ไม่พบผลการค้นหา
ว่ากันว่า 15 มี.ค. 2566 คือวันนั้น วันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ผู้ถืออำนาจเต็มในการยุบสภาฯ แต่เพียงผู้เดียว จะลงมือปฏิบัติการ

เพราะในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 31 ม.ค. 2556 “วิษณุ เครืองาม” รองนายกรัฐมนตรี รายงานผลการหารือกับ แสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 

กกต.ได้แจ้งว่า ถ้าเรายุบสภาฯ ช่วงนี้ คงทำไม่ได้ เพราะ ส.ส.ไม่ทราบว่าตัวเองจะต้องลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตไหน เนื่องจากยังไม่มีการแบ่งเขตเลือกตั้ง กกต.เลยขอว่าอย่าเพิ่งยุบสภาฯ ในช่วงนี้ กว่าจะได้เขตเลือกตั้งต้องหลังวันที่ 28 ก.พ. 2566 เพราะมันต้องใช้ระยะเวลา มีขั้นตอนของจังหวัด แต่ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม จะเป็นเรื่องของรัฐบาลว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ เพียงแต่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ กกต.ระบุมาด้วย 

มีรายงานว่า กกต.ต้องการจัดเลือกตั้งตามปฏิทินเดิมคือ 7 พ.ค. 2566 จะเป็นการ “สะดวกที่สุด” เพราะ กกต.วางล็อกการเลือกตั้งไว้พร้อมสรรพ 

เพราะก่อนหน้านี้ กกต.จะวางปฏิทินการจัดการเลือกตั้ง 7 พ.ค. 2566 บนสมมติฐานว่า รัฐบาลอยู่ครบเทอม จะต้องมีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน 

แสวง _48252.jpeg

โดย กกต.กำหนดนับจากวันที่ 23 มี.ค. 2566 ที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง วันที่ 30 มี.ค. 2566 จะเป็นวันสุดท้ายที่คาดว่าพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้ จากนั้น

• 3-7 เม.ย. 2566 เป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. 

• 11 เม.ย. 2566 วันสุดท้ายของการประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และเป็นวันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 

• 14 เม.ย. 2566 ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. 

• 6 เม.ย. 2566 เป็นวันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน และสรรหาแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 

• 26 เม.ย. 2566 เป็นวันสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง รวมถึงวันสุดท้ายของการเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ 

• 30 เม.ย. 2566 กำหนดให้เป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง และนอกเขตเลือกตั้ง รวมทั้งแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 

• 1-6 พ.ค. 2566 เป็นระยะเวลาแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 

• 1 พ.ค. 2566 เป็นวันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 

• 3 พ.ค. 2566 เป็นวันสุดท้ายศาลฎีกาพิจารณาสิทธิสมัครกรณีผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร 

• 6 พ.ค. 2566 เป็นวันสุดท้ายที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องศาลฎีกา กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม 

• 7 พ.ค. 2566 เป็นวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็น การเลือกตั้งทั่วไป 

• 8-14 พ.ค. 2566 เป็นวันแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นวันที่ 45 นับแต่วันครบวาระ 

• 8-14 พ.ค. 2566 เป็นวันแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (แจ้งเหตุภายใน 7 วัน) 

แต่ถ้าในกรณีที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจยุบสภา จะต้องมีการจัดการเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 45 วัน และไม่เกิน 60 วัน 

ดังนั้น หากนายกฯ ยุบสภาภายในวันที่ 15 มี.ค. 2566 ขยับจากวันอยู่ครบเทอมราว 8 วัน กำหนดการต่างๆ ข้างต้นก็ขยับเพียงไม่กี่วันเท่านั้น และจะสามารถยึดปฏิทินที่ใกล้เคียงฉบับเดิมได้และสามารถจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ค. 2566 ได้พอดีเป๊ะตามกรอบไม่น้อยกว่า 45 วัน 

หรือจะขยับจากนั้น ในวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. หรือ 21 พ.ค. 2566 ก็ยังเป็นอีก ‘ออปชั่น’ หนึ่งในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งยังอยู่ในกรอบ 60 วัน 

อย่างไรก็ตาม หลังกจากเลือกตั้งจบสิ้นลง รัฐธรรมนูญ มาตรา 85 กกต.ต้อง ประกาศผลการเลือกตั้งในกรณีที่เชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของ เขตเลือกตั้งทั้งหมด

โดย กกต.ต้องตรวจสอบเบื้องต้นและประกาศผลการเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จโดยเร็วแต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วัน จากวันเลือกตั้ง 

จากนั้น รัฐธรรมนูญมาตรา 121 บังคับว่า ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้ ส.ส.ได้มาประชุมเป็นครั้งแรก 

เสนอชื่อประยุทธ์ รัฐสภา นายกรัฐมนตรีประวิตร-ประยุทธ์ รัฐสภา  สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ

ซึ่งหากเทียบไทม์ไลน์หลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดแรกเกิดขึ้น 22 พ.ค. 2562 ต้องใช้เวลากว่า 2 เดือน 

ส่วนการเลือกนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 เลยหรือไม่ รัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับไว้ เพราะในระบบรัฐบาลผสม ต้องทอดเวลาให้พรรคการเมืองตกผลึกว่าจะเลือก “นายกฯ ในบัญชี” ของพรรคไหน ก่อนเข้ามาโหวตในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา หากการโหวตในรัฐสภา ยังตกลงกันไม่ได้ก็ต้องว่ากันไปอีกขั้นหนึ่งที่ขอยกเว้นการโหวตนายกฯ ในบัญชีพรรคการเมือง    

ซึ่งหลังการเลือกตั้งปี 2562 กว่าจะมีการโหวตเลือกนายกฯ ก็ปาไปวันที่ 5 มิ.ย. 2566 และถวายสัตย์ปฏิญาณวันที่ 9 มิ.ย. 2566 รวมแล้วใช้เวลา 3 เดือนเศษ 

ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไร รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ชุดปัจจุบันจะอยู่กับเราไปอีกถึงเดือน ส.ค. 2566

ประยุทธ์ ยุบสภา เลือกตั้ง ปฏิทิน ปากากาในมือ 59364682271_6027422119981906327_n.jpg