มหาวิทยาลัยลอนดอนและราชวิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์และสุขภาพเด็ก (RCPCH) ของอังกฤษกล่าวว่า พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการให้เด็กใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เนื่องจากแทบไม่พบหลักฐานว่าหน้าจอสมาร์ทดีไวซ์เป็นอั��ตรายกับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี
จากการทบทวนผลวิจัยหลายชิ้นพบว่า ระยะว่าการอยู่ติดหน้ามีความเกี่ยวโยงกับโรคอ้วนและอาการซึมเศร้า ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า เด็กผู้หญิงอายุ 14 ปีมีความเสี่ยงจะซึมเศร้าเมื่อใช้โซเชียลมีเดียมากกว่าเด็กผู้ชายในวัยเดียวกันถึง 2 เท่า
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็ยังไม่พบหลักฐานที่หนักแน่นพอจะบ่งบอกว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตนานๆ เป็นสาเหตุของอาการเหล่านี้ อีกทั้งไม่มีหลักฐานที่ระบุว่า คนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีอาการซึมเศร้าอยู่แล้วจะมีอาการหนักขึ้นเมื่อให้โรศัพท์และแท็บเล็ตนานขึ้น
RCPCH แนะนำว่า พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องกำหนดเวลาสำหรับการอยู่กับหน้าจอของเด็ก แต่ให้พิจารณาการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้
ดร. แม็ก เดวี จาก RCPCH ระบุว่า โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตเป็นวิธีการที่ดีมากในการเปิดโลกทัศน์ เครื่องมือเหล่านี้ก็มีประโยชน์ต่อเด็กได้เช่นกัน แต่พ่อแม่มักคิดว่าการใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นเรื่อง "ผิดโดยที่ไม่สามารถอธิบายได้" ดังนั้น สามารถพ่อแม่สามารถตอบคำถามข้างต้นแล้วปกติดี ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลอะไร
ข้อควรระวัง
RCPCH ระบุว่า ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์ แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์น้อยมาก เมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การนอนหลับ การออกกำลังกาย การกิน การถูกกลั่นแกล้งและความยากจน ขณะเดียวกันเวลาก็ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าระยะเวลาการใช้เครื่องมือเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด
RCPCH แนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กใช้โทรศัพท์ แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ในช่วงก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะกระทบกับการหลั่งสารเมลาโทนิน ทำให้นอนไม่หลับ และขณะนี้ ยังไม่พบว่า โหมดกลางคืนที่ลดแสงสีฟ้าของเครื่องมือเหล่านี้จะใช้ได้ผล ดังนั้น พ่อแม่จึงควรต่อรองกับเด็กเรื่องเวลาการอยู่หน้าจอจากความต้องการส่วนตัวของเด็ก ผลกระทบต่อการนอน สุขภาพ และการเข้าสังคม
ข้อแนะนำ
ที่มา : BBC