‘เวอริลี’ หน่วยวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ภายใต้บริษัทแม่อย่างอัลฟาเบตที่เป็นเจ้าของกูเกิล ตีพิพม์งานวิจัยภายใต้ชื่อ Efficient production of male Wolbachia-infected Aedes aegypti mosquitoes enables large-scale suppression of wild population (การผลิตยุงลายตัวผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียวอลบาเชียอย่างมีประสิทธิภาพช่วยลดจำนวนยุงตามธรรมชาติในจำนวนมาก) ลงในวารสารวิชาการเนเจอร์แสดงผลสำเร็จในการขจัดยุงลายที่เป็นพาหะของโรคต่างๆ ในมนุษย์ ผ่านการทดลองจากทั้งหมด 3 สถานที่ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ
‘เบรดลีย์ ไวท์’ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของเวอริลี ย้ำถึงความสำคัญของความสำเร็จดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ว่านับเป็นประโยชน์อย่างมากที่งานวิจัยนี้จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่เปิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มียุงลายเป็นพาหะ อาทิ โรคไข้เลือดออกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี หรือโรคชิคุนกุนยา (โรคไข้ปวดข้อยุงลาย) ซึ่งจะเป็นการลดภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน
เนื่องจากการกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของยุงลายไม่สามารถแก้ปัญหาได้ดีเท่าที่ควร ทีมวิจัยจึงหันไปปรับใช้กระบวนการที่เรียกว่า ‘sterile insect technique’ (SIT) หรือการทำให้ยุงเป็นหมันเพื่อลดการขยายพันธุ์ และยังเป็นเทคนิคที่ได้รับการสนับสนุนจากธรรมชาติของยุงลายตัวเมียที่จะผสมพันธุ์ครั้งเดียวในชีวิตด้วย
วิธีการที่นักวิจัยใช้ในการทำให้ยุงลายตัวผู้เป็นหมันคือการนำมาแบคทีเรียวอลบอเชียมาติดเชื้อกับยุงลายตัวผู้แล้วปล่อยยุงลายเหล่านั้นที่ติดเชื้อแบคทีเรียจนเป็นหมันแล้วไปยัง 3 สถานที่ทดลองในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยในปี 2561 ทีมวิจัยปล่อยยุงลายตัวผู้ไปทั้งหมดกว่า 14.4 ล้านตัว ซึ่งกินพื้นที่ทั้งสิ้น 293 เฮกตาร์ หรือประมาณ 1,831 ไร่
ซึ่งผลการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 6 เม.ย.ที่ผ่านมา ชี้ว่า ยุงลายตัวผู้ที่เป็นหมันเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการช่วยลดประชากรยุงลงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยตัวเลขยุงลายเพศเมียในช่วงฤดูกาลที่มียุงมากที่สุดของพื้นที่ศึกษาคือระหว่างเดือน ก.ค.- ต.ค.ของปี 2561 ลดลงถึงร้อยละ 93 ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีต่อความหวังในการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายได้อย่างดี เพราะตามธรมชาติแล้วมีแต่ยุงลายเพศเมียเท่านั้นที่จะกัดมนุษย์
‘เจค็อบ คลอว์ฟอร์ด’ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากโครงการกำจัดยุงของเวอริลี ชี้ว่า “เรามีภาพว่ามันควรจะเป็นอย่างไรและเราเหมือนทำออกมาได้เกือบสมบูรณ์เลย”
นอกจาฝั่งกูเกิลที่พยายามป้องกันการเกิดโรคจากยุงลายผ่านหน่วยวิจัยเวอริลี ฝั่งไมโครซอฟต์ภายใต้มูลนิธิบิล เกตส์ ก็ออมาสันบสนุนเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 32,840 ล้านบาท ในการวิจัยทั้งการตัดต่อพันธุกรรม หรือการทำให้ยุงติดเชื้อแบคทีเรียวอลบาเชียเพื่อทำให้เป็นหมันเพื่อต่อสู้กับโรคมาลาเลียเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันเวอริลีมีความร่วมมือกับหลายประเทศแล้ว โดยความสัมพันธ์ล่าสุดเกิดขึ้นกับองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสิงคโปร์ (Singapore’s National Environment Agency) ในโครงการทดลองซึ่งเข้าสู่ระยะที่ 4 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยในเมืองประมาณ 121 ช่วงตึก ที่มีประชากรอาศัยราว 45,000 คน นากจากนี้เวอริลียังมีความพยายามในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับประเทศอเมริการใต้และประเทศในแถบแคริเบียน
เมื่อหันกลับมามองสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562 ของกรมควบคุมโรคชี้ว่าในปีไทยอาจมีตัวเลขผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกประมาณ 94,000 - 95,000 ราย และสัดส่วนผู้ติดเชื้อจะเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย.ก่อนจะไปพีคสุดช่วย มิ.ย. - ส.ค.
ที่ผ่านมา ไทยเคยมีจำนวนผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกสูงถึงหลักแสนรายในช่วงปี 2553, 2556 และ 2558 ที่มีผู้ป่วยถึง 116,947 154,222 และ 155,952 ราย ตามลำดับ ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในปี 2561 มีทั้งสิ้น 103 ราย
อ้างอิง; Bloomberg, Yahoo Finance