ไม่พบผลการค้นหา
แม้ว่าญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของ 6 พรรคฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย ดูน่ากังวลในสายตาประธานสภาผู้แทนราษฎร 'ชวน หลีกภัย' และรองประธานสภา คนที่ 2 'ศุภชัย โพธิ์สุ'

เพราะมีเนื้อหาบางช่วงบางตอน ในข้อกล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์

- ทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน

- นำสถาบันเป็นข้ออ้างเพื่อแบ่งแยกประชาชน แอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเกราะปิดบังความผิดพลาดล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของตนเอง

แต่ฝ่ายค้านยืนยันว่าจะไม่ปรับถ้อยคำในญัตติ ทำให้ 'ชวน' บรรจุวาระการประชุม และจะไม่สามารถแก้ไขถ้อยคำในญัตติได้

งที่เป็นเหตุการณ์คู่ขนานกับเรื่องนี้คือ “สิระ เจนจาคะ” ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ขู่ว่าจะยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

และจะแจ้งความดำเนินคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.ที่ลงชื่อร่วมเสนอญัตติ 

ชวน อภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้าน 9-99AA-4D2A-A31A-7436CD99672F.jpeg

ขณะที่แกนนำพรรคเพื่อไทย รายหนึ่งเชื่อว่า หากอภิปรายเรื่องดังกล่าวก็คงจะประท้วงกันวุ่นวาย แต่เชื่อว่าพรรคก้าวไกล ที่จะอภิปรายเรื่องนี้ จะอภิปรายด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด 

หันกลับมาที่ซีกรัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์” ไม่รู้สึกหวั่นไหวกับญัตติซักฟอกของฝ่ายค้าน

“ผมไม่หวั่นไหว ผมไม่ใช่คนตกใจง่ายอยู่แล้ว ผมเป็นทหารมาก่อน เป็นผู้บังคับบัญชาคนจำนวนมาก อยู่ในสถานการณ์ที่คับขันมาหลายครั้งด้วยกัน ผมคงไม่ใช่คนใจอ่อนหรือหวั่นไหวไปเสียทุกเรื่อง คงไม่ไปหวั่นไหว วันนี้ทุกคนเข้มแข็งดี โดยเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลก็ร่วมมือกันเป็นอย่างดีในการที่จะเตรียมชี้แจงในส่วนที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ” 

ประยุทธ์ 133942000000.jpg

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่า “พล.อ.ประยุทธ์” ก็กล่าวให้ความมั่นใจกับที่ประชุม ครม.ว่า ไม่กังวลกับศึกอภิปราย

เสียงก้องในที่ประชุม ครม. ดังกังวานมาถึงห้องประชุม ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ

“อนุชา นาคาศัย” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขาธิการพรรค ก็เล่าว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่มีความกังวลใดๆ การอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นแค่ยื่นญัตติตามฤดูกาลปกติเท่านั้น

นอกจากนี้ ทีมรัฐบาลยังขอ ส.ส.พรรคตั้งทีมองครักษ์ - แบ็คอัพข้อมูลให้กับนายกฯ และ รัฐมนตรีในค่ายพลังประชารัฐ ตอบชี้แจงฝ่ายค้านอย่างเต็มที่ 

อย่างไรก็ตาม หากสำรวจสถิติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจากการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ 42 ครั้ง พบว่าเป็นการอภิปรายที่จบลงด้วยการลงมติไว้วางใจจำนวน 34 ครั้ง แบ่งเป็น 

รัฐบาล พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ครั้ง 

รัฐบาลควง อภัยวงศ์ 1 ครั้ง 

รัฐบาล พล.ต.ถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์ 1 ครั้ง

รัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ 1 ครั้ง

รัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ 1 ครั้ง

รัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 5 ครั้ง

รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ 3 ครั้ง

รัฐบาลชวน หลีกภัย (ชวน 1) 3 ครั้ง

รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา 2 ครั้ง

รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 1 ครั้ง

รัฐบาลชวน หลีกภัย (ชวน 2) 3 ครั้ง

รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร 4 ครั้ง 

รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช 1 ครั้ง

รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 3 ครั้ง

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2 ครั้ง

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ 1 ครั้ง 

ประยุทธ์ สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ

นอกจากนี้ ยังมีสถิติที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนานที่สุด 3 อันดับ กินเวลา 5 วัน จนถึงเกินสัปดาห์

นานที่สุดคือยุครัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาสวัสดิ์ ที่ถูกอภิปราย 7 วัน 7 คืน และวันลงมติอีก 1 วัน รวมกันเป็น 8 วัน และมีการอนุญาตให้มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในยุคนั้น

ประเด็นหนึ่งที่รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ถูกพรรคประชาธิปัตย์โจมตีอย่างหนักคือ 'องค์การสรรพาหาร' ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อขายสินค้าอุปโภคแก่ชาวบ้าน ถูกโจมตีว่าเป็นแหล่งทุจริต กระทรวงมหาดไทยไม่สามารถปราบโจรผู้ร้ายที่ชุกชุม

นอกจากนี้ ยังถูกโจมตีกรณี “กินจอบ กินเสียม” ที่รัฐบาลซื้อจอบเสียมราคาถูกจากต่างประเทศ เพื่อไปแจกจ่ายประชาชน ยักยอกไม่นำเงินจากการขายจอบเสียมไปคืนกระทรวงการคลัง 

แม้ว่ารัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อ เพราะเสียงข้างมากในสภาฯ แต่ผลที่ตามมาคือ การรัฐประหาร ที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ในวันที่ 8 พ.ย. 2490

รองลงมาเป็นการอภิปรายซักฟอกรัฐบาลชวน 2 ถูกฝ่ายค้านซักฟอกยาวนาน 6 วัน เพราะประกอบด้วยผู้อภิปรายจำนวน 128 คน ทำให้ใช้เวลานาน มีข้อกล่าวหาเช่น  รัฐบาลไม่ดูแลทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์โดยเฉพาะเกษตรกร ปล่อยให้ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

รัฐประพฤติตนเป็นซ่องโจร ใช้อํานาจรัฐข่มเหงรังแกทําร้ายราษฎรที่มาร้องขอความเป็นธรรม ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน

“ยอมตนเป็นหุ่นให้แก่กลุ่มนายทุนต่างชาติเอาเปรียบ ประเทศชาติและประชาชนไทย ทําให้นักธุรกิจไทยทั่วประเทศต้องล้มละลายและเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ยินยอมให้กลุ่มทุนต่างชาติ บางกลุ่ม กอบโกยแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศชาติและนักธุรกิจไทยโดยไม่เป็นธรรม เป็นรัฐบาลที่ทุจริต และรู้เห็นปกป้องคุ้มครองให้มีการทุจริต การฉ้อราษฎร์บังหลวงในหน่วยงานราชการ และหน่วยงานของรัฐ มากที่สุด ปกป้องผู้กระทําผิดไม่ให้ได้รับโทษตามกฎหมาย”

อันดับที่ 3 อภิปรายซักฟอกยาวนาน 5 วัน ในสองยุค ยุคแรก คือการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลจํานวน 8 คน เกี่ยวกับการดําเนินการบริหารด้านการขนส่งและโทรคมนาคม ปัญหาทางเศรษฐกิจ (ค่าครองชีพ ดุลการค้าต่างประเทศ) ความสงบเรียบร้อยและความสงบสุขของประชาชน ปัญหาอาชญากรรม การครองชีพและการทํามาหากิน ปัญหาด้านการพลังงาน ทั้ง น้ํามันและแก๊สขาดแคลนและมีราคาสูง

ยุคสอง การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฝ่ายค้านขณะนั้นคือพรรคเพื่อไทย พุ่งเป้าโจมตีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553 ใช้อํานาจละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรงด้วยการสั่งทหารพร้อมอาวุธสงครามเข่นฆ่าประชาชนจนเสียชีวิตและบาดเจ็บจํานวนมาก 

บิดเบือนการใช้อํานาจใช้สื่อของรัฐโฆษณาชวนเชื่อเพื่อใส่ร้ายป้ายสีประชาชนว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและบิดเบือนการใช้อํานาจเพื่อปกปิดความผิดของตนเองและพวกพ้องด้วยการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม

บริหารประเทศด้วยการก่อหนี้จํานวนมหาศาล ส่งผลให้เกิดภาระหนี้สาธารณะ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขาดความสามารถในการจัดหารายได้ แทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน กระทบต่อความสัมพันธ์และการค้าระหว่างประเทศอย่างรุนแรง

แม้ว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 43 โดยฝ่ายค้าน 6 พรรค มีพรรคเพื่อไทยเป็นหัวขบวน ยังไม่ชัดเจนใช้เวลากี่วัน 

แต่ที่สุดแล้ว หากของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจ ก็จะเพิ่มสถิติเป็นรัฐบาลได้รับเสียงไว้วางใจเป็น 35 ครั้ง ในรอบ 88 ปี ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง