ไม่พบผลการค้นหา
ป่าในเขตโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองเชอร์โนบิลถูกเผาไหม้มาเป็นระยะเวลากว่าสัปดาห์ ส่งผลให้ค่ากัมมันตรังสีในเขตดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง

นับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานักดับเพลิงของยูเครนยังคงไม่สามารถควบคุมเพลิงที่เผาไหม้พื้นที่ป่าบริเวณรอบๆอดีตที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครนได้ ทำให้ค่ากัมมนัตรังสีในพื้นที่ดังกล่าวพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่หลังจากการระบิดเมื่อปี 1986

ไฟไหม้ป่า.jpg


ทั้งนี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานิวยอร์กไทม์รายงานว่า กลุ่มไฟป่าได้เผาไหม้ไปใกล้กับพื้นที่ที่เป็นซากของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และพื้นที่ที่เก็บวัสดุที่ได้รับการทำความสะอาดแล้วหลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดเมื่อ 34 ปีก่อน

หน่วยงานการจัดการพื้นที่การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาไฟไหม้พื้นที่ป่าไปแล้วกว่า 8,600 เอเคอร์ หรือประมาณ 21,758 ไร่ นักดับเพลิงถูกส่งไปดับไฟป่าแล้ว 400 คน และมีอุปกรณ์ดับเพลิงอีกกว่า 100 ชุด รวมไปถึงเฮลิคอปเตอร์อีกหลายลำถูกส่งเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อช่วยดับไฟป่าในครั้งนี้

เชอร์โนบิล ไฟไหม้ป่า.jpg

เหตุการณ์ไฟไฟม้ป่าในเชอร์โนบิลในครั้งนี้ได้สร้างความกังวลให้แก่นักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมากเนื่องจากในช่วง 2-3ปีมานี้ พื้นที่บริเวณดังกล่าวธรรมชาติเริ่มกลับมาฟื้นฟูตัวอีกครั้งหลังจากที่ได้รับความเสียหายจากสารกัมมตภาพรังสีที่รั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ทั้งนี้ในงานวิจัยยังพบว่า ควันไฟที่เกิดจากไฟไหม้ป่าสามารถพัดพากัมมันตภาพรังสีไปได้ในระยะไกล ซึ่งภาพถ่ายของดาวเทียม NASA Earth แสดงให้เห็นว่า ควันไฟจากไฟไหม้ป่าในครั้งนี้ถูกพัดไปทางตอนเหนือข้ามพรมแดนไปยังประเทศเบรารุสและรัสเซีย และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมากระแสลมเปลี่ยนทิศได้พัดควันไฟไปปกคลุมเมืองหลวสงของยูเครนที่อยู่ทางตอนใต้ห่างออกไป 100 กิโลเมตรด้วยเช่นกัน

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. หน่วยงานสิ่งแวดล้อมของยูเครนพบว่าค่ากัมมันตภาพรังสีในพื้นที่ป่าดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปกติถึง 16 เท่า แต่ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมายังไม่พบค่ากัมมันตภาพรังสีที่ผิดปกติในกรุงเคียฟของยูเครนและในประเทศเบรารุส

ที่มา Euronews / NYTIMES