ไม่พบผลการค้นหา
เนื่องจากราคาค่าโดยสารสูง ประชาชนยังใช้รถส่วนตัว แนะรัฐพิจารณาแก้สัญญาแก้ราคาการเปลี่ยนเส้นทาง เหมาจ่ายทุกสายเพดานราคาเดียวกัน ขณะเดียวกันต่างจังหวัดใช่รถส่วนตัวมากกว่าคน กทม. ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากกว่า

ในเวทีคุยเรื่องถนนผ่านระบบซูม เรื่อง "รถโดยสารไทย ความเร้าใจที่คุณต้องจ่าย" สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) สุเมธ องกิตติกุล’ ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะในประเทศ ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ ส่วนใหญ่ความหนาแน่นและรูปแบบบริการ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า แท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง หรือแม้กระทั่งเรือโดยสาร กระจุกตัวอยู่ใน กทม. พื้นที่ใจกลางเมืองและเขตเศรษฐกิจเป็นหลัก ขณะที่ในเขตพื้นที่รอบนอก เช่น มีนบุรี หนองจอก รวมถึงเขตชานเมือง ความหนาแน่นของเส้นทางบริการจะค่อยๆ ลดลง คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้รถส่วนตัวหรือนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทำให้ต้องเสียค่าเดินทางค่อนข้างมาก

1612017569245.jpg

สุเมธ กล่าวว่า ในต่างจังหวัด จากการศึกษารูปแบบบริการขนส่งสาธารณะ 6 จังหวัดทั่วประเทศ พบเส้นทางวิ่งให้บริการรถสาธารณะน้อยมาก แม้ในจังหวัดหัวเมืองที่มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ขอนแก่น และเชียงราย ทั้งสองแห่งมีเส้นทางรถเมล์น้อยมาก ไม่ครอบคลุมการสัญจรไปยังพื้นต่างๆ คนส่วนใหญ่จึงต้องใช้รถส่วนตัวเป็นหลัก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ เนื่องจากไม่มีทางเลือกอื่นในการเดินทาง สอดคล้องกับข้อมูลการครอบครองรถ ที่พบว่าคนต่างจังหวัดมีรถส่วนตัวมากกว่าคน กทม.

“เนื่องจากคน กทม. มีทางเลือกในการเดินทาง ด้วยรถขนส่งสาธารณะหลากหลายรูปแบบ ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่าภูมิภาคอื่น เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรและขนาดเศรษฐกิจ สัดส่วนการตายอยู่ที่ 15 คนต่อแสนประชากร แต่ในต่างจังหวัดที่มีรถสาธารณะน้อยมาก เพราะรัฐไม่อุดหนุนเอกชนในการวิ่งบริการ เมื่อไม่คุ้มทุนจึงไม่มีใครกล้าลงทุน สัดส่วนการตายจึงสูงมาก เช่น จ.ขอนแก่น อยู่ที่ 29 คนต่อแสนประชากร ส่วนที่ จ.เชียงราย อยู่ที่ 39 คนต่อแสนประชากร เป็นต้น” สุเมธ กล่าว

1612017633633.jpg

สุเมธ กล่าวว่า แม้คน กทม. จะมีทางเลือกในการเดินทาง ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่หลากหลาย แต่พบปัญหาอัตราค่าโดยสารที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า เพราะคน กทม.ที่มีรายได้ปานกลางลงไปน้อย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางรถสาธารณะยังสูงอยู่ ทำให้นิยมขี่รถจักรยานยนต์มเพราะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ซึ่งไม่ตอบโจทย์กับการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ เพราะไม่ได้ลดการใช้รถส่วนตัว ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอ มีแนวทางพิจารณาเรื่องค่าโดยสารให้ถูกลงอาจต้องแก้สัญญา โดยกำหนดเพดานสูงสุดของราคาค่าโดยสาร โดยไม่คิดค่าเปลี่ยนสาย เชื่อว่าจะช่วยทำให้ค่าโดยสารถูกลงได้ และอยู่บนพื้นฐานว่ารถไฟฟ้าสามารถดำเนินกิจการไปได้ โดยไม่ขาดทุนมากนัก เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถสาธารณะมากขึ้น 

1612017663958.jpg