตาม ม.9 ของ 'ชูศักดิ์' ขัด รธน. มาตรา 166 แนะผ่านวาระ 3 ส่งศาล รธน.ตีความ เชื่อ ไม่ตกทั้งฉบับ

วันที่ 25 มี.ค. ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ให้สัมภาษณ์ “วอยซ์” ถึงร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่จะมีการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พิจารณาวาระ 2 ให้แล้วเสร็จว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีปัญหาที่มาตรา 9 ภายหลังที่ประชุมเห็นชอบตามที่ ชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย เสนอเพิ่มเนื้อหา

ทำให้มาตรา 9 มีปัญหาอยู่ 2 ส่วน 1.การให้รัฐสภามีมติเพื่อขอจัดทำประชามติ แล้วมีผลในการจัดทำประชามติทันที 2. การให้ประชาชนเข้าชื่อเพื่อเสนอคณะกรรมการ แล้วจัดทำประชามติ ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 166 ที่ให้อำนาจคณะรัฐมนตรี(ครม.)จัดทำประชามติ

ดังนั้น การกำหนดให้รัฐสภามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือ ให้อำนาจคณะกรรมการ ที่พิจารณารายชื่อประชาชนมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจ ครม. จึงขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 166    

ประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ  ไพบูลย์ นิติตะวัน พลังประชารัฐ wwww317_2.jpg

ไพบูลย์ กล่าวว่า เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงมีทางออกอยู่ 2 ทาง

1. เมื่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเห็นชอบในวาระ 3 แล้วให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่า ขัดกับรัฐธรรมนูญบางมาตรา ศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยแล้วส่งกลับมาให้รัฐสภาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้  

2. เมื่อประกาศใช้กฎหมาย แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐบาลสามารถเสนอรัฐสภาเพื่อแก้ไขได้

ผมเห็นว่ามันขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ผมยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะถึงขั้นไม่เห็นชอบในวาระ 3 ซึ่งวาระ 3 ก็พิจารณากันไป เสร็จแล้วค่อยส่งศาลรัฐธรรมนูญ เพราะประเด็นที่ขัดรัฐธรรมนูญเป็นเพียงอนุมาตรา” ไพบูลย์ กล่าว

เมื่อถามว่าหากตีความเช่นนี้ จะมองได้ว่ารัฐบาลไม่อยากให้ประชาชนมีส่วนในการเข้าชื่อเสนอจัดทำประชามติหรือไม่ ไพบูลย์ กล่าวว่า ถ้าประชาชนเข้าชื่อเสนอ ครม.ก็ยังเป็นอำนาจ ครม.ในการพิจารณาว่าจะทำหรือไม่ แต่ถ้าให้ประชาชนเข้าชื่อแล้วเสนอคณะกรรมการ แล้วคณะกรรมการมีอำนาจตัดสินเลยว่าจะทำหรือไม่ทำ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะโดยเนื้อหาของกรรมการธิการเสียงข้างน้อย ไม่ได้ระบุว่าต้องขออนุมัติจาก ครม. ซึ่งความเห็นของตน ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญแน่ๆ

ประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ  ไพบูลย์ vvve_2.jpg

สำหรับมาตรา 9 ในร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ชูศักดิ์ ศิรินิล กรรมาธิการเสียงข้างน้อย แปรญัตติเสนอเพิ่มความ 5 ข้อ ในกระบวนการจัดทำประชามติ ประกอบด้วย

1.การออกเสียงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

2.การออกเสียงกรณีคณะรัฐมนตรีเห็นว่ามีเหตุสมควร

3.การออกเสียงตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการออกเสียง

4.การออกเสียงกรณีที่รัฐสภาได้พิจารณาและมีมติเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีเหตุสมควรที่จะให้มีการออกเสียงและได้แจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการ

5.การออกเสียงกรณีประชาชนเข้าชื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง