ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปราย พ.ร.ก. 3 ฉบับที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาโรคโควิด-19 ได้แก่ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
โดย น.ส.ศิริกัญญา อภิปรายแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจ ระบุว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เป็นวิกฤตรากหญ้า เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า รายได้เกษตรลดลงต่อเนื่อง อีกทั้งยังเจอกับพิษโควิดซ้ำซ้อนลงไปอีก รายได้ของคนไทยลดลงอย่างถ้วนหน้า ซึ่งหลังโควิดจะมีอัตรการว่างงานอีกถึง 7 ล้านคน เมื่อรายได้ลดแต่ค่าใช้จ่ายยังคงอยู่ หนี้ครัวเรือนก็จะเพิ่มขึ้น ทั่งหนี้ในระบบและนอกระบบ และกิจการรายย่อยที่จะล้มตายอีก 26 เปอร์เซ็นต ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากพิษโควิด-19 โดยกันถ้วนหน้าในหลายประเทศ แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการรับมือ หลายประเทศหันกลับไปใช้วิธีการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศตัวเอง
น.ส.ศิริกัญญา ระบุว่า นี่เป็นโอกาสครั้งสำคัญที่จะพลิกฟื้นประเทศไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ ซึ่งทุกฝ่ายเห็นตรงกันที่ห้ามปล่อยให้โอกาสในช่วงเวลานี้หลุดลอยไป แต่เมื่อตนได้ฟังเลขาสภาพัฒนฯ แถลง ทำให้ตนฝันสลาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าแผนที่วางไว้สามารถรองรับให้คนมีงานทำได้ประมาณ 2 ล้านอัตรา แต่ไม่เพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกว่า 4 ล้านคน เนื่องจากแผนนี้ยังคงเป็นแบบเดิมตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจก่อนวิกฤตโควิดได้ แล้วจะเอาอะไรมาการันตีว่าจะใชเงินสี่แสนล้านบาทมาพัฒนาเศรษฐกิจได้
ถ้าเป็นเพราะแผนยุทธศาสตร์ชาติ ตนขอแนะนำว่าให้ฉีกแผนทิ้งไปได้เลย เพราะว่าแผนนี้คงจะอยู่ไม่ถึง 20 ปีหากไม่ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ การประเมินโครงการเงินกู้ในรอบ 3 ปีที่ตนไปตรวจสอบดูก็เป็นการประเมินแบบหยาบๆ และไม่มีการถอดบทเรียน ทั้งที่รัฐมนตรีหลายท่านอยู่ในภาคธุรกิจมาก่อน ยกตัวอย่างว่าในบอร์ดบริษัท ถ้าจะกู้เงินหลายล้านบาท CEO ก็ต้องทำการบ้านอย่างมาก
"ใน พ.ร.ก. กู้เงินครั้งนี้ไม่มีรายละเอียดให้พิจารณา เหมือนคิดไปทำไป เหมือนไม่ให้เกียรติประชาชนที่เป็นเจ้าของเงิน และไม่มีทางที่จะบรรลุเป้าหมายได้" น.ส.ศิริกัญญา ระบุ
วันนี้เรายังพอมีเวลาแก้ไขโดยดูแบบอย่างจากในอดีต เช่น วิกฤติเศรษฐกิจปี 2552 โครงการไทยเข้มแข็ง สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการวางแผนโครงการไว้เหมือน พ.ร.ก. ตอนนี้ แต่สิ่งที่ต่างคือมีการวางเป้าหมายชัดเจนว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเท่าไร และจีดีพีเพิ่มขึ้นเท่าไร และยังมีดัชนีชี้วัดอีก 7 ด้าน แม้สุดท้ายแล้วการประเมินผลในปี 2554 และผลที่ออกมาไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งทำให้เห็นว่าแม้มีเป้าหมายชัดเจนยังพลาดเป้าได้ แล้วตอนนี้ไม่มีเป้าหมายที่กำหนด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
ชี้กู้ 1 ล้านล้านไม่พอฟื้น ศก.
น.ส.ศิริกัญญา ชี้ว่าเงิน 1 ล้านล้านบาท หรือ 6 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยกตัวอย่างประเทศต่างๆ ที่มีการจ่ายเงินมากกว่าไทย เช่น ญี่ปุ่นใช้เงิน 21 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี และตนเชื่อว่าปีหน้าก็จะมีหนี้สาธารณะเกินเพดานแน่นอน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เกิน แต่อยู่ที่ว่าเราจะสามารถจ่ายหนี้คืนได้หรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศกรีซ เปรียบเทียบกับญี่ปุ่นในปี 2556 ทั้งที่ญี่ปุ่นมีหนี้สูงถึง 224 เปอร์เซ็นต์ กรีซ 199 เปอร์เซ็นต์ แต่สัดส่วนในการชำระดอกเบี้ยต่างกัน ญี่ปุ่น 11 เปอร์เซ็นต์ และกรีซ 33 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีเงินมาใช้จ่ายในด้านนต่างๆ ตนจึงเห็นต่างกับฝ่ายค้านด้วยกันว่าหากมีความจำเป็นต้องกู้ก็ควรกู้มากกว่านี้ เพื่อให้คุ้มค่ากับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำให้ได้จริง
แนะงัดมาตรการภาษี - ดัน พ.ร.บ.ฟื้นฟูประเทศ จัดงบฯปี 64 ใหม่
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้เครื่องมือที่มีอยู่ตอนนี้ คือ มาตรการทางภาษี เช่น การคือ VAT, มาตรการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น แก้กฎหมายที่จำเป็น, และทบทวนข้อตกลงการเข้าร่วม CPTPP และข้อเสนอของพรรคก้าวไกล คือ การเตรียมความพร้อมสาธารณสุขสำหรับการรับมือการระบาดในรอบใหม่ เพื่อให้ปิดเมืองสั้นลง รวมทั้งเยียวยาประชาชน โดยใช้เงิน 1 ล้านล้านบาท แล้วการฟื้นฟูประเทศหากยังคิดไม่จบให้กลับไปคิดมาใหม่แล้วยื่นกลับมาเป็นพระราชบัญญัติการฟื้นฟูประเทศควบคู่ไปกับการจัดสรรงบประมาณปี 2564 ใหม่ เนื่องจาก พ.ร.บ. จะมีความรอบคอบรัดกุมมากกว่า มีการตรวจสอบ และยึดโยงกับประชาชน ที่สำคัญคือมีการเรียนรู้บทเรียนที่ผิดพลาดในอดีต
'ปดิพัทธ์' แนะกัน 1 แสนล้านให้ สธ. เก็บ 6.43 แสนล้านเยียวยา 3 เดือน
ด้าน นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า การเยียวยาที่ผ่านมาไม่สำเร็จ และการจัดสรรการเยียวยาในอนาคตก็มีแนวโน้มไม่เพียงพอ ตอนนี้เรายังไม่มีภาพว่าคนป่วยที่ชื่อว่าประเทศไทยมีอาการอะไรบ้าง ก่อนที่จะรักษาและออกไปวิ่งบนความท้าทาย ตนชี้แจงว่าตอนนี้เงิน 1 ล้านล้านบาท รวมกับการโอนงบประมาณอีก 88,000 ล้านบาท รวมเป็น 1.088 ล้านบาท แต่ถูกใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว 345,000 ล้านบาท ตนเสนอแผนว่า 1 แสนล้านบาทต้องกันไว้สำหรับสาธารณสุข และ 643,000 ล้านบาท เก็บไว้จ่ายเงินเยียวยาถ้วนหน้า 3 เดือน, สมทบค่าจ้าง SMEs 50 เปอร์เซ็นต์ และจัดสรรอาหารฟรีให้ประชาชน ตนมองว่าสิ่งที่น่ากลัวตอนนี้ไม่ใช่ไวรัสแต่คือการตกงานกว่า 7 คน แบ่งเป็น 4 ล้านคนกลับสู่ชนบท แล้วต้องไปเจอกับปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน และภัยแล้งที่รัฐบาลยังคงแก้ปัญหาไม่ได้ตั้งแต่ประยุทธ์ 1 และหากปลูกพืชผลได้สำเร็จก็จะเกิด Over Supply แต่กลับไม่มีแผนจากรัฐบาลที่เตรียมจะรับมือให้การแก้ปัญหานี้
นายปดิพัทธ์ ระบุว่า รัฐจะจัดสรรให้ต้องตอบโจทย์ในการพัฒนาประเทศให้คนมีชีวิตหลังโควิดที่ดีขึ้น แบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ 1 งานฟื้นฟูและเสริมสร้างศักยภาพ เช่น การเก็บขยะในแม่น้ำทะเล หรือแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความพร้อมรับการท่องเที่ยวหลังเปิดประเทศ, สร้างทางเท้าที่ปลอดภัย เอาสายไฟฟ้าลงดิน ซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมใช้ 2.แก้ปัญหาเรื้อรังของไทย เช่น การบริการภาครัฐแบบออนไลน์, พัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์, สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนออนไลน์ ลดความเหลื่อมล้ำ 3.ตอบโจทย์ความท้าทายโลก เช่น อุตสาหกรรมสีเขียว พวกรถเมล์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมเกษตรก้าวหน้า ทั้งหมดนี้คือการเดิมพันที่สูงมากว่าจะเป็นการส่งมอบอนาคตที่ดีจากการกู้เงินครั้งนี้ หรือจะเป็นการส่งมอบหนี้มหาศาลให้ลูกหลาน
ซัดไม่กระจายอำนาจ จี้ปฏิรูปที่มาฝ่ายบริหาร
นอกจากนี้ นายปดิพัทธ์ ยังยกตัวอย่างว่า ประเทศไทยสามารถที่จะผลิตเครื่องช่วยหายใจได้ หากเปิดให้มีการเปิดให้ลงทุนและแข่งขันแบบเสรี ตอนนี้เราไม่สามารถเป็นฐานในการผลิตชิ้นส่วนแล้วส่งออกไปประกอบต่างประเทศได้แล้ว แต่ต้องทำให้เสร็จภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเกิดนวัตกรรม โดยมีรัฐบาลเป็นพี่เลี้ยงดูแล และไทยอาจจะเป็นผู้ส่งออกเครื่องช่วยหายใจไปทั่วโลก ตอนนี้การท่องเที่ยว
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ความหวังเหล่านี้คือสิ่งที่คนต้องการเห็นจาก พ.ร.ก. นี้แต่รัฐบาลที่คิดแบบเดิมไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์นี้ได้ ทุกวันนี้กระจายแต่หน้าที่และภาระให้ อสม. หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่กระจายอำนาจและงบประมาณให้ หลายโครงการส่งมอบแล้ว แต่ยังใช้การไม่ได้ เพราะแผนงานเหล่านี้เกิดจากรัฐบาลและรัฐราชการที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน หรือแม้กระทั่งโครงการโอท็อปนวัตวิถีก็ไม่ใช่ตลาดที่จะมีความเข้ามาซื้อขายได้จริง คึกคักอยู่แค่ไม่กี่ช่ั่วโมงในการเปิดงาน
"ขอเรียกร้องการปฏิรูปที่มาของฝ่ายบริหาร คือ รัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน เพราะโครงสร้างของรัฐธรรมนูญและอำนาจขององค์กรอิสระทำให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่กล้าทำงานเพราะกลัวผิดระเบียบ, ปฏิรูประบบราชการให้ยึดโยงกับประชาชน คืนอำนาจงบ และคนให้กับท้องถิ่น และขอเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นให้มีผู้บริหารที่มาจากประชาชน แต่ตอนนี้ระบบราชการแบบรัฐราชการรวมศูนย์ เข้ากับโครงสร้างที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้วางไว้ ควรเปลี่ยนแปลงประเทศและฟื้นฟูประเทศด้วยการกระจายอำนาจและตรวจสอบการทำงานขอวงรัฐไปด้วยกัน" นายปดิพัทธ์ ระบุ