ย้อนกลับไปปี 2562 ที่ปัญหาฝุ่นพิษเริ่มปลิวว่อน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองผู้ว่าฯกทม. ได้ประชุมหัวหน้าหน่วยงานของกรุงเทพฯ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาครั้งที่1/2562 เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2562 ผลสรุปที่ได้ คือกับชับสำนักงานเขตแต่ละแห่งควบคุมพื้นที่ก่อสร้าง ประสานกรมขนส่งทางบกตรวจสอบรถปล่อยควันดำอย่างเข้มงวด แนะนำจราจรจัดการให้เกิดความคล่องตัวเพื่อขจัดมลพิษฝุ่นจากรถยนต์ดีเซล สั่งฉีดน้ำไล่รายวัน สั่งปิดโรงเรียน 3 วัน
ก่อนนัดประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2562 มีการสั่งการเพิ่มเติมให้สำนักอนามัยตระเวนให้ความรู้กับชุมชน แนะนำให้ใส่หน้ากาก พร้อมจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเขตพื้นที่ กทม.และปริมณฑล 1 ปีผ่านไปไม่มีอะไรดีขึ้น ย่างสู่ต้นปี 2563 ฝุ่นพิษไม่จางหายแถมยิ่งปลกคลุม
แม้ผู้ว่าฯ กทม. เข้าประชุม ฉีดน้ำ สั่งหยุดเรียน ตรวจควันดำรถยนต์ทุกอย่างเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ ชาวกรุงเทพฯ ยังไม่ได้เลือกตั้งบุคคลที่มีความสามารถเข้ามาบริหารจัดการแบบมืออาชีพ
ทั้งยังไม่อาจหวังพึ่งนายกฯ 84,000 เซลล์สมอง ที่ให้สวดมนต์ภาวนา ล้างฝุ่นในใจ โยนบาปให้ประชาชนก่อนสั่งสอนให้ดูแลตัวเองปัญหาฝุ่นพิษทุกฝ่ายต่างรับรู้ต้นตอเกิดจาก 3 ปมหลัก คือ ปริมาณรถยนต์โรงงานอุตสาหกรรม และการเผาป่า ทว่าทั้งหมดไม่เคยได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม จากรัฐบาลสืบทอดอำนาจตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีเพียงการแก้ผ้าเอาน่ารอดเมื่อถูกประณามรายวัน ด้วยการแก้ปัญหาเบื้องต้น ควบคุมพื้นที่ที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง เช่น พื้นที่ก่อสร้างพื้นที่กลางแจ้งที่ก่อให้เกิดควันไฟ แต่แกนกลางสำคัญของปัญหาไม่เคยได้รับการแก้ไข
วิสัยทัศน์ต่างประเทศ ลดรถยนต์เป็นระบบ
ทั้งที่ปัญหาเรื่องฝุ่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ของมวลมนุษยชาติหลายสังคมในต่างประเทศต่างเคยเผชิญและวางแนวทางการรับมืออย่างยั่งยืนไว้ให้ดูเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
ปารีส - ควบคุมปริมาณรถยนต์ด้วยการเวียนการใช้รถส่วนบุคคลตามทะเบียนรถเลขคู่-คี่ พร้อมให้บริการขนส่งสาธารณะโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส่วนช่วงสุดสัปดาห์ห้ามใช้รถส่วนบุคคลย่านสำคัญทางประวัติศาสตร์
เดลี – ควบคุมปริมาณการใช้รถเครื่องยนต์ดีเซลของแท็กซี่นับหมื่นคัน หมุนเวียนการใช้รถตามทะเบียนเลขคู่-คี่
เนเธอแลนด์ - มีเป้าหมายการลดใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้น้ำมันภายในปี 2025พร้อมส่งเสริมรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้จักรยานให้มากยิ่งขึ้น
นครซูริค – ลดความแออัดบนถนนด้วยด้วยการกำหนดโควตารถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้ในเมือง ควบคุมปริมาณรถยนต์ที่เข้า-ออกเมืองแต่ละครั้ง พร้อมส่งเสริมการขนส่งทางรางและทางเท้ามากยิ่งขึ้น
โคเปนเฮเกน - ตั้งเป้าหมายภายในปี 2025 จะกลายเป็นเมืองปลอดสารคาร์บอน ส่งเสริมรณรงค์ให้ใช้จักรยานแทนรถยนต์อย่างต่อเนื่อง
เฮลซิงกิ – วางแผนลดความหนาแน่นบนท้องถนนด้วยการลงทุนการจัดบริการสาธารณะให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด กระทั่งประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ในการเดินทาง ภายในปี 2050
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเหลว - อินโดฯ เฉียบ
ส่วนพี่ไทย มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ยังแก้แผนแม่บทการปฏิรูปไม่แล้วเสร็จ เดี๋ยวเขียนด้วยมือเดี๋ยวลบด้วยเท้า ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เมื่อส่องดูเพื่อนบ้านร่วมภูมิภาคอาเซียนอย่าง 'อินโดนีเซีย' หลังขับกองทัพพ้นการเมือง สังคมก็มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ปัญหาฝุ่นพิษถูกจัดการการแก้ไขระบบขนส่ง ควบคุมปริมาณรถยนต์ ด้วยการกำหนดวิ่งวันคู่ - วันคี่ได้ผลทันควันสถานการณ์ดีขึ้นทันตาเห็น นอกจากนี้ ยังมีแนวทางอื่นๆที่หลายประเทศใช้บรรเทาฝุ่น
ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นภาษีรถยนต์อายุเกิน 7 ปี – เพื่อลดจำนวนรถเก่าที่เครื่องยนต์สึกหรอทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก
การเก็บค่าผ่านทางย่านกลางเมือง – เพื่อลดความคั่บคั่งบนท้องถนนใจกลางเมืองในชั่วโมงเร่งด่วน
การใช้ระบบรถร่วม - พาหนะหนึ่งคันควรมีผู้โดยสารมากกว่าหนึ่งคนที่ใช้เส้นทางเดียวกัน
เมื่อยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ชาวกรุงคงทำได้แค่บรรเทาปัญหา ดูแลตัวเองตามแนวทางการป้องกันจากคำแนะนำ ของกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกรมอนามัย คือ
1.การป้องกันสำหรับประชาชนทั่วไป – ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากจำเป็นควรสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
2.การป้องกันสำหรับเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว - จำเป็นต้องสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ไม่ควรออกพื้นที่กลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยเกี่ยวกับหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ ควรเตรียมยาให้พร้อมเสมอ
แล้วเมื่อย่างสู่ปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564 ก็ค่อยกลับมาพิจารณาปัญหาเหล่านี้กันอีกครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง