ไม่พบผลการค้นหา
ศาล รธน. มติเสียงข้างมากแบบฉิวเฉียดสั่ง 'ประยุุทธ์' หยุดพักงานจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยปมคำร้องตีความสถานะนายกฯ 8 ปีหรือไม่ ส่งผลให้ 'ประวิตร' รองนายกฯ เบอร์ 1 ขึ้นแท่นรักษาการนายกฯ ทันที มีอำนาจยุบสภาได้

เมื่อเวลา 14.10 น. วันที่ 24 ส.ค. 2565 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารข่าวผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์รับคำร้องกรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องของ ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนุญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่ากรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา  82 วรรคหนึ่ง และะ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตราา 7 (9) จึงมีมติเอกฉันท์รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ให้ผู้ถูกร้อยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง

สำหรับคำขอของผู้ร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนุญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ศาลพิจารณาคำร้องและะเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง จึงมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2565 จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย

F34E75ED-CE82-408B-85A4-3F0692FC0AD4.jpegE1535A2C-E8EB-4826-8781-6814FD4E16E8.jpegA50FF903-28F3-4736-B92E-463984AA6F71.jpegB64AC599-BAA5-46DC-AB4E-C5F05410940F.jpeg


'ประวิตร' ผงาดขึ้นรักษาการนายกฯ มีอำนาจยุบสภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่สัั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยนั้น มีผลให้ พล.อ.ประวิตรเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ทันที ในกรณีที่ นายกฯ ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ โดย คำสั่งสำนักนายกฯ ที่ 237/2563 เรื่องมอบหมายให้รองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีรัฐนตรีประจำสำนักนายกฯ ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง พล.อ.ประยุทธ์ได้วาง พล.อ.ประวิตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี ลำดับที่ 1

หาก พล.อ.ประวิตร เป็นรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีพล.อ.ประยุทธ์พ้นนนายกฯ เพราะอยู่ครบ 8 ปี จะทำให้มีสถานะตำแหน่งรักษาการนายกฯ ทันที โดยยังคงมีอำนาจเต็มพอๆกับ นายกรัฐมนตรี และยังมีอำนาจยุบสภาฯ ได้ด้วยตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา48 วรรคหนึ่ง ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

ประวิตร -727B-42F1-92E2-E3E79A168159.jpegประวิตร ป่ารอยต่อ -9019-4133-98E0-F281BA31DFB8.jpeg

'ประวิตร' นั่งหัวโต๊ะบอร์ดฯรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ตั้ง 'พล.อ.ต.อมร ชมเชย' เป็นเลขาฯคนใหม่ 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ.ต.อมร ชมเชย รองเลขาฯขึ้นเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ แทนคนเก่า ที่จะครบวาระ (4ปี) ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป พร้อมแต่งตั้งผู้บริหารตามที่กฎหมายกำหนด และเห็นชอบ(ร่าง)บันทึกความเข้าใจด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. กับศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติประเทศอินเดีย และร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมทั้ง ร่วมกับศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างกัน ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ การผลิตกำลังคนเฉพาะด้าน การสนับสนุนการศึกษา วิจัย และร่วมกันเฝ้าระวังความเสี่ยง จากการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งนี้เพื่อยกระดับการเสริมสร้างศักยภาพ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการบริการดิจิทัลที่เชื่อถือได้

ขณะที่ พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวชื่นชมกระทรวง ดีอีเอส , กมช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้ขับเคลื่อนแผนงานโครงการ กระทั่งมีความก้าวหน้าไปมาก อย่างน่าพอใจ พร้อมกำชับให้ เลขาธิการ กมช.และผู้บริหารที่ได้รับแต่งตั้งใหม่ เร่งผลักดัน สานต่อบันทึกความร่วมมือไปสู่กิจกรรมให้เป็นรูปธรรมมุ่งยกระดับขีดความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ของหน่วยงานต่างๆและของประเทศ ให้สามารถรองรับภัยคุกคามไซเบอร์ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อย่างแน่นแฟ้นเพื่อปิดช่องว่างการคุกคามฯ และให้มีความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นการบริการให้กับประชาชน และประเทศชาติ ต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีภาพรวมการปฎิบัติ ห้วง 1 เม.ย.-31 ก.ค.65 จำนวน 138 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่ เป็นเว็บการพนันและการหลอกลวงประชาชน ซึ่งได้ดำเนินการปิดเว็บดังกล่าวแล้ว พร้อมมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป และรับทราบรายงานผลการลงนามบันทึกความเข้าใจของ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กับองค์กรภายในประเทศและต่างประเทศแล้ว ได้แก่ กองบัญชาการกองทัพไทย ,คณะอธิการบดีแห่งประเทศไทย ,สาธารณรัฐประชาชนจีน ,ประเทศอิสราเอล และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง