นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกสนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอก ธัชชัย อัจฉริยาการุณ ที่ปรึกษาของ รมว.กห.พร้อมคณะ เดินทางถึง ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบสหประชาชาติ ครั้งที่ 6 (United Nations Peacekeeping Ministerial: UNPKM 2025) ระหว่างวันที่ 13–14 พฤษภาคม 2568 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีผูู้ช่วยทูตทหารให้การต้อนรับ พร้อมด้วย LO ณ ท่าอากาศยานเบอร์ลินบรันเดินบวร์ค (Flughafen Berlin Brandenburg)
การประชุมนี้จัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 80 ปี องค์การสหประชาชาติและ 1 ทศวรรษการประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยการรักษาสันติภาพ. ไทยย้ำแนวคิดสันติภาพที่ยั่งยืน โดยเน้นความยืดหยุ่น การมีส่วนร่วม (โดยเฉพาะสตรี) และทรัพยากรที่เพียงพอ เพื่อให้ภารกิจรักษาสันติภาพตอบสนองต่อสถานการณ์โลกได้ทันท่วงที
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางพัฒนาการรักษาสันติภาพในอนาคต (Future of Peacekeeping) รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือ การฝึกอบรม และการยกระดับขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติภารกิจ โดยไทยได้เข้าร่วมการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเยอรมนีและเข้าร่วมการประชุมเต็มคณะร่วมกับผู้แทนจากนานาประเทศ
วันที่ 12 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม และพลอากาศเอก ธัชชัย อัจฉริยาการุณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางพบปะนักเรียนทุนแลกเปลี่ยนทางทหารที่ศึกษาอยู่ในประเทศเยอรมนี โดยมีนักเรียนจากทั้งเหล่าทหารอากาศและทหารบกเข้าร่วม
สำหรับนักเรียนแลกเปลี่ยนทุนทหารในเยอรมนีที่ได้เข้าร่วมพบปะในครั้งนี้ ได้แก่
เหล่าทหารอากาศ
• ร.ท. คณิน บุญนุช (เตรียมทหารรุ่นที่ 61) – สาขาวิศวกรรมอากาศยานและอวกาศ
• ร.ต. สิรภพ บุญเป็ง (เตรียมทหารรุ่นที่ 62) – สาขาวิศวกรรมอากาศยานและอวกาศ
• ร.ต. ภิเษกยศ ตั้งเส้ง (เตรียมทหารรุ่นที่ 63) – สาขาวิศวกรรมอากาศยานและอวกาศ
• ร.ต. นคดนย์ บัณฑิตชูสกุล (เตรียมทหารรุ่นที่ 63) – สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
เหล่าทหารบก
• นนร. พัทธดนย์ ใจมณี (เตรียมทหารรุ่นที่ 62) – สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ
• นนร. ณภัทรภากร เสมพูล (เตรียมทหารรุ่นที่ 63) – สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในการพบปะครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สอบถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ การเรียน และปัญหาข้อขัดข้องที่นักเรียนพบเจอ โดยมีประเด็นสำคัญคือ อุปสรรคด้านภาษาเยอรมันที่นักเรียนจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนการศึกษา และประเด็นเรื่องการประดับยศในหลักสูตรของเหล่าทหารบก ซึ่งจำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทก่อนจึงจะสามารถประดับยศได้
ทั้งนี้ ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวให้โอวาทแก่นักเรียนทุกนาย โดยเน้นย้ำให้ตั้งใจศึกษา นำความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์ที่ได้รับจากประเทศเยอรมนีกลับมาพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าในอนาคต พร้อมให้คำมั่นว่า กระทรวงกลาโหมจะร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขข้อขัดข้องที่เกี่ยวข้องต่อไป
วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.25 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเยอรมนี ณ กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี (ห้อง Stesemann-Zimmer) โดยจะมีการหารือเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมความร่วมมือด้านกลาโหม ความมั่นคงในภูมิภาค และบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ
รองนายกฯ และ รมว.กห. ได้กล่าวชื่นชมเยอรมนีที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม United Nations Peacekeeping Ministerial Meeting ครั้งที่ 6(UNPKM 2025) และแสดงความยินดีต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของเยอรมนี ภายใต้การนำของ นาย Friedrich Merz พร้อมทั้งยินดีที่ รมว.กห.เยอรมนียังคงดำรงตำแหน่ง ซึ่งสะท้อนถึงเสถียรภาพทางนโยบายด้านกลาโหม
ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและเยอรมนี ที่มีมายาวนานถึง 163 ปี และมีการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่เยอรมนีเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในสหภาพยุโรป
ในการประชุม UNPKM 2025 ไทยได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติการรักษาสันติภาพภายใต้อาณัติของสหประชาชาติ และมุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพไทยให้มีความพร้อมและมาตรฐานสากล ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมภายใต้โครงการความร่วมมือไตรภาคี (Triangular Partnership Programme: TPP) ในห้วงปี 70-71 และหวังที่จะพัฒนาความร่วมมือกับเยอรมนีในการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพกำลังพลในภารกิจรักษาสันติภาพ
ความร่วมมือทางทหารระหว่างไทยและเยอรมนีมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือน การหารือแลกเปลี่ยนเฉพาะด้าน การสนับสนุนที่นั่งศึกษา และการจัดหายุทโธปกรณ์ ทั้งสองฝ่ายยินดีกับความสำเร็จในการประชุมโครงการความร่วมมือระดับทวิภาคีระหว่าง กห. กับ กห.เยอรมนี (Bilateral Annual Cooperation Programme Talks) 2568 และการประชุมหารือด้านความมั่นคงเจ้าหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการ กห. - กห.เยอรมนี (Politico - Military Staff Talks) ครั้งที่ 7
ไทยขอบคุณเยอรมนีที่สนับสนุนกำลังพลของไทยเข้ารับการศึกษาวิชาทหารในเยอรมนี ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพและความเป็นมืออาชีพทางทหารของกำลังพลไทย
ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน รอง นรม./รมว.กห.และคณะ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมระดับสูง ณ ห้อง Weltsaal กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยการหารือในหัวข้อ “การรักษาสันติภาพในอนาคต” (Future of Peacekeeping) และตามหัวข้อ “ การปฏิรูปการรักษาสันติภาพเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (Peacekeeping Reform: More Effective and Safer Peacekeeping)
และการประชุมในหัวข้อ “มุมมองระดับโลกเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพในอนาคต (Global Perspectives on The Future of Peacekeeping) ภายหลังการหารือ คณะได้รับเกียรติร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ ณ กระทรวงกลาโหมเยอรมนี เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ
สำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหมเผย การหารือในหัวข้อเรื่อง “การรักษาสันติภาพในอนาคต” (Future of Peacekeeping) ตามด้วยหัวข้อ“ การปฏิรูปการรักษาสันติภาพเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (Peacekeeping Reform: More Effective and Safer Peacekeeping)
และการประชุมในหัวข้อ “มุมมองระดับโลกเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพในอนาคต (Global Perspectives on The Future of Peacekeeping) โดยที่ประชุมมีทิศทางในการมองอนาคตของการรักษาสันติภาพ ควรต้องมีการปฏิรูปด้านภารกิจให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลง โดยต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอและต้องมีการสนับสนุนทางการเมือง
ภายหลังการหารือ คณะได้รับเกียรติร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ และมีการจัดแสดงยุทโธปกรณ์ของกองทัพ เยอรมนี ณ กระทรวงกลาโหมเยอรมนี เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ
ทั้งนี้ วันที่ 14 พฤษภาคม 2568 เวลา 9.00 น . (ตามเวลาท้องถิ่น) รอง นรม./รมว.กห. และคณะ เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะเพื่อให้คำมั่น ในหัวข้อ “การฝึกอบรมและการเสริมสร้างขีดความสามารถ ความเป็นหุ้นส่วน และประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง” (Training and Capacity Building, Partnerships, Cross-Cutting Issues) ซึ่งเน้นย้ำบทบาทของไทยในเวทีความมั่นคงโลก
ในช่วงบ่าย ประชุมในหัวข้อ “ ขีดความสามารถสำหรับรูปแบบภารกิจในปัจจุบันและอนาคต (capabilities for Current and New Mission Models) โดยเป็นการจัดหารือกลุ่มย่อยแบบคู่ขนาน
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางพัฒนาการรักษาสันติภาพในอนาคต (Future of Peacekeeping) รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือ การฝึกอบรม และการยกระดับขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติภารกิจ โดยไทยได้เข้าร่วมการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเยอรมยนี และเข้าร่วมการประชุมเต็มคณะร่วมกับผู้แทนจากนานาประเทศ
ที่มา : สำนักงานโฆษก กระทรวงกลาโหม