การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการประกาศเมื่อวันพฤหัสบดี (20 เม.ย.) หลังการประชุมระหว่างประธานาธิบดีและ ส.ส.พรรครัฐบาล ซึ่งมีมติให้คืนร่างกฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงนี้ กลับไปแก่รัฐสภาของชาติ “พร้อมข้อเสนอสำหรับการปรับปรุง” เนื้อหาของร่างกฎหมาย
เดนิส ฮัมซัน โอบูอา หัวหน้าวิปรัฐบาลยูกันดากล่าวว่า มูเซเวนีได้ตกลงในหลักการที่จะลงนามในร่างกฎหมาย “ก่อนที่จะเสร็จสิ้น เรายังเห็นพ้องกันว่าร่างกฎหมายจะถูกส่งคืน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเสริมกำลัง และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทบัญญัติบางประการ ตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเรา” โอบูอากล่าวในการแถลงข่าวหลังการประชุม
โอบูอากล่าวว่า มูเซเวนีจะจัดการประชุมในวันอังคาร (25 เม.ย.) กับคณะกรรมการด้านกฎหมายและกิจการรัฐสภาเพื่อร่างการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ทั้งนี้ มูเซเวนีมีเวลา 30 วันในการลงนามกฎหมายที่ต่อต้าน LGBTQ ที่ส่งกลับไปให้รัฐสภาแก้ไข หรือยับยั้งและแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายนี้อาจผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้จริง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากประธานาธิบดี หากมูเซเวนีส่งร่างกฎหมายดังกล่าวคืนสู่รัฐสภา 2 ครั้ง
ร่างกฎหมายต้าน LGBTQ ของยูกันดาในรูปแบบปัจจุบัน มีการกำหนดโทษจำคุกและโทษจำคุกตลอดชีวิตสำหรับเพศทางเลือก เป็นเวลาสูงสุด 14 ปีสำหรับความ “พยายาม” ในการมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ และโทษจำคุก 20 ปีสำหรับ “การจัดหางาน การเลื่อนตำแหน่ง และเงินทุน” ของ “กิจกรรม” ของคนรักเพศเดียวกัน
ร่างกฎหมายฉบับก่อนหน้านี้ ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติอย่างกว้างขวาง และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญของยูกันดา ได้ตัดสินให้ร่างกฎหมายเป็นโมฆะด้วยเหตุผลด้านกระบวนการ ทั้งนี้ ยูกันดาเป็นประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาตะวันออก ที่นับถือศาสนาคริสต์แบบอนุรักษ์นิยม โดยการมีเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศมีโทษถึงจำคุกตลอดชีวิตอยู่แล้วในยูกันดา
ร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่ง โวลเกอร์ เติร์ก หัวหน้าสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวถึงเมื่อเดือนที่แล้วว่า “น่าตกใจและเลือกปฏิบัติ” ได้รับการลงมติเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยูกันดาจำนวน 389 คนในวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ มูเซเวนีอ้างว่ารัฐบาลของเขาพยายามต่อต้านความพยายามของตะวันตก ในการ "ทำให้ (LGBTQ) เป็นเรื่องปกติ" โดยประธานาธิบดียูกันดาเรียกพฤติกรรมรักเพศเดียวกันว่าเป็น "การเบี่ยงเบน" พร้อมระบุว่า “ประเทศทางตะวันตกควรหยุดเสียเวลาของมนุษยชาติ โดยพยายามยัดเยียดการปฏิบัติให้กับคนอื่น”
ที่มา: