ไม่พบผลการค้นหา
นิด้า รวมศิษย์เก่า อวด! คุณูปการพัฒนาประเทศ พบ! มี ส.ว. 46-ส.ส.59 คนในรัฐสภา 'ชวน หลีกภัย' เสนอ บรรจุหลักสูตร "คนดี" ในทุกสถาบันการศึกษา ขณะที่พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ชู! "เศรษฐกิจพอเพียง" นำการพัฒนา 'จุรินทร์' เป็นนักศึกษาดีเด่นนิด้า 2 ปี

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า จัดปาฐกถา “นิด้ากับการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน” โดยองค์ปาฐกถาที่สำคัญคือ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร, นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ , พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย , นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายชวน ในฐานะนักศึกษาหลักสูตรนิด้า MAX รุ่น 1 ปาฐกถาตอนหนึ่ง ระบุว่า นิด้าสร้างบุคลากรมารับใช้ประเทศชาติมากกว่า 68,000 คน อยู่ในหลายสาขาอาชีพรวมถึงในฝ่ายการเมืองโดยมองว่า ชีวิตความเป็นอยู่คนไทยไม่ได้แตกต่างจากประเทศอื่น เพียงแต่มีความเหลื่อมล้ำชัดเจน มีคนรวยเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่จำนวนคนรวยหรือคนจนที่ต่างกันนั้นไม่สำคัญ เพียงอยู่ใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่ใช่คนรวยทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิด ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม ซึ่งสมัยที่ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี พูดเสมอว่า ไม่สามารถทําให้ทุกคนรวยเท่ากันได้ แต่ทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่ให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจสำหรับคนจน

พร้อมยืนยันว่า ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นเรื่องท้าทายมากสำหรับการพัฒนาบ้านเมือง โดยยืนยันว่า การสร้างคนที่มีความรู้กับการสร้างคนดีเป็นสิ่งที่ต้องไปคู่กัน กฎหมายที่ดีกับคนดีก็ต้องไปด้วยกัน เพราะบ้างทีกฎหมายบกพร่อง แต่ถ้าได้คนดีไปบริหารบ้านเมืองก็ไปรอด ขณะเดียวกันมีกฎหมายที่ดีเยี่ยม แต่ผู้บริหารที่เลวร้ายก็ไปไม่รอด ซึ่งที่ผ่านมากลายเป็นว่าผู้มีการศึกษาเป็นคนสร้างปัญหาบ้านเมือง เพราะมีความรู้ แต่ไม่ได้มีความดี

นิด้ากับการพัฒนาประเทศไทย-ชวน-จิรายุ

ประธานรัฐสภา กล่าวด้วยว่า ทุกสถาบันการศึกษารวมทั้งนิด้า จำเป็นจะต้องเสริมและบรรจุหลักสูตร "การสร้างคนดี" เข้าไปในหลักสูตรการศึกษาด้วย โดยในฐานะประธานรัฐสภา ได้ผลักดันให้มีการบรรจุหลักสูตรนี้ในสถาบันพระปกเกล้าและสถาบันการศึกษาหลายแห่งแล้ว

นายจุรินทร์ ในฐานะศิษย์เก่าหลักสูตร mpa ปี 2524 และศิษย์เก่าดีเด่น 2 ปีคือ ทั้ง 2533 และ ปี 2537 โดยระบุว่ากล่าวถึงตัวเองที่ได้เป็นรัฐมนตรีหลายสมัย ทั้งในรัฐบาลนายชวนและในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และภูมิใจที่ได้เป็นนักศึกษาดีเด่นของนิด้า 2 ปี แต่ที่พูดไม่ได้บอกว่าตัวเองเก่งหรือมีผลงานดีกว่าใคร แต่อยากบอกว่า มีผลงานตามควรแก่อัตภาพก็เพราะมีหลักวิชาความรู้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ได้จากนิด้านั่นเอง และยังนำความรู้โดยเฉพาะหลักการบริหารรัฐกิจ มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบันด้วย และแม้ตำแหน่งรองนายกและรัฐมนตรี จะเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่จะไม่เปลี่ยนแปลงและยั่งยืนตลอดไปสำหรับตัวนายจุรินทร์ คือความเป็นศิษย์เก่าของนิด้า

นิด้ากับการพัฒนาประเทศไทย-จุรินทร์

พลเอกอนุพงษ์ ในฐานะศิษย์เก่าหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต หรือ MPA ปี 2544 และนักศึกษาเก่าดีเด่นปี 2551 เปิดเผยว่า ตั้งใจมาเรียนเพื่อหาความรู้จาก หชังจากคิดว่าจะลาออกจากราชการ เพื่อประกอบธุรกิจ แต่ก็ได้มาดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยพบว่าประชาชนมีปัญหาจำนวนมาก โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำ ซึ่งไทยมีมีเกษตรกรกว่าครึ่งประเทศ ที่สำคัญคือปัญหาความยากจนของชาวนา ที่ทุกรัฐบาลพยายามแก้ไข

สำหรับผลิตผลทางการเกษตรของไทยโดยเฉพาะข้าวในตลาดโลกมี demand มากกว่า Supply ประกอบกับต้นทุนการผลิตของชาวนาและเกษตรกรสูง รวมถึง ปัจจัยการผลิตมีปัญหาไม่มีเทคโนโลยีอย่างพอเพียงและปัญหาเรื่องน้ำ ทำให้ชาวนายังยากจนอยู่ ซึ่งทุกรัฐบาลพยายามแก้ไขแต่ยังไม่สำเร็จ โดยมองว่าการแก้ไขของรัฐบาลด้านการเกษตรยังเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนการแก้ไขที่ยั่งยืน จะต้อง ใช้ความพยายามด้วยความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆมากมาย ไม่เช่นนั้นการแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำและความยากจนจะทำไม่ได้ เพราะมีความซับซ้อน ซึ่งหากจะแก้ไขความยากจนในเฉพาะชาวนาภาคอีสาน อาจต้องใช้งบประมาณเป็นแสนล้านบาท

นิด้ากับการพัฒนาประเทศไทย-อุตตม-อนุพงษ์

พลเอกอนุพงษ์ กล่าวด้วยว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ OTOP และมองว่า ผู้บริหารต้องมี 2 อย่าง ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า คือ ศีลกับปัญญา เทียบกับปัจจุบันคือ มีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งก็คือปรัชญาของ "เศรษฐกิจพอเพียง" นั่นเอง ขณะที่รัฐบาลพยายามผลักดัน EEC เพราะต้องการให้กระจายคนจากภาคเกษตรสู่ภาคอุตสาหกรรมใหม่ โดยเทียบว่า89ครอบครัวมี 4 คน คนหนึ่งความรู้น้อยก็ทำนาไป ที่เหลือประกอบอาชีพอื่น อาจจะเป็นนักธุรกิจ อีกคนหนึ่งใช้ความรู้สร้างนวัตกรรมจึงมี EEC ขึ้นมารองรับ

นายอุตตมะ ในฐานะ อดีตอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ปาฐกถาว่า รัฐบาลใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงนี้ ภายใต้หลักการ 4 ประการ คือ 1.)​ ตรงกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้มีรายได้น้อย เพื่อสนับสนุนการจับจ่ายใช้สอยให้เศรษฐกิจหมุนเวียน 2.) รวดเร็วทันการณ์ 3.)​ โปร่งใส โดยใช้ระบบ ดิจิตอลที่มีความรัก กุม ไม่ได้แจกเงินสด 4.) เป็นมาตรการชั่วคราว อย่างบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เพิ่มเงินมก้เพียง 2 เดือนเท่านั้น

สำหรับการลงทุนต้องถูกทิศทาง คือ การลงทุนเพื่ออนาคต ที่มีคุณภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่เช่นนั้นก็จะตามหลังประเทศอื่น โดยรัฐบาลมีการประเมินผลหรือชี้วัดตลอดเวลา ไม่ใช่ดูแค่เม็ดเงินลงทุนเท่านั้น แต่ดูเรื่องประสิทธิผลด้วย ซึ่งการลงทุนภาครัฐเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงต้องใช้ระบบให้เอกชนร่วมทุนหรือ ppp โดยเอกชนร่วมลงทุนร้อยละ 80 ภาครัฐลงทุนเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น และมีงบประมาณที่เหลือ เพื่อโครงการอื่นๆ ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลทำใน 2 มิติ คือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนนี้ กับการลงทุนด้านสังคมซึ่งเอกชน ไม่ค่อยสนใจ แต่มีโครงการเกี่ยวกับสุขภาพ คือ ศูนย์กลางการแพทย์สมัยใหม่ และโครงการที่อยู่อาศัยเชิงสังคม ที่จะเป็น 2 โครงการแรกที่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ppp ของรัฐบาล 

นิด้ากับการพัฒนาประเทศไทยนิด้ากับการพัฒนาประเทศไทย-นิด้า คอนเนกชัน

สำหรับศิษย์เก่านิด้า ที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบัน มีอีกหลายคน รวมถึง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นักศึกษาเก่าหลักสูตรวิทยาการจัดการสำหรับนัก บริหารระดับสูง หรือ วบส.รุ่น 1, นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ศิษย์เก่าคณะ รัฐประศาสนศาสตร์ ปี 2528, และนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี 2537

โดยมี ส.ว.ปัจจุบันที่เป็นศิษย์เก่านิด้า 46 คน ทั้ง พลเอกกนิษฐ์ ชาญปรีชญา, นายกิตติ วะสีนนท์, พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ ศิษ์คณะพัฒนาสังคมปี 2542, พลตำรวจโทศานิตย์ มหถาวร รัฐประศาสนศาตร์ ปี 2533, นายสมชาย แสวงการ คณะพัฒนาสังคมปี 2542

นิด้ากับการพัฒนาประเทศ2_๑๙๐๘๒๔_0005.jpg

ส่วน ส.ส.แบ่งเขต มี 42 คน รวมถึง นายชล น่านศรีแก้ว พรรคเพื่อไทยคณะรัฐประศาสนศาสตร์ 2540 / นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย พรรคประชาธิปัตย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ปี 2536 / นายซูการ์โน มะทา พรรคประชาชาติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมปี 2544

ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 17 คน ทั้ง นายคำพอง เทพาคำ พรรคอนาคตใหม่ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมปี 2546/ นายดำรงค์ พิเดช พรรครักษ์ผืนป่าแห่งประเทศไทย คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมปี 2545 /นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ปี 2543 /นายสุพล ฟองงาม พรรคพลังประชารัฐ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมปี 2536 นอกเหนือจากนายจุรินทร์และนายศักดิ์สยาม ในคณะรัฐศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์ปี 2524 และปี 2528 ด้วย