ไม่พบผลการค้นหา
สำนักงานเลขาธิการสภาฯ เผยแพร่สถิติ ส.ส.ในสภาฯ 21 พรรคการเมืองนำข้อหารือความเดือดร้อนประชาชน 916 ข้อหารือ ตลอดสมัยประชุุมรัฐสภาปีที่ 3 ครั้งที่ 2 โดย 'เพื่อไทย' กวาดสถิติหารือความเดือดร้อนมากที่สุด 300 ครั้ง

ผู้สื่อข่าว 'วอยซ์' ได้ตรวจสอบรายงานสรุปผลงานของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในปีที่ 3 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2564 - 28 ก.พ. 2565 ที่จัดทำโดยสำนักการประชุม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์รัฐสภา (https://web.parliament.go.th

โดยสำนักการประชุมได้เผยแพร่สถิติของ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร แต่ละพรรคการเมือง พบว่าในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง จะมีสมาชิกขอปรึกษาหารือต่อที่ประชุมก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม มีจำนวน 916 ข้อหารือ จำนวน 21 พรรคการเมือง ดังนี้

1.พรรคเพื่อไทย มี ส.ส.หารือมากที่สุด 90 คน รวมจำนวน 300 ครั้ง โดย มนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม ขอหารือมากที่สุุด 10 ครั้ง รองลงมาเป็น นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส.เชียงใหม่ ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ 8 ครั้ง

มนพร เพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจ กล้วย งูเห่า CCC6A8C74023.jpegทัศนีย์ -E5C9-4269-BFEE-E4AD6D641A09.jpeg


นิยม เวชกามา สภา FBF76743-0FDA-43CF-B71E-86DE202A00D6.jpegครูมานิตย์ ประชุมสภา -4385-447D-B9AF-6966DAA80251.jpeg

2.พรรคพลังประชารัฐ มี ส.ส.ปรึกษาหารือ 56 คน รวม 165 ครั้ง กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม. หารือมากที่สุด 7 ครั้ง

3.พรรคภูมิใจไทย มีสมาชิกหารือ 33 คน รวม 124 ครั้ง เกียรติ เหลืองขจรวิทย์ ส.ส.ลพบุรี หารือมากที่สุด 9 ครั้ง รองลงมาเป็น สฤษดิ์ บุตรเนียร ส.ส.ปราจีนบุรี ศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี ส.ส.กทม. คนละ 7 ครั้ง 

4.พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส.หารือ 26 คน รวม 93 ครั้ง มี นพ.บัญญัติ เจตนจันทร์ ส.ส.ระยอง ประกอบ รัตนพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ ส.ส.สงขลา หารือมากที่สุด 9 ครั้ง

5.พรรคก้าวไกล มี ส.ส.ปรึกษาหารือ จำนวน 31 คน รวม 114 ครั้ง มี ศักดินัย นุ่มหนู ส.ส.ตราด เขต 1 หารือมากที่สุด 12 ครั้ง รองลงมา ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หารือ 9 ครั้ง

กรณิศ พลังประชารัฐ ประชุมสภา_201117_9.jpg

6.พรรคพลังท้องถิ่นไท มี ส.ส.หารือ 4 คน รวม 14 ครั้ง นพดล แก้วสุพัฒน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี เขต 2 หารือมากที่สุดคนละ 6 ครั้ง

7.พรรคชาติไทยพัฒนา มี ส.ส.หารือ 4 คน รวม 12 ครั้ง ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี หารือมากที่สุด 8 ครั้ง

8.พรรคเสรีรวมไทย หารือ 4 คน รวม 12 ครั้ง มี นภาพร เพ็ชร์จินดา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หารือมากที่สุด 8 ครั้ง

นภาพร เสรีรวมไทย.jpg

9.พรรคประชาชาติ มี ส.ส.ขอหารือ 5 คน รวม 18 ครั้ง โดย อับดุลอายี สาแม็ง ส.ส.ยะลา และ กูเฮง ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส หารือมากที่สุดคนละ 5 ครั้ง

10.พรรคครูไทยเพื่อประชาชน มี ส.ส. 1 คนขอหารือ รวม 9 ครั้ง คือ ปรีดา บุญเพลิง ส.ส.บัญชีรายชื่อ

11.พรรครวมพลังประชาชาติไทย มี ส.ส. 1 คนขอหารือ คือ เนตตา แซ่โก๊ะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 4 ครั้ง

12.พรรคชาติพัฒนา มี ส.ส.หารือ 1 คน คือ วัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส.นครราชสีมา รวม 11 ครั้ง

13.พรรคพลังปวงชนไทย ส.ส.หารือ 1 คน คือ นิคม บุญวิเศษ ส.ส.แบบบบัญชีรายชื่อ รวม 5 ครั้ง

14.พรรคประชาธิปไตยใหม่ มี ส.ส.หารือ 1 คน คือ สุรทิน พิจารณ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รวม 5 ครั้ง

15.พรรคไทรักธรรม มี ส.ส. 1 คนขอหารือ คือ พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รวม 6 ครั้ง

16.พรรคพลังชาติไทย มี ส.ส. 1 คนขอหารือ คือ บุญญาพร นาตะธนภัทร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อรวม 4 ครั้ง

17.พรรคไทยศรีวิไลย์ มี มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หารือ 2 ครั้ง

18.พรรคพลเมืองไทย มี ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หารือ 2 ครั้ง

19.พรรคพลังธรรมใหม่ มี นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หารือ 5 ครั้ง

20.พรรคเศรษฐกิจใหม่ มี ภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ หารือ 2 ครั้ง

21.พรรคเศรษฐกิจไทย มี ส.ส.หารือ 3 คน คือ จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร 3 ครั้ง สมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น 1 ครั้ง และ ภาคภูมิ บูลย์ประมุข ส.ส.ตาก 1 ครั้ง

สำหรับการขอปรึกษาหารือของ ส.ส.ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมนั้น เอกสารบทความร้อยเรื่องเมืองไทย เผยแพร่โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร , สำนักวิชาการ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

ได้ย้อนถึงอดีตการขอปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอื่นใดก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ไม่ได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นเพียงแต่ดุลพินิจของประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่จะอนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้นำประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนมาปรึกษาหารือต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร แต่การปรึกษาหารือปัญหาดังกล่าวบางส่วนอาจไม่ได้นำไปสู่การดำเนินงานตามความประสงค์ของสมาชิกผู้หารืออย่างเป็นรูปธรรม

ต่อมาในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 21 ปีที่ 2 ครั้งที่ 11 วันที่ 14 มี.ค. 2545 จึงได้เริ่มให้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องการขอปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมอย่างเป็นรูปธรรม โดยมี สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ได้เห็นว่าการขอปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นประโยชน์ให้กับประชาชน เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้มีดำริให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรรับข้อหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ด้วยความเห็นชอบของ อุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น

โดยแนวทางปฏิบัติประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาอนุญาตให้สมาชิกได้หารือในช่วงเวลาก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม เมื่อมีสมาชิกยกมือแสดงความประสงค์ขอปรึกษาหารือจำนวนมาก ประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาอนุญาตให้ปรึกษาหารือได้ตามลำดับ แม้จะไม่มีการกำหนดระยะเวลาและจำนวนเรื่องในการขอปรึกษาหารือ 

แต่เมื่อประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาเห็นว่าสมาชิกได้นำเสนอประเด็นพอสมควรแล้วจึงอนุญาตให้สมาชิกคนต่อไปหารือได้ และเมื่อเห็นว่าได้เวลาสมควรที่จะดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุม ประธานของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสามารถสั่งให้ยุติการปรึกษาหารือได้ โดยส่วนใหญ่เป็นการขอปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่และปัญหาที่มีผลกระทบต่อส่วนรวม รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของสภาผู้แทนราษฎร

สุชาติ ประชุมสภา 78E-A8A9-48A094213E80.jpeg

ภายหลังมีการบัญญัติเรื่องการขอปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอื่นใดก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อ 17 โดยกำหนดให้เป็นอำนาจของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่อาจอนุญาตให้สมาชิกปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอื่นใดได้ ในช่วงก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรกำหนด

และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องดังกล่าวให้รัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องชี้แจงภายใน 30 วัน และแจ้งให้สมาชิกทราบ เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีโอกาสทำหน้าที่สะท้อนปัญหาของประชาชนได้มากขึ้น โดยผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อส่งเรื่องไปยังฝ่ายบริหาร ซึ่งหากอาศัยเฉพาะกระบวนการยื่นญัตติ หรือการยื่นกระทู้ถามที่มีเป็นจำนวนมาก อาจต้องใช้เวลาทำให้ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างทันท่วงทีในขณะนั้น

จากนั้นการตราข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฉบับถัดมา คือ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 24 ยังคงกำหนดให้มีการบัญญัติเรื่องขอปรึกษาหารือปัญหาที่เกี่ยวกับความเดือดร้อนของประชาชนหรือปัญหาอื่นใดก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม และได้กำหนดเพิ่มเติมให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงภายใน 30 วัน และแจ้งให้สมาชิกทราบด้วย 

ซึ่งจากช่วงเวลาการบังคับใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 (ระหว่างพฤษภาคม 2562-เมษายน 2564) ได้มีสมาชิกขอปรึกษาหารือก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมเป็นจำนวน 5,688 ข้อหารือ ซึ่งการปรึกษาหารือดังกล่าวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินโดยผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหาและได้มีการติดตาม เพื่อให้เกิดการพิจารณาแก้ไขปัญหาอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป

ที่มา - เอกสาร สรุปผลงานของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ปีที่ 3 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2