นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงเหตุผลการแก้ไขมาตรา 2 ของร่างกฎหมายดังกล่าว ที่ให้มีผลบังคับใช้ 90 วันหลังมีการประกาศราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 กำหนดให้พรรคการเมืองใหม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้วันที่ 1 มีนาคม 2561 และพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิมดำเนินกิจกรรมได้วันที่ 1 เมษายน 2561
ขณะที่คำสั่ง คสช. ห้ามชุมนุมทางการเมือง และห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองยังไม่ยกเลิก อีกทั้งยังมีข้อกำหนดตามกฎหมายพรรคการเมืองให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมืองมาไม่น้อยกว่า 90 วัน ดังนั้น กรรมาธิการเสียงข้างมากจึงเกรงว่าจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ทั้งเรื่องระยะเวลา และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ส่วนกรรมาธิการเสียงข้างน้อย สงวนคำแปรญัตติไว้ 2 กลุ่ม คือ ต้องการให้เลื่อนการบังคับใช้ไปอีก 120 วัน และยืนตามร่างเดิมของ กรธ.
ด้านนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ยืนยัน กรรมาธิการไม่ได้รับใบสั่ง แต่มีบางเหตุผลที่พูดไม่ได้ และไม่อาจคาดการณ์ได้ เหตุผลหนึ่งเป็นเรื่องของความสงบเรียบร้อยในประเทศที่ยังไม่พร้อมเข้าสู่การเลือกตั้ง
ร่างกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส. มีจำนวน 78 มาตรา กรรมาธิการได้มีการแก้ไข 30 มาตรา เช่น มาตรา 35 กรรมาธิการได้ปรับเพิ่มเรื่องของการตัดสิทธิ์การเลือกตั้งโดยผู้ที่ไม่ใช้สิทธิ์หากไม่มีเหตุอันควรนั้น จะไม่สามารถเข้ารับราชการรัฐสภา
และไม่สามารถสมัครเป็นข้าราชการการเมืองได้ ส่วนการตัดสิทธิ์อื่นๆทั้ง การตัดสิทธ์เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารท้องถิ่น / กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ยังคงเดิม /โดยครั้งแรกถูกจำกัดสิทธิ์เป็นระยะเวลา 2 ปี และ หากมีครั้งที่ 2 ก็จะถูกจำกัดสิทธิ์เป็นเวลา 4 ปี
มาตรา 75 วงเล็บ 3 ในเรื่องของการจัดมหรสพในการหาเสียงเลือกตั้งนั้น ยังคงสามารถดำเนินกรได้เช่นเดิม แต่งบประมานนั้นต้องอยู่ในส่วนของงบที่ใช้หาเสียงเลือกตั้ง และมาตรา 87 ขยายเวลาการเลือกตั้งเป็น 7.00 น. - 17.00 น.