ไม่พบผลการค้นหา
คปน.ภาคอีสาน เสนอ นายกรัฐมนตรีปิดโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ปล่อยฝุ่น PM 2.5

คณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) ภาคอีสาน ประชุมเพื่อกำหนดท่าทีต่อสถานการณ์โรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีแผนจะดำเนินการในพื้นที่ภาคอีสานกว่า 29 โรงงาน และบางโรงงานดำเนินการไปแล้ว ซึ่งทาง คปน.ภาคอีสาน ชี้ว่าต้นเหตุของปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคอีสาน เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่รัฐบาลไม่มีความจริงใจในการควบคุม และในกระบวนการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมก็ไม่มีการศึกษา PM 2.5 ทั้งที่หลายหน่วยงานก็รับรู้ว่าโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นต้นเหตุของการปล่อยควันและฝุ่น PM 2.5 มากที่สุด

โดยนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ อายุ 51 ปี ที่ปรึกษา (คปน.) ภาคอีสาน กล่าวว่า กรณี PM 2.5 สาเหตุหลักเกิดจากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งมีที่มาจากกระบวนการผลิตจาก 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้ 1.จากส่วนโรงงาน ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาล 2.จากกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อย โดยการเผาอ้อย ซึ่งทั้ง 2 ส่วนข้างต้นเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทั้งในประเทศไทย และในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศลาว ประเทศเขมร ที่เป็นกลุ่มนายทุนจากประเทศไทย และหากพิจารณาถึงต้นเหตุของปัญหาจากกระบวนการผลิตทั้ง 2 ส่วนข้างต้น รัฐบาลควรต้องมีการทบทวนดังนี้ 

1.รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหา PM 2.5 ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องเร่งให้มีมาตรการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยเฉพาะกับโรงงานแปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาลที่ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว และอยู่ระหว่างกระบวนการก่อสร้าง 2.มาตรการสำหรับโรงงานแปรูปอ้อยเป็นน้ำตาล ที่อยู่ในกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA ต้องเปิดกว้างให้กระบวนการพิจารณาเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง

3.สำหรับโรงงานที่เปิดกระบวนการผลิตแล้ว ให้ยุติกระบวนการผลิตจนกว่าจะมีการศึกษาเรื่องผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 จากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจนแล้วเสร็จ การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ แล้วผลักดันสู่นโยบายที่เป็นรูปธรรมโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

ด้านนายสิริศักดิ์ สะดวก อายุ 40 ปี ผู้ประสานคณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล (คปน.) ภาคอีสาน กล่าวว่า ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล คสช. เข้าบริหารประเทศ 17 สิงหาคม 2558 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการให้ตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2558

โดยนิยามจากเดิมคำว่า “ตั้งโรงงานน้ำตาล” หมายความว่า ตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นใหม่เท่านั้น แต่ประกาศกระทรวงในครั้งนี้ให้หมายความรวมถึง “การขยายโรงงาน” และ “การย้ายโรงงานน้ำตาล” ไปตั้งยังพื้นที่อื่นได้ด้วย เป็นการปลดล็อกให้ผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ และขอขยายหรือย้ายโรงงานน้ำตาลไปยังพื้นที่อื่น และมีระยะห่างระหว่างโรงงานเดิมกับโรงงานใหม่ไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตร

ดังนั้นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศในครั้งนี้ จะทำให้ภาคอีสานมีนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ หรือศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพ มีกลุ่มโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงงานซึ่งเกิดจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายประเภทภายในพื้นที่เดียวกันในพื้นที่ 13 จังหวัดของภาคอีสาน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่จากนโยบายรัฐ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมอย่างกว้างขวาง 

สิ่งสำคัญจะต้องมีการประเมินผลกระทบจะต้องมีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ก่อน ไม่ใช่แค่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นรายโครงการเหมือนที่ผ่านมา รวมถึงการผลักดันตั้งแต่ระดับนโยบายยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเมื่อประชาชนในแต่ละพื้นที่ติดตามข้อมูลโดยยื่นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลในเรื่องผังเมือง พื้นที่เปราะบางหรือพื้นที่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความมั่นคงทางอาหาร และผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ แต่ส่วนใหญ่แล้วยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนของโครงการต่างๆ จากหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่อย่างใด ในขณะที่กฎหมายและคำสั่งที่มีปัญหากับการมีส่วนร่วมของประชาชน​