ไม่พบผลการค้นหา
ศาลพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 14 คน วางหลักทรัพย์คนละ 1 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามชุมนุมทางการเมืองโดยเด็ดขาด

นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เปิดเผยว่า ล่าสุด ทนายความได้ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวชั่วคราว 14 กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โดยใช้เงินสดคนละ 50,000 ถึง 100,000 บาท

ส่วนผู้ถูกควบคุมตัวอีก 1 คน คือนายวิโรจน์ โตงาม ขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องบัตรประชาชน เนื่องจากเป็นบุคคลไม่มีหลักแหล่ง และไม่มีบัตรประชาชน จึงไม่สามารถยื่นขอประกันตัวได้ 

ทั้งนี้ ศาลได้พิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 15 คน โดยใช้เวลาในการพิจารณา นาน 1 ชั่วโมง จึงอนุญาตตามคำร้อง ให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้ง 15 คน ได้ โดยให้วางหลักทรัพย์คนละ 1 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามชุมนุมทางการเมืองโดยเด็ดขาด และต้องมารายงานตัวต่อภายอีก 12 วันข้างหน้า ขณะที่ทีมทนายความเตรียมยื่นอุทธรณ์คำขอฝากขังของเจ้าพนักงานสอบสวน ที่ศาลยกคำร้องคำขอคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเห็นว่าเจ้าหน้าที่สอบสวนมีอำนาจฝากขังตามกฎหมาย

คนอยากเลือกตั้ง -ศาลอาญา

'โรม' ยืนยันการชุมนุมโดยสันติ ไม่ขัดกฎหมาย แต่ขัดคำสั่ง คสช.

นายรังสิมันต์ โรม กล่าวหลังจากได้รับการปล่อยตัว ว่าสิ่งที่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งทำ ไม่ได้ขัดต่อกฎหมายและเป็นการกระทำตามสิทธิหน้าที่พลเมืองในรัฐธรรมนูญ เช่น การชุมนุมในวันที่ 21-22 พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นไปอย่างสันติ ไม่ได้ก่อความเดือดร้อน และไม่ได้ขัดขวางการจราจร แต่เจ้าหน้าที่รัฐกลับปิดถนนเอง

นอกจากนี้ คำสั่งของศาลปกครองกลางไม่ได้กระทบกับเนื้อหาของการชุมนุมว่าขัดต่อกฎหมา ยแต่เป็นการสร้างความรับรู้ที่บิดเบือนของ คสช. ต่อประชาชน

ส่วนนางสาวณัฏฐา มหัทธนา ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เหตุการณ์ที่หน้ายูเอ็นเป็นการมอบตัวตามข้อตกลงระหว่างแกนนำกับเจ้าที่ตำรวจ หลังอ่านแถลงการณ์ แต่เจ้าพนักงานสอบสวนกลับตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นการจับกุมตัว และคุมขังเพิ่มเติม เพื่อรอเพิ่มข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ซึ่งมีโทษน้อย และถือว่าเป็นการคุมขังโดยมิชอบ อีกทั้งระหว่างการพิจารณาคำร้องขอคัดค้านการฝากขัง ทนายของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งไม่มีโอกาสได้รับฟังคำพิจารณาของศาล

คนอยากเลือกตั้ง -ศาลอาญาคนอยากเลือกตั้ง -ศาลอาญาคนอยากเลือกตั้ง -ศาลอาญา

แกนนำคนอยากเลือกตั้งเตรียมรายงานตัว สน.ปทุมวัน 25 พ.ค. คดี MBK39

ทั้งนี้ กลุ่มแกนนำคนอยากเลือกตั้ง ระบุว่า หลังจากนี้จะประชุมกันถึงการเคลื่อนไหวในวันที่ 21-22 พ.ค. ที่ผ่านมา และจะยังไม่หยุดการทำกิจกรรมทางการเมือง เนื่องจากไม่ผิดกฎหมาย และไม่เป็นอันตรายต่อประชาชนตามที่ศาลสั่งห้าม ขัดแต่เพียงคำสั่ง คสช. ซึ่งแกนนำฯ ไม่คิดว่าเป็นกฎหมายที่ชอบธรรมอยู่แล้ว

พร้อมย้ำว่า นี่ไม่ใช่วันสุดท้ายของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง และจะเดินหน้าต่อไปจนกว่าจะมีประชาธิปไตย

ส่วนพรุ่งนี้จะไป สน.ปทุมวัน ในคดีการชุมนุม MBK39 เวลา 10.00 น.

คนอยากเลือกตั้ง -ศาลอาญา

ปล่อยตัวชั่วคราว หลังศาลยกคำร้องคัดค้านฝากขัง

ขณะที่ ก่อนหน้านี้ เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เปิดเผยว่า ศาลอาญายกคำร้องคัดค้านฝากขัง โดยไม่เปิดโอกาสให้ทนายความเข้าไปชี้แจง ซึ่งเอกสารของเจ้าพนักงานสอบสวนที่ยื่นต่อศาลระบุว่า ผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ทั้ง 15 คน ไม่มีที่พักเป็นหลักแหล่ง และกระทำความผิดหลายกรณี ได้แก่ การยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย และขัดคำสั่ง คสช. อีกทั้งผู้ต้องหาบางคนกระทำผิดซ้ำหลายครั้ง แม้จะมีการเรียกเตือนแล้วก็ตาม ถือว่าเป็นอาชญากร 

ด้านทนายความชี้แจงว่า ได้เตรียมเอกสารมาขอคัดค้านการฝากขัง โดยยืนยันว่าผู้ต้องหามีที่พักอาศัยเป็นหลักแหล่ง แล้วเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเอง และเจ้าพนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาที่เกินจริง เนื่องจากการกระทำของแกนนำ เป็นไปตามหลักสิทธิพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และกติกาสากลที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่

อีกทั้ง นายรังสิมันต์ โรม ยอมให้ทนายความยื่นประกันตัว เนื่องจากมีประชาชนที่ไม่ใช่แกนนำ ถูกจับควบคุมตัวร่วมกับแกนนำมาด้วย 3 คน โดยระบุว่า แกนนำไม่กลัวติดคุก แต่ต้องการให้บ้านเมืองก้าวหน้า และเป็นประชาธิปไตย

'ณัฐวุฒิ' ให้กำลังใจ ปัดกระแสข่าวแกนนำคนอยากเลือกตั้งพบ นปช. ก่อนชุมนุมใหญ่

ขณะที่ เมื่อเที่ยงวันที่ผ่านมา นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ พร้อมด้วยแกนนำ นปช. เดินทางมาให้กำลังใจแกนนำ 'กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง' ทั้ง 15 คน ที่อยู่ในกระบวนการไต่สวนของศาลอาญา และรอผลการพิจารณาว่าจะได้ประกันตัวหรือไม่ 

พร้อมกันนี้ นายณัฐวุฒิ ปฏิเสธว่า ตนไม่เกี่ยวข้องกับกระแสข่าวแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งเข้าพบแกนนำ นปช. ก่อนการชุมนุมใหญ่ แต่แกนนำมาเป็นเพียงแขกรับเชิญในรายการทางช่อง Peace TV เท่านั้น

ส่วนกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าตัวแทนพรรคการเมืองหลายคนมาให้กำลังใจแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เป็นไปเพื่อสร้างคะแนนเสียง สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ตนเห็นว่าไม่ควรไปตั้งแง่ และมีอคติว่าใครมาให้กำลังใจแกนนำฯ ที่ถือว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล เพราะถ้าหาก คสช. อยู่มา 4 ปีแล้ว แต่ยังมองว่าใครเป็นฝ่ายตรงข้ามก็เท่ากับว่าการรัฐประหารเสียของ ไม่สร้างความปรองดองได้จริง

ดังนั้นส่วนตัวเห็นว่ากลุ่มคนอยากเลือกตั้งใจกว้างพอที่จะให้มีการเลือกตั้ง เพราะผู้มีอำนาจในรัฐบาลเองก็อาจจะกลับมาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และอยู่ในอำนาจต่อไปได้ด้วยซ้ำ หากประชาชนเลือก และยังเชื่อว่าไม่มีใครต้องการลุกขึ้นมาเผชิญหน้าหรือทำให้เกิดเหตุการวุ่นวาย ดังนั้นหวังว่าวันนี้แกนนำทั้ง 15 คนจะได้รับอิสรภาพ

'ปริญญา' เตือน คสช. ขังคนอยากเลือกตั้ง ระวังกระแสตีกลับ

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ และรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงตำรวจจับกุมแกนนำคนอยากเลือกตั้ง ว่า รัฐบาล คสช.ได้อยู่มา 4 ปีแล้วเท่าเวลาของรัฐบาลเลือกตั้ง หากรัฐบาลปกติจะมีการเลือกตั้งทุก 4 ปี การมาทวงโรดแมปเลือกตั้งจึงเป็นสิทธิของประชาชนเจ้าของประเทศที่จะถามได้ 

"ความผิด ฐานชุมนุมเกิน 5 คนขึ้น ไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นความผิดเพราะ คสช. บอกว่าผิด ตามคำสั่ง คสช.ที่ห้าม สิ่งที่ควรพูด ไม่ใช่เรื่องของการให้ประกันตัว แต่จะต้องไม่ควรถูกฝากขังเลย จะผิดจะถูกก็สู้คดีกันไป ด้วยความเคารพต่อ คสช. ตัวเลขผู้ชุมนุมก็ไม่ได้สูง แต่ผลของการชุมนุมออกมาเยอะ เพระาเจ้าเหน้าที่ไปขัดขวางไปจับกุม ก็เลยเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา หากปล่อยให้แสดงออกตามสมควร ไปยื่นหนังสือ เรื่องก็คงไม่ใหญ่โต หากทำไม่ดี จะเกิดกระแสตีกลับมายังคสช.ได้" นายปริญญา ระบุ


อ่านเพิ่มเติม