ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2563 วานนี้ (21 พ.ค. 2563) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุม ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนา "เมืองการบินภาคตะวันออก" ในพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภา โดยมี 6 กิจกรรมสำคัญ เงินลงทุนรวมประมาณ 290,000 ล้านบาท ได้แก่
ทั้งนี้ จากโครงการดังกล่าว รัฐได้ประโยชน์เพิ่มเติมหลายด้าน อาทิ ด้านการเงิน (ค่าเช่าที่ดิน ส่วนแบ่งรายได้) มูลค่าปัจจุบัน 305,555 ล้านบาท (เป็นเงินรวม 1,326,000 ล้านบาท ใน 50 ปี) ได้ภาษีอากรเพิ่มมากกว่า 62,000 ล้านบาท (ไม่นับรวมรายได้ภาษีทางอ้อมกับธุรกิจเชื่อมโยงนอกเมืองการบินภาคตะวันออก) เกิดการจ้างงานเพิ่ม 15,600 ตำแหน่งต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก เพิ่มเทคโนโลยี และพัฒนาทักษะแรงงานด้านธุรกิจการบิน และธุรกิจเชื่อมโยง และเมื่อสิ้นสุดสัญญาทรัพย์สินทั้งหมด ตกเป็นของรัฐ
อย่างไรก็ตาม ได้มีเอกชนยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนจำนวน 3 กลุ่ม (รวม 14 บริษัท) ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) (กลุ่มบีบีเอส) กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Grand Consortium และกลุ่มที่ 3 กลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้งฯ) ซึ่งเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 3 กลุ่ม ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 1 (คุณสมบัติทั่วไป) และซองที่ 2 (ด้านเทคนิค)
สำหรับผลการพิจารณาซองที่ 3 (ด้านราคา)คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาข้อเสนอทั้ง 3 กลุ่ม และมีมติเห็นชอบลำดับผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอเงินประกันรายได้ขั้นต่ำเป็นผลตอบแทนให้แก่รัฐที่ดีที่สุด โดยลำดับที่ 1 กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ลำดับที่ 2 กลุ่มธนโฮลดิ้งฯ ลำดับที่ 3 กลุ่ม Grand Consortium
กล่าวคือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอสเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกโดยได้เสนอราคาเป็นจำนวนเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำรายปีรวมตลอดอายุสัญญาร่วมทุน เมื่อคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ณ ปี 2561 โดยใช้อัตราคิดลดร้อยละ 3.76 เท่ากับ 305,555,184,968 บาท ตลอดอายุสัญญา 50 ปี
ทั้งนี้ ได้มีการเจรจากับเอกชนร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 12 ก.พ.–13 เม.ย.2563 โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานเจรจา 2 ชุด ได้แก่
โดยคณะทำงานเจรจาฯ ทั้ง 2 คณะ ได้มีการประชุมเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ทางด้านเทคนิค การเงิน และข้อกฎหมาย รวมทั้งสิ้น 19 ครั้ง ภายใต้กรอบของเอกสารการคัดเลือกเอกชนฯ หลักการโครงการที่ กพอ. ได้เห็นชอบไว้ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จนกระทั่งแล้วเสร็จ ซึ่งผลการเจรจา บรรลุข้อตกลงการเจรจากับเอกชนร่วมลงทุน โดยรับทราบข้อเสนอซองที่ 4 (ข้อเสนออื่นๆ) ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส และไม่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของร่างสัญญาร่วมลงทุน เนื่องจากไม่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในการคัดเลือก และดำเนินการจัดส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา และกลุ่มกิจการร่วมค้า บีบีเอส ยอมรับผลการเจรจาและร่างสัญญาแล้ว
ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กพอ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างสัญญาการลงทุนในโครงการพัฒนา สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ขั้นตอนหลังจากนี้จะได้นำเสนอร่างสัญญาต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และกำหนดนัดเพื่อดำเนินการลงนามในสัญญาได้ในช่วงต้นเดือนมิ.ย.2563 และเริ่มโครงการก่อสร้าง และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566
อ่านเพิ่มเติม