นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการพิจารณาโครงการ ในพ.ร.ก.กู้เงิน กล่าวในงานสัมมนาสาธารณะ ชำแหละเงินกู้ฟื้นฟูโควิดช่วยเศรษฐกิจ หรือเป็นพิษกับประชาชน ถึงเงินกู้ฟื้นฟูโควิดว่า พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับนั้น ที่กู้จริง คือ ตัวก้อนวงเงิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น 3 ก้อน คือ ด้านสาธารณสุข 4.5 หมื่นล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีมีการระบาด ด้านการเยียวยา 5.55 แสนล้านบาท ที่จ่ายตรงไปผู้รับผลกระทบ และด้านฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท ซึ่งการใช้เงินลักษณะนี้ประเทศอื่นก็ทำ อย่างออสเตรเลีย เยอรมนี ใช้มาตรการการคลัง 4% ของจีดีพี ญี่ปุ่น 16% ส่วนไทยหากเทียบแล้วอยู่ที่ 7-8%
ทั้งนี้ ก้อนฟื้นฟูเศรษฐกิจ จะใช้ใน 4 ส่วน คือ 1.เพิ่มศักยภาพประเทศ เช่น การใช้นวัตกรรมเข้าไปช่วยเกษตรกร 2. เศรษฐกิจฐานราก เน้นเรื่องการจ้างงาน สร้างความเข้มแข็งชุมชน 3. กระตุ้นการบริโภค เช่น เราเที่ยวด้วยกัน และ 4. โครงสร้างพื้นฐาน ที่ต้องเกิดประโยชน์ในแง่เกิดการหมุนเวียยน ตอบโจทย์พื้นที่ ขณะนี้ ครม.อนุมัติแล้ว 3.7 หมื่นล้านบาท ล่าสุด คณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นชอบอีก 160 โครงการเล็กๆ ราว 800 ล้านบาท กระจาย 58 จังหวัด โดยจะเสนอ ครม.สัปดาห์หน้า ส่วนที่ให้ไม่ครบทุกจังหวัด เพราะบางโครงการอาจไม่ได้เกิดประโยชน์กับประชาชนจริง พร้อมระบุว่า บางโครงการที่ไม่ผ่าน เช่น การจัดงานอีเวนต์ 1-2 วัน แล้วเลิกไป ทำอบรมอย่างเดียว แต่โครงการที่ให้เช่นเกิดประโยชน์ระยะยาว อย่างภาคใต้ที่ทำโครงการปรับลดพื้นที่ปลูกยางพารา มาปลูกพืชผสมผสาน โครงการกลุ่มเกษตรกร ที่ขอให้รัฐสนับสนุนการผลิต แปรรูป แต่ไม่มีเงินซื้ออุปกรณ์ เพื่ออัปเกรดผลิตภัณฑ์
ด้านสมชาย แสวงการ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพแบะการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ให้ความเห็นต่อการใช้งบประมาณ พ.ร.ก.เงินกู้ว่า ประเทศไทย ถือเป็นประเทศที่แก้ปัญหาหาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด รักษาชีวิตได้ดี แต่เนื่องจากมีการปิดประเทศ ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจกับปรถเทศ ซึ่งตนเองมีความกังวบเรื่องการใข้เงิรกู้ให้เหมาะสมกับปัญหาประเทศ ที่ค้องตรงเป้า ทั่งถึง และคุ้มค่า
พร้อมระบุว่า โครงการ กว่า 4 หมื่นโครงการที่เสนอไปยัง กรรมการกลั่นกรองโครงการพิจารณาโครงการ ใน พ.ร.ก.กู้เงิน นั้น ถือว่ามีความน่าเขื่อถือ แต่ควรให้มีภาคประชาชน ภาควิชาการ และสื่อมวลชน มีส่วนร่วมในกรรมการด้วย เพื่อให้มีการตรวจสอบได้ และไม่ให้เกิดการทุจริต โดยยกตัวอย่างการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่ตอบโจทย์ เช่น โครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด ในหลายพื้นที่ ที่เงินมักจะหายไปกับการทุจริต ไม่ได้เข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง
ขณะที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและที่ปรึกษา กมธ.วิสามัญติดตาม-ตรวจสอบงบประมาณ และมาตรการแก้ไขปัญหาวิกฤติโควิด เห็นตรงกันว่า ต้องมีการบริหารจัดการ พ.ร.ก.กู้เงินให้ตรงสัตถุประสงค์ เพราะหากใช้ไม่ตรงจะเป็นการกู้เงินโดยเปล่าประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มหนี้ให้กับประเทศมากขึ้นไปอีก
นายพิธา ได้เสนอแนะการใช้งบประมาณที่เหลือไปยังรัฐบาล ว่า ต้องเก็บไว้เยียวยาประชาชนรอบที่ 2 หากจำเป็น สำหรับบุคคลที่ยังไม่สามารถทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างปกติ ใช้ในการกระตุ้นธุรกิจ SME โดยเฉพาะ เพื่อให้มีการจ้างงาน รวมถึงมาตรการจ้างงานใหม่ ใช้ในการอุดหนุนการท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะเปิดบางจังหวัดที่มีความพร้อมด้านสาธารณสุข เพื่อให้การท่องเที่ยวฟื้นตัว รวมถึงด้านการศึกษา ช่วยเด็กกลุ่มเปราะบาง ยากจนให้ได้เรียนต่อ รวมถึงต้องปลดล็อค Soft loan เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้จริง
ด้านนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย) ยอมรับว่ามีความกังวลอย่างมากต่อการใช้ พ.ร.ก.เงินกู้ พร้อมรพบุว่า อย่าเชื่อเด็ดขาดว่าในประเทศไทยจะไม่มีการทุจริต คอร์รัปชัน พร้อมแสดงสิถิติข้อมูลจาก ป.ป.ช. ระหว่างวันที่ 3 เม.ย. - 30 พ.ค. 2563 พบมีเบาะแสการทุจริตกว่า 1,300 ข้อมูล และพบว่าพบว่ามีตวามเสี่ยง 974 ข้อมูล (75%) และมีความเป็นไปได้ในการทุจริตสูงถึง 129 ข้อมูล
ขณะเดียวกัน ยังกังวลว่า ในข่วงการเลือกตั้งท้องถิ่น จะมีการดึงงบประมาณไปใช้เพื่อผลประโยชน์ด้านการเมือง เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า มีการทุจริตเกิดขึ้นจริง เช่น จัดทำโครงการที่ซ้ำซ้อน ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนจริง ดังนั้น ควรให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเห็นข้อมูลการใช้งบประมาณได้อย่างเปิดเผย และมีสิทธิ์ในการชี้เป้าหากพบข้อสงสัยว่ามีการทุจริต พร้อมทั้งควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนรับรู้การใข้เงินก้อนนี้ให้มาก และตระหนักร่วมกันว่าเงินเหล่านี้เป็นของประชาชนทั้งประเทศ เพื่อป้องกันให้มีการโกงเกิดขึ้นน้อยที่สุด