ไม่พบผลการค้นหา
ภาพที่ออกมาพร้อมๆกับการเยือนภาคใต้ของการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรรอบนี้คือ การปะทะระหว่างผู้ชุมนุมต้านโรงไฟฟ้าเทกับเจ้าหน้าที่ แล้วเกิดอะไรขึ้น?

ในขณะที่สังคมกำลังถกคำถามนางงามว่าอะไรคือ "Social Movement"การเดินเท้าจำนวน 75 กิโลเมตร ของกลุ่ม คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ให้หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินเนื่องจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 และประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร กลับมีการปะทะและจับกุมแกนนำจนโกลาหล

ล่าสุดองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน 36 องค์กร ออกแถลงการณ์ เรียกร้องรัฐหยุดใช้อำนาจจับกุม ชาวเทพาที่เดินเท้าคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินและประณามว่าผู้นำในยุคนี้ยังมีอคติกับกลุ่มที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ในข้อกล่าวหาเดิมๆ คือ ขัดขวางการพัฒนาประเทศและถ่วงความเจริญ

ค้านรัฐบาลเลือกตั้ง28รั้งไม่ถูกจับ พอรัฐบาลคสช.กลับโดน

ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวีได้พูดคุยกับ นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินถึงสถานการณ์ล่าสุดว่าวันนี้ (27 พ.ย.) ชาวบ้านตัดสินใจเดินทางกลับบ้านก่อน เนื่องจากมีเงินไม่พอประกันตัวแกนนำคนละ 90,000บาท รวมแล้ว 1.3 ล้านบาท ซึ่งเมื่อประกันออกมาก็จะต้องประชุมหารือแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป

เมื่อถามถึงว่าชาวบ้านในพื้นที่ไม่กลัวกับอำนาจคสช.หรือไม่? ประสิทธิ์ชัย ยอมรับว่าก็มีความกลัวแต่จำเป็นต้องออกมาต่อสู้เรียกร้องเพื่ออนาคตลูกหลาน เพราะเกรงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากจัดสร้างโรงไฟฟ้าเทพา ประเด็นที่ชาวบ้านหวั่นใจคือมลภาวะที่จะเกิดจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวที่มีผลวิจัยชี้ว่าจะส่งผลไปไกลถึง 100 กิโลเมตร อีกทั้งเรื่องของต้องอพยพถิ่นฐานจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและท่าเรืออีกด้วย

ประสิทธิ์ชัย กล่าวว่าไม่ได้แค่คัดค้านแต่มีการเสนอทางเลือกมาโดยตลอดทั้งในเรื่องของพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น ไฟฟ้าพลังงานลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือจังหวัดกระบี่เองก็สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกได้ถึง 1,600 เมกกะวัตต์ ประสิทธิ์ชัยกล่าวว่าต้องเข้าใจว่าปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้มีมากจนเหลือสำรองเพียงพออยู่แล้ว

ประสิทธิ์ชัย หนูนวล.jpg


ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 4.0 สำหรับประสิทธิ์ชัยชี้ว่าไม่สามารถเป็นไปได้จริง เพ���าะรัฐบาลกำลังสนับสนุนอุตสาหกรรมหนักที่ใช้พลังงานเยอะ ไม่ใช่อุตสาหกรรมที่เน้นใช้เทคโนโลยีทันสมัย ซึ่งโครงการเศรษบกิจพิเศษในพื้นที่ภาคใต้ ทางชาวบ้านอยากจะคัดค้านเนื่องจากอยากจะพัฒนาไปในด้านของการท่องเที่ยว การประมง และการเกษตร มากกว่าเป็นฐานโรงงานอุตสาหกรรม

ประสิทธิ์ชัยทิ้งท้ายว่า การต่อรองกับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทำได้ยาก ชาวบ้านเพียงต้องการยื่นหนังสือคัดค้านกลับถูกจับกุม แต่สมัยที่เป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งอย่างน้อยต้องได้พูดคุยร่วมกัน เพื่อนำเสนอข้อมูล และเคยคัดค้านโรงไฟฟ้ามาแล้ว 2ครั้งก็ไม่เคยถูกจับแต่อย่างใด ก็หวังกระแสสังคมโลกที่มุ่งสู่ยุค No Coal หรือปลอดถ่านหิน เป็นอีกแรงในการกดดันรัฐบาลไทยด้วยเช่นกัน