ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 - 20 ธ.ค. 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,511 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า
อันดับ 1 ร้อยละ 31.42 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (พรรคอนาคตใหม่) เพราะ อยากเห็นคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารบ้านเมือง มีความคิดที่พัฒนาประเทศ และเศรษฐกิจได้ดี และชื่นชอบพรรคอนาคตใหม่เป็นการส่วนตัว รองลงมา
อันดับ 2 ร้อยละ 23.74 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ บริหารงานดีอยู่แล้ว เป็นคนตรงไปตรงมา บ้านเมืองสงบไม่วุ่นวาย ช่วยเหลือประชาชนได้จริง และอยากให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
อันดับ 3 ร้อยละ 17.32 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 4 ร้อยละ 11.95 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เพราะ ชอบนโยบายพรรคเพื่อไทยและต้องการให้มาช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น อยากให้ผู้หญิงขึ้นมาบริหารประเทศบ้าง และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับ 5 ร้อยละ 3.90 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริง ทำจริง สามารถพัฒนาให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองได้ และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับ 6 ร้อยละ 3.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อันดับ 7 ร้อยละ 2.47 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติด่างพร้อย และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์เป็นการส่วนตัว
อันดับ 8 ร้อยละ 1.08 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีผลงานในการทำงานที่ดี มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถพัฒนาให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองได้
อันดับ 9 ร้อยละ 0.88 ระบุว่าเป็น น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรค ทำงานสานต่อจากคุณพ่อได้ดี และอยากให้ผู้หญิงขึ้นมาบริหารประเทศบ้าง และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคเศรษฐกิจใหม่) เพราะ มีนโยบายพรรคที่ชัดเจน น่าจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ดี ในสัดส่วนที่ท่ากัน
อันดับ 10 ร้อยละ 0.67 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะ มีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับ 11 ร้อยละ 0.56 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย เพราะ มีผลงานและการทำงานที่ผ่านมาดี มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อันดับ 12 ร้อยละ 0.47 ระบุว่าเป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะ ไม่น่าจะมีเรื่องคอร์รัปชัน และชื่นชอบเป็นการส่วนตัว
อันดับที่ 13 ร้อยละ 0.40 ระบุว่าเป็น นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่มีความคิดรอบคอบ และผลงานของพรรคเพื่อไทยดี
อันดับ 14 ร้อยละ 0.32 ระบุว่าเป็น หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) เพราะ มีประสบการณ์ในการทำงานที่ยาวนาน
อันดับ 15 ร้อยละ 0.16 ระบุว่าเป็น นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา)
อันดับที่ 16 ระบุว่าเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
อันดับ 17 ร้อยละ 0.04 ระบุว่าเป็นนายอุตตม สาวนายน (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะ มีผลงานและการทำงานดี, นายกรณ์ จาติกวณิช, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์, นายชิงชัย มงคลธรรม และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เพราะ เป็นคนออกมาพูดเรื่องกฎหมายที่ควรจะร่างให้ถูกต้อง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 30.27 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 19.95 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 16.69 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 4 ร้อยละ 13.46 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย อันดับ 5 ร้อยละ 10.83 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 6 ร้อยละ 2.43 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.03 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.59 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 9 ร้อยละ 0.92 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 10 ร้อยละ 0.48 ระบุว่าเป็น พรรคเศรษฐกิจใหม่ อันดับ 11 ร้อยละ 0.39 ระบุว่าเป็น พรรคพลังไทยรักไทย
อันดับ 12 ร้อยละ 0.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อชาติ, พรรคประชาชาติ และพรรคความหวังใหม่ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 13 ร้อยละ 0.08 ระบุว่าเป็น พรรครวมพลังประชาชาติไทย และพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย และอันดับ 14 ร้อยละ 0.04 ระบุว่าเป็น พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคชาติพัฒนา, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคไทรักธรรม และพรรคประชาธิปไตยใหม่ ในสัดส่วนที่เท่ากัน