ไม่พบผลการค้นหา
รองนายกฯ แจงออก พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาทน่าจะเพียงพอนำไปเยียวยาประชาชน ผู้ประกอบการ สาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ รองรับสถานการณ์การระบาดในอนาคต

วันที่ 25 พ.ค. 2564 สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) พลังงาน กล่าวชี้แจงการออกพระราชกำหนด หรือ พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 เพิ่มเติม จำนวน 5 แสนล้านบาท ว่า พ.ร.ก. ดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ดูแลประชาชน ผู้ประกอบการ แรงงาน และสร้างงานให้กับภาคประชาชนในระดับท้องถิ่น รวมถึงจัดทำโครงการที่เป็นประโยชน์ในการฟื้นฟูสถานการณ์โควิด ซึ่งจะควบคู่ไปกับโครงการซอฟต์โลน พักชำระหนี้ ให้กับผู้ประกอบการ วงเงิน 3 แสน 5 หมื่นล้านบาทที่ออกไปก่อนหน้านี้ และการออก พ.ร.ก.กู้เงินในครั้งนี้เพื่อจะรองรับความไม่แน่นอน ของการระบาดในอนาคต การระบาดที่อาจจะยาวขึ้นไปอีก โดยจากประสบการณ์ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา จะเห็นว่าประมาทไม่ได้ เราเคยคิดว่าควบคุมได้ แต่ก็มีระลอกใหม่มาขึ้นเลยๆ จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนให้ปฎิบัติตามมาตรการสาธารณสุขที่รัฐบาลกำหนดเพื่อให้การระบาดลดลง สถานการณ์รุนแรง แต่ยืนยันยังสามารถควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องมีการล็อกดาวน์ ให้จังหวัดที่มีสีเขีขวสามารถดำเนินเศรษฐกิจต่อไปได้

ส่วนการปรับลดการกู้เงินจากจำนวน 7 แสนล้าน เป็น 5 แสนล้าน สุพัฒนพงษ์ เชื่อว่า เป็นระดับที่น่าจะเพียงพอ รองรับการแพร่ระบาดโควิด เนื่องจากมีการเริ่มฉีดวัคซีนในกับประชาชนแล้ว เงินจำนวนนี้น่าจะเพียงพอ 

ด้าน อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงการออก พ.ร.ก. ให้กระทรวงการคลังกู้เงินในครั้งนี้ วงเงิน 5 แสนล้านบาท นำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์แผนงานแนบท้าย พ.ร.ก.ฉบับนี้ ได้แก่ โครงการแก้ปัญหาโควิด-19 เกี่ยวกับการแพทย์ และสาธารณสุข 3 แสนล้าน ส่วนแผนงานเยี่ยวยาประชาชน 3 แสนล้าน และแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1 แสน 7 หมื่น ซึ่ง ครม. สามารถปรับวงเงินใช้จ่ายจำนวนนี้ในแผนงานต่างๆให้เหมาะสมได้

อาคม กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด มีการกระจายเป็นวงกว้าง มีผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็ว กระทบต่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับลดเหลือ 1.5-2.5 จึงมีความจำเป็นต้องออก พ.ร.ก กู้เงินดังกล่าว เพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะ รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เและเป็นสถานการณ์เร่ง ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดย กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท เป็นกรอบวงเงินที่มีความเหมาะสม ที่ช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะทำให้ปี 2564-2565 ขยายตัวได้ร้อยละ 1.5 โดยการกู้เงินครั้งนี้ ได้ทำอย่างระมัดระวัง ซึ่งจะมีหนี้สาธาระเพิ่มขึ้น-ต่อ จีดีพี 58.56 % ยังอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ 60 %

สำหรับ พ.ร.ก. ดังกล่าวผ่านการพิจารณาแล้วสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะส่งเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาและมีข้อกำหนดว่าจะมีการพิจารณาอย่างไม่ชักช้า 

รัฐสภาวางคิวถก พ.ร.ก.กู้เงิน 7 มิ.ย. มิ.ย.นี้ 

ขณะที่ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปรัฐบาล เปิดเผยว่าการพิจารณา พ.ร.ก.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรหลังเสร็จสิ้นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ที่จัดประชุมระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคมถึงวันที่ 2 มิถุนายนนี้ และคาดว่าอาจจะพิจารณาในวันจันทร์ที่ 7 มิ.ย.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง