ไม่พบผลการค้นหา
ประชุมร่วมรัฐสภาถกร่างแก้ รธน.ภาคประชาชน ส.ว.ต้านเลิก ส.ว.เหลือสภาเดี่ยว ชี้มี ส.ส.อย่างเดียวเป็นเผด็จการ ไม่เอาด้วยเลิกนิรโทษกรรมผลพวงรัฐประหาร อัดเสนอร่างแก้ รธน.หวังผลยุบทิ้งศาล รธน. แทรกแซงศาล - 'พิธา' ฟาดนิยามประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่่ให้อำนาจสูงสุดกับประชาชน เลือกตั้งได้แค่ครั้งคราว

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 16 พ.ย. 2564 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาเรื่องด่วน ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช .... (ยกเลิกมาตรา 65 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 7 มาตรา 159 วรรคแรก เพิ่มมาตรา 193/1 มาตรา  193/2 แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 11 หมวด 12 มาตรา 256 หมวด16 ยกเลิกมาตรา 269 มาตรา 270 มาตรา 271 มาตรา 272 และมาตรา 279) ฉบับ 'รื้อระบอบประยุทธ์' ที่นำโดยพริษฐ์ วัชรสินธุ ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในนามกลุ่ม Re-Solution จำนวน 135,247 คนเป็นผู้เสนอ

เมื่อเวลา 16.30 น. มงคลกิตต์ สุขสินธานนท์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ อภิปรายว่า เดิมทีตนเห็นว่าควรมี ส.ว.ไว้กลั่นกรองกฎหมาย แต่ ส.ว.ต้องยึดโยงกับประชาชน ไม่ใช่ ส.ว. 250คนชุดปัจจุบันที่ยึดโยงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ ส.ว.กลุ่มนี้มีความซื่อสัตย์ภักดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ยกตัวอย่างเมื่อ 14 มิ.ย. 2564 มีการประชุมวุฒิสภา พล.อ.ประยุทธ์ได้ถามส.ว. 250 คนมีใครไม่เชื่อมั่นตนหรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีใครยกมือเลย ถ้าอย่างนั้น อยากเรียนให้นายกฯ ไปถามประชาชนหรือเปิดคอมเมนต์เฟซบุ๊ก พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะรู้ว่าประชาชนรักท่านแค่ไหน

"ส.ว. 250 คนไมมีส่วนใดยึดโยงประชาชน ร่างที่เสนอให้ยกเลิกไปก็เห็นด้วย เพราะประหยัดงบประมาณอีกทางหนึ่ง แต่ถ้าให้ดีถ้ายกเลิกไปแล้ว ควรจะเพิ่ม ส.ส.อีก 250 คน อย่างน้อยก็ยึดโยงกับประชาชน"

มงคลกิตติ์ ระบุว่า เชื่อว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ส.ส.และรัฐบาลจะไม่ให้ผ่านวาระที่ 1 แต่ตนให้ผ่านในวาระหนึ่ง ตนการันตีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้

มงคลกิตติ์ ไทยศรีวิไลย์ ประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 74997BD4-21B0-49F5-AF10-FF3536FB6821.jpeg


เฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกวุฒิสภา 609CA8F2-59E4-441F-896A-DB57F2F83867.jpeg

ส.ว.เฉลิมชัย ชี้สภาเดียวเป็นเผด็จการ ค้านยกเลิกนิรโทษกรรม คสช.

เฉลิมชัย เฟื่องคอน ส.ว. อภิปรายว่า การยกเลิกวุฒิสภา เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎร ยังไม่เห็นด้วย จะกลายเป็นเผด็จการสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร เป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่สภาผู้แทนราษฎร การมีระบบสองสภา ส.ส.และส.ว.มีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว จะได้ตรวจสอบกลั่นกรองกฎหมายอย่างรอบคอบรัดกุม และเป็นอันตรายที่สุุุดของบ้านเมืองหากให้มีสภาเดียว ที่บอกว่ามีสภาเดียวออกกฎหมายเรียบง่ายทันสมัย ตนอยากจะถามว่ามี ส.ว.แล้วออกกฎหมายไม่ทันสมัยอย่างไร คำว่ารวดเร็ว จะไม่รอบคอบ กฎหมายออกมาใช้บังคับคนทั่วไปต้องตรวจสอบ การมีสภาเดียวไม่ใช่ทางออกของประเทศ เป็นเผด็จการ ควรมี ส.ว.คอยกลั่นกรองการออกกฎหมาย

เฉลิมชัยระบุว่าตนเห็นว่าการกำหนดให้รัฐประหารเมื่อ 22 พ.ค. 2557 เป็นโมฆะนั้นตนไม่เห็นด้วย เพราะคงเป็นไปไม่ได้จะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย ฟ้องร้องกัน ส่วนการต่อต้านรัฐประหารนั้น ที่กำหนดไม่ให้ศาลพิพากษารับรองการรัฐประหาร ตนเห็นด้วย ส่วนมาตรา 260 กรณีมีการรัฐประหารแย่งชิงอำนาจจากประชาชนนั้นให้ดำเนินคดีต่อคณะบุคคลนั้นโดยปราศจากอายุความ ตนเห็นด้วย

ส่วนการยกเลิกเลิกนิรโทษกรรม คสช.ที่รับรองความชอบของประเทศ และรับรองการกระทำใช้บังคับก่อนใช้รัฐธรรมนูญหรือใช้บังคับต่อมาไม่เห็นด้วย ในการออกประกาศ คำสั่ง คสช. 5 ปีมีการออก 1,000 กว่าฉบับ ถูกบ้างเป็นส่วนใหญ่ ผิดบ้างส่วนน้อย ตนคิดว่าคงลืมไปก่อนแล้วตั้งต้นกันใหม่ เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้ว นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีควรปฏิบัติตนอย่างไรไม่ให้ทุจริตคอร์รัปชัน 

พิธา รัฐสภา ก้าวไกล BC0F-6D4D87A68A1A.jpeg

'พิธา' ชี้ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ไม่ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ อำนาจสูงสุด

เวลา 19.10 น. พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้รื้อระบบหลายอย่าง แก้ไขที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ สร้างกลไกตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ล้างมรดกรัฐประหารหยุดวงจรอุบาทว์ระบอบประชาธิปไตย ตนและพรรคก้าวไกลไม่มีเหตุผลใดไม่รับร่างฉบับนี้ นี่คือการคืนสามัญสำนึกสู่การเมือง โดยแก้ไขปมปัญหาระบอบประชาธิปไตยไทยๆ

พิธาระบุว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ คือระบอบการเมืองที่อนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเพียงเล็กน้อย ตราบใดที่ไม่กระทบชนชั้นนำ จารีต ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่อนุญาตให้เลือกตั้งเป็นครั้งคราวแต่ไม่ยอมให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน เมื่อประชาธิปไตยไทยๆแบบนี้ที่ห้องเรียนการบรรจุในหนังสือเรียน อย่างไม่เขินว่าประเทศไทยปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แม้ในยามรัฐประหาร แม้ในยามไม่มีสิทธิเสรีภาพ เพื่อนร่วมชาติถูกยิงตายข้างถนน ไม่ต้องมีคนรับผิดชอบ 

การรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญคือปี 2490 ระบบวุฒิสภาก็เกิดจากรัฐประหารปี 2490 ไม่ได้มีระบอบการปกครองแบบอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่เป็นผลพวงจากการัฐประหารของชนชั้นนำจารีตเพื่อกดทับสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง อ้างในหนังสือเพื่อมีวุฒิสภา ถ่วงดุลการใช้อำนาจ วุฒิสภาเป็นป้อมปราการหนึ่งชนชั้นนำ 

พิธา ระบุว่าไม่ใช่่เรื่องแปลกปฏิรูปการเมืองเมื่อไร นักการเมืองไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอันตรายยิ่งกว่า ใช้อำนาจโดยไม่รับผิดชอบ ตามอำเภอใจ พวกเขาคือกลุ่มคนตรวจสอบไม่ได้แตะต้องไม่ได้ เครือข่ายอำนาจนี้ฝังตัวอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าในนามความมั่นคง ตุลาการภิวัฒน์ องค์กรอิสระ องค์กรอิสระจากคนธรรมดา ดังนั้น พวกเราต้องออกแบบใหม่ ให้แบ่งแยกอำนาจการตรวจสอบ และยึดโยงประชาชนไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งที่ร้าวลึก 20 ปีจะไม่คลี่่คลาย ประเทศไทยของเราอนาคตจะมีแต่อดีต 

พิธา ระบุว่า ขอเชิญชวนสภาผู้แทนราษฎรยืนยันโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชน ขอเชิญชวนส่งสัญญาณชนชั้นนำบ้านเมืองนี้ตั้งสติเสียใหม่ หยุดผลักดันคนเห็นต่างเป็นขบวนการล้มล้างการปกครองแล้วแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยของพวกเราสามารถรักสิ่งที่หวงแหนได้ไม่ต้องทำร้ายประชาชน ทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชน แสดงให้เห็นได้ว่าสิ่งที่รักและหวงแหนไม่จำเป็นต้องเอาอนาคตของชาติไปขังในคุก สังคมไทยที่ท่านรักจะได้ไม่เดินสู่ทางตันอีกต่อไป

พิธา ก้าวไกล รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ C9-039DA0F62FFB.jpeg

'สมชาย'ลั่นไม่รับหลักการร่าง รธน. ยก รธน.ปี 2489 ให้มีสองสภา

เวลา 19.40 น. สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อภิปรายว่ารับหลักการร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ ยืนยันรัฐธรรมนูญปี 2560 แม้ผ่านประชามติแล้วก็แก้ไขได้ รัฐธรรมนูญในหลายประเทศมีที่มาที่ไป รัฐธรรมนูญ 2475มาจากคณะปฏิวัติของคณะราษฎร ซึ่งยึดอำนาจระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จากพระมหากษัตริย์แล้วมาแปลงเป็นระบอบรปชาธิปไตย ตนเชื่อว่ามีแนวคิดจากฝรั่งเศส บางท่านอยากมีระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบไม่มีพระมหากษัตริย์ แต่ทำไม่ได้เพราะประชาชนไม่เอาด้วย วันนี้เรามาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง ไม่ติดใจเสนอได้ แต่เสนอแล้วให้เป็นไปได้เพราะสิ่งเสนอมานี้มีปัญหาหลายประการ

สมชาย อภิปรายว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2475 ยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ให้มีสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรปี 2475 ก็มาจากการแต่งตั้งครึ่งหนึ่งเลือกตั้งครึ่งหนึ่ง หลายคนยกประวัติศาสตร์อ้างหลายเรื่องจะเปลี่ยนแปลง พฤฒิสภา กระบวนการแทรกแซงกระบวนการศาลยุติธรรม 

รัฐธรรมนูญ ปี 2489 ใช้หลัง 2475 ต่อมาปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ปรารภกับควง อภัยวงศ์ นายกฯ ขณะนั้นว่า รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้มา 14 ปี แต่เหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ รัฐบาลควง ได้เสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร สุุดท้ายคณะของสภาผู้แทนราษฎรได้ก่อกำเนิดพฤฒิสภา ที่มาจากการ ส.ส.เลือก และส่วนที่2 มาจากสภาผู้แทนราษฎรโดยตรงและลับ ประวัติศาสตร์พูดกันไม่หมด ได้กำเนิดสองสภาตั้งแต่ปี 2489 และเปลี่ยนมาเป็นวุฒิสภา ปี 2490

"ถ้ามีสภาเดียวจะเกิดเผด็จการรัฐสภา ในอดีตเกิดแล้วตอนร่าง พ.รบ.นิรโทษกรรมสุดซอย ฉะนั้น จำเป็นก็คือการตรวจสอบถ่วงดุล หลายท่านบอกไม่จำเป็นการมี ส.ว. หลายเรื่องท่านอาจไม่รู้ว่า ส.ว.มีหน้าที่ตรวจสอบความประพฤติของผู้จะเข้าไปดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ"

สมชาย อภิปรายว่า ท่านจะตัดวุฒิสภาชุดนี้ไม่ติดใจอะไร แต่คิดว่าทำมาไม่รอบคอบ ท่านตัดโอกาสภาคประชาชนที่เข้าสู่กระบวนการเลือกกันเอง ที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ได้บัญญัติให้กลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาเลือกกันเองเป็นวุฒิสภา ท่านตัดวุฒิสภา เพราะแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ดั่งใจ ถ้าตัดวุฒิสภาสำเร็จเหลือสภาผู้แทนราษฎรสภาเดียว ก็จะเกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสภาผู้แทนราษฎร เหลือเสียง 2ใน3 ของสภาฯ ส่วนมาตราที่เหลือจะเป็นอย่างไร มาตรา 1 หรือเรื่องการเข้าไปครอบงำอื่นๆมากมาย 

"ท่านกำลังเข้าสู่การครอบงำอำนาจที่ถูกแบ่งไว้ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ สภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายบริหารอาจแยกไม่ออก แต่ฝ่ายตุลาการชัดเจนตั้งแต่ปี 2475 ว่าศาลมีความเป็นอิสระ การแก้ไขรัฐธรรมนูญคือพุ่งเป้าไปยุบศาลรัฐธรรมนูญ เซ็ตซีโร่ ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ป.ป.ช. ยุบผู้ตรวจการแผ่นดิน เซ็ตซีโร่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ท่านมีอคติ โกรธเคืองอย่างไรกับศาลรัฐธรรมนููญ ศาลปกครอง" สมชาย ระบุ

สมชาย ระบุว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นการใชอำนาจสุดโต่งของสภาฯ เพื่อแทรกแซงศาล