ไม่พบผลการค้นหา
ครบรอบ 200 ปี ของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล องค์การอนามัยโลกเชิดชูพยาบาลและพยาบาลผดุงครรภ์ทั่วโลก และปีนี้เองที่บุคลากรการแพทย์และพยาบาลต้องรับมืออย่างหนักกับสถานการณ์ระบาดโควิด-19

วอยซ์ออนไลน์ ได้รับการสนับสนุนเนื้อหาสัมภาษณ์พิเศษโดย ยูเอ็นวีเมน, องค์การอนามัยโลก และ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ สัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล คุณสุทธิพร เทรูยา รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูรฝ่ายการพยาบาล, คุณอารมณ์ ดิษยขัมภะ  และคุณขวัญใจ มอนไธสง พยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร ไปฟังเสียงพวกเธอกันว่าช่วงเวลานี้ พวกเธอรับมือกับภาระงานที่หนักขึ้นอย่างไร

รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล: โควิด-19 มีผลกระทบต่อพยาบาลทั้งด้านกำลังคนและเครื่องไม้เครื่องมือ

ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการทำงานของพยาบาลมาก ทั้งชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มขึ้น วิถีชีวิตที่ต้องแยกจากครอบครัว และอุปกรณ์ป้องกันตัวที่ต้องดูแลให้เพียงพอ

92334352_651988025603402_753951173458788352_n.jpg


พยาบาลต้องทำงานหนักขึ้นอย่างมาก ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเหนื่อยล้า ต้องมีการหมุนเวียนพยาบาลจากแผนกอื่นๆ ในโรงพยาบาลมาช่วย กันดูแลผู้ป่วยประเภทนี้เป็นการเฉพาะนะคะ แล้วก็ นอกจากนั้นแล้วที่น่ากลัวมากก็คือการมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอในการป้องกันตนเอง และป้องกันผู้ป่วยด้วย ในการดูแลผู้ด่วยด้วน ทำให้มีพยาบาลติดเชื้อโควิด-19 ด้วย ซึ่ออันนี้ก็เป็นเรื่องที้่น่าเห็นใจมาก

พยาบาลเองก็เป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่งที่มีความกลัว ที่มีความกังวล ทีนี้การทำงานหนัก ก็เกิดความเหนื่อยล้า พยาบาลจำนวนหนึ่งที่ต้องดูแลคนไข้ประเภทนี้ ถูกกักตัวไว้ในโรงพยาบาลค่ะ ไม่ให้กลับบ้านเลย เพราะฉะนั้นด้วยความปรารถนาดีนี่แหละที่จะต้องไม่นำเชื้อออกไปกระจายข้างนอก เพราะฉะนั้นต้องอยู่ภายใน เก็ยตัวไว้เป็นพิเศษ แต่เขาต้องจากลูก จากครอบครัว จากบ้านแล้วก็นอกจากนั้น ความคิดถึงก็ทำให้เกิดควมเครียดมากขึ้น อันนี้ก็เป็นเรื่องน่าเห็นใจมาก ซึ่งพยาบาลเขาก็รู้สึกว่าการช่วยเหลือ แม้แต่สวัสดิการต่างๆ ก็ยังไม่ชัดเจน อันนี้ก็อยากจะฝากไปถึงผู้รับผิดชอบทั้งหลายที่จะต้องช่วยกันดูแลด้วยค่ะ

อารมณ์ ดิษฐขัมภะ พยาบาลวิชาชีพ ผู้ปฏัติหน้าที่มากว่า 37 ปี : ไม่เคยเจอสถานการณ์ที่มาเยอะขนาดนี้ แล้วหมุนเวียนคนไข้ขนาดนี้

92308833_155814105744629_1966191433463365632_n.jpg

ระบุว่าจริงๆ แล้วของเรารับคนไข้ที่เป็นโรคติดต่อ ติอเชื้อมาอยู่แล้วนะคะ ตั้งแต่รุ่นซารส์ก่อน แล้วก็มาเมอรส์ อีโบลา แล้วก็มาโรคโควิดซึ่งมาตั้งแต่รอบแรกก็จะเป็นคนจีน ถามว่าเราตื่นเต้นไหม เราก็เหมือนเรายังไม่คื่นเต้น เพราะเราเหมือนมีการซ้อม แล้วการรับ

แต่ช่วงแรกๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องภาษานิดนึง แต่ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันที่มีล่ามช่วยสื่อนิดหนึ่ง ช่วงแรกๆ อาจจะทำให้เขาไม่เข้าใจ พอเขามีการติดตามข่าวสาร เขาก็ให้ความร่วมมือดี แล้วเขาก็ชื่นชมในการรับบริการของเรา แต่ถามว่า ณ ปัจจุบันแตกต่างมากไหม แตกต่างเพราะรู้สึกคนไข้มากขึ้นกว่าเดิม การหมุนเวียนคนไข้เร็ว ทำให้แบบ เรามีความรู้สึกว่ากลัวไหม ก็ไม่ถึงกับกลัวเพราะถือว่าเรามา เรามีการซ้อม มีมาตารการเพียงพอ มีการบริหารอัตรากำลังที่รองรับ นคะะ ถ้าเราเกิดมีปัญหาปุ๊บ เราลิงก์กับผู้บริหารก็ได้รับความร่วมมือดีนะคะ ทั้งด้านอัตรากำลัง ด้าน PPE และก็ด้านขวัญและกำลังใจ ค่ะ

ข่าวสารทางด้านสาธารณสุขก็สำคัญในการที่จะให้ประชาชน ถ้าเกิดทุกคนตระหนักถึงความร้ายแรงและก็โทษของมัน ก็ถ้าเกิดดูแลตัวเองให้ความร่วมมือกับสาธารณสุข รัฐบาล ก็จะทำให้อัตราแพร่กระจายเชื้อหรือลดอัตราการเจ็บป่วยได้ลดลงนะคะ ก็คือเหมือนกับว่าเราก็ฟื้นฟูประเทศได้เร็วขึ้น เจ้าหน้าที่ก็สุขภาพดีขึ้นน่ะค่ะ

ไม่เคยเจอสถานการณ์ที่มาเยอะขนาดนี้ แล้วหมุนเวียนคนไข้ขนาดนี้ ตอนรุ่นก่อนเรารับแค่เมอรส์ อีโบล่าแค่ไม่กี่คน คนสองคน แต่อันนี้มาเต็มทุกห้อง เพราะฉะนั้นเราต้องดูว่าอุปกรณ์เพียงพอไหม ทุกอย่างเลย มีการบริหารความเสี่ยง เราต้องดูตั้งแต่ระบบห้อง ดูทุกอย่างตั้งแต่เช้าขึ้นมา ดูระบบห้อง ดูชุดป้องกันดูเจ้าหน้าที่ ซึ่งเราก็มีการติดตามอาการเจ้าหน้าที่อยู่แล้วว่าคนไหนมีอาการไหม มีไข้ไหมอะไรอแบบนี้ ก็ห่วงใยนะคะ ก็คือคนไหนมีปัญหาปุ๊บเราให้พัก ก็เคยมีเหมือนกันนะคะที่ว่าเจ้าหน้าที่เรามีอาการ เช่นเป็นหวัด เราก็ให้เขาพักปุ๊บแล้วเราก็ส่วตรวจเลย แล้วเราก็ทำความสะอาดจุดที่เขาไปสัมผัสตรงนั้นเลยถ้าเผื่อเขามีการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม เราก็ทำความสะอาด เราก็ติดตามมาตลอดก็ยังไม่มีใครเป็นอะไรนะคะ แม้กระทั่งปัจจุบันก็มีการวัดปรอทและติดตามอาการตลอด ไม่มีใครเป็นอะไรค่ะ

แล้วก็มีการนิเทศก์เป็นลำดับ การแต่งตัวว่าถูกต้องไหม คุณทิ้งขยะ คุณอะไรเป็นระยะ เพราะฉะนั้นตรงนี้เราก็คือมั่นใจในระดับหนึ่ง ก็ 4 มกราคมจนถึงปัจจุบันนะคะ เราก็มันใจว่าโอเค ถ้าทุกอย่างเหมือนเดิมเช่น อัตรากำลัง แล้วก็ PPE ณ ตรงนี้นะคะ มั่นใจ ว่าเรายังให้การบริการที่คิดว่าเรามีขวัญและกำลังใจและทำงานได้เต็มความสามารถ แล้วก็ดีใจที่ทุกคนกลับบ้าน แต่คนไหนเสียเราก็ดูอาการเขาแล้วก็สมเหตุสมผลว่าเขาเป็นเยอะจริงๆ แต่ว่า อาการหนักไม่ใช่ว่าเราไม่ทำนะคะ ทำจนสุดความสามารถจริงๆ ค่ะ

ขวัญใจ มอนไธสง อายุ 42 ปี พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงาน 20 ปี: ทรัพยากรคนและสิ่งของที่นับวันจะหมดไปเรื่อยๆ ชุดป้องกันที่นับวันจะหมดลงไปเรื่อยๆ เราก็จะต้องบริหารจัดการ และเติมกำลังใจให้กันด้วย

92190101_837295926746940_8130374027630870528_n.jpg

บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง มีครอบครัว มีความหวาดกลัวเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็เรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเองส่วนหนึ่ง และต้องครองสติ ต้องล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัส ประกอบกับเพื่อนๆทุกคนใจสู้หมด ทุกคนซัพพอร์ต หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน น้องๆ คอยซัพพอร์ตเราหมดเลย และมาช่วยกันเป็นทีม มันก็จะมีกำลังใจ ครอบครัวก็เข้าใจ ก็จะได้กำลังใจจากตรงนี้ และที่สถาบันฯได้กำลังใจมาเยอะเลย มีคนบริจาคเอง มีคนมาให้กำลังใจ ทั้งทางโซเชียลมีเดีย และมาเอง เยอะมาก จากที่เห็นรูปติดอยู่ข้างหน้า อันนั้นคือกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ส่วนหนึ่ง

ที่รู้สึกสัมผัสได้ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากที่มีโควิดเข้ามา คือภาระงานที่เพิ่มขึ้น จากเดิมสถาบันฯจะมีจุดคัดกรองเพียงจุดเดียว ตอนนี้จุดคัดกรองของเราแยกไปเฉพาะจุดคัดกรองโควิด และต้องระดมสรรพกำลังมาช่วยกันคัดกรอง จากเดิมที่คัดกรองกันแค่ 3 คน ตอนนี้ระดมทีมจาก OPD จากหน่วยงานต่างๆมาช่วยตรงจุดนี้เยอะเลย ต้องมีการปิดOPD และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนงาน ไม่ว่าจะเป็น โภชนาการ งานรปภ. มาช่วยกันหมดเลย และมีการแบ่งหน้าที่กัน แต่ละวันค่อนข้างจะวุ่นวายในการคัดกรองผู้ป่วย

การรับมือความวิตกของผู้คนจำนวนมากที่ถาโถมมาหาเรา เราก็ต้องร่วมมือกันทุกคน ตอนนี้เจ้าหน้าที่ทุกคนมาช่วยกัน ตั้งแต่แพทย์ พยาบาล พยาบาลให้คำปรึกษาที่มาช่วยเรา แต่โดยส่วนตัวก็คือ จะมีพยาบาลที่คอยให้ความรู้กับผู้ป่วย ให้ความรู้ด้วยการปฏิบัติตัว และให้กำลังใจ ให้เขาดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

ในภาคส่วนประชาชนที่เราต้องช่วยกันในตอนนี้ ทุกคนต้องปฏิบัติตามหลักการของรัฐบาล และของหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข นั่นคือ social distancing การกักตัวอยู่บ้าน ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และดูแลสุขภาพของตัวเอง และติดตามข่าวสารที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เสพข่าวที่ไม่ใช่เฟกนิวส์ สำคัญมาก ให้ทุกคนมีสติ ไม่ตื่นตระหนก

การเรียนรู้ที่ได้จากวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ โดยส่วนตัวคือได้เรียนรู้เรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพราะโควิด-19 โรคนี้ยังไม่เคยอุบัติมาในโลกนี้ เราก็ต้องตามหาความรู้ อ่านตำรา อ่านทฤษฎี ที่มีตามสื่อต่างๆ อาการผู้ป่วย การดำเนินของโรค การรักษา การดูแล เพื่อที่เราจะได้แนะนำคนไข้ได้ถูกวิธี และจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูก เราก็ต้องตามข่าวที่ไม่ใช่เฟกนิวส์

สิ่งที่ได้เรียนรู้อีกอย่างคือ การทำงานเป็นทีม ทุกคนมาระดมทีมกันหมด แล้วไม่มีผู้นำ ไม่มีผู้ตาม ก็จะมีความวุ่นวายมากในตอนแรก

และสิ่งที่ได้เรียนรู้อีกอันคือท่ามกลางความวิตกกังวล ความหวาดกลัวของผู้คนจำนวนมาก ที่ถาโถมเข้ามาหาเรา เราจะจัดการอย่างไร ทั้งทรัพยากรคนและสิ่งของที่นับวันจะหมดไปเรื่อยๆ ชุดป้องกันที่นับวันจะหมดลงไปเรื่อยๆ เราก็จะต้องบริหารจัดการ และเติมกำลังใจให้กันด้วย ได้มิตรภาพด้วย จากงานนี้ ได้เห็นว่าใครที่ช่วยเราจริงๆ

การรับมือเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด เนื่องจากเป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ เป็นสถานการณ์ระบาดใหม่ในโลกนี้ สถาบันบำราศฯยังไม่เคยรับมือมาก่อน ตอนแรกสับสนวุ่นวายมาก แต่พอมาอาทิตย์ที่2 ก็เริ่มอยู่ตัว ทุกคนแบ่งหน้าที่กัน มีหน้าที่แจกคิวคัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น จัดสถานที่ให้ผู้ป่วยนั่ง ตามโซนสี ตามความเร่งด่วนฉุกเฉิน พยาบาลในห้องแบ่งหน้าที่กัน คนหนึ่งซักประวัติ โตีะซักประวัติจะมี 3-4 โต๊ะ อีกคนจะเป็นคนจัดการโดยรวมทั่วไป อีกคนจัดการให้ผู้ป่วยเข้าไปรับการThroat swab อีกห้องหนึ่งนำผู้ป่วยตรวจเอกซเรย์ปอด ก็จะแบ่งหน้าที่กัน ซึ่งตอนนี้ลงตัวมากขึ้น

สุทธิพร เทรูยา  รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูรฝ่ายการพยาบาล: เราต้องเป็นตัวเชื่อมค่ะ เพราะในภาวะวิกฤตแบบนี้นะคะ มันจะมีความคิดเยอะมาก

91880602_891507387963131_4639298118360236032_n.jpg

การเข้าใจถึงจิตใจของญาติที่เสียชีวิตจากโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง พูดถึงปัญหาทางสังคมค่อนข้างจะเยอะ เพราะว่า...ถามตัวตัวพยาบาลค่อนข้างจะเยอะในเรื่องนี้ เพราะว่าเราเป็นคนใกล้ชิดดูแลเขามาตลอดตั้งแต่เข้ามาวันแรก ณ สุดท้าย จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต เราต้องช่วยดูแลตรงนี้ไปตลอด เราไม่ได้จัดแค่คิดว่าเสียชีวิตก็จบ

การที่พวกเราพยาบาลทุกคน ที่ได้ดูแลเขามาได้ขอขมา เป็นเรื่องของทางจิตใจ เราจะมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน เพราะฉะนั้นในเรื่องของวาระสุดท้ายของชีวิตเราจะให้ญาติได้ทำตรงนี้ด้วย หลังจากเราส่งผู้ป่วย ณ ห้องเก็บศพแล้ว เราก็จะมาคุยกับญาติ ในเรื่องของการวางแผน ในการดำเนินการขั้นถัดไป ซึ่งในเรื่องของการที่ทางสังคม ทางวัด ทางอะไรไม่รับเราจะทำอย่างไร เราจัดการให้เร็วที่สุด ศพที่ออกไปเราจัดการให้อย่างดี เราใส่ถุงซิป 3 ชั้นโอกาสที่เชื้อโรคหลุดรอดไปไม่มี เพราะแต่ละชั้นเราแพ็กอย่างดี แพ็กแล้วเราก็ฉีดพ่นด้วย 70% แอลกอฮอล์ ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 อันนี้เรารับรองทำให้อย่างดี ไม่ให้เปิดถุงซิป ไม่ให้เปิดโลงศพในการทำพิธี แต่ในเรื่องของการจัดการเราบอกจัดการตามประเพณีทุกอย่างเพียงแต่ระยะเวลาสั้นลงเท่านั้นเอง จากเราสวด 3 วัน เราสวดแค่วันนี้วันเดียว3 จบ ไปเลย ในส่วนของโลง เรื่องดอกไม้ทางสถาบันซัพพอร์ตให้หมด ญาติไม่ต้องไปคิดเรื่องนี้ แม้กระทั่งรถที่เราไปส่ง ค่ารถไปส่งถึงวัดเราจัดการให้หมดเลย ญาติแค่ไปติดต่อเรื่องวัดอย่างเดียว ญาติไม่ต้องมากังวลเรื่องค่าโลงค่าอะไรทั้งสิ้นสถาบันดูแลให้ ซึ่งตรงนี้พี่ได้คุยกับผู้บริหาร ผู้บริหารบอกว่าเห็นด้วย เราก็นึกถึงใจเรา นึกถึงเราว่าเออตอนนี้เราก็เคว้งเหมือนกัน

คือเราต้องอดทนนะคะ เขาเรียกเราต้องเก็บ เวลาเขาพูดอะไร เราอย่าไปพูดต่อ เราเก็บมาเพื่อที่ได้จะเอามาวางแผนเพื่อช่วยเหลือเขา หลายๆ ครั้งที่ผู้ป่วยที่ออกจากเราไป พี่ก็ไม่ได้คาดคิดนะ เขาไม่เคยรู้เลยว่าเขาเป็นเบาหวาน ไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นเบาหวานแต่มารักษาด้วยโควิด-19 แต่พอเจาะเลือดไปแล้วเจอเป็นเบาหวาน ถามว่าเป็นเบาหวานแล้วพยาบาลทำอะไรต่อ คิดต่อเลยคะ เป็นเบาหวาน 1. เบื้องต้นเลยนะ ในเรื่องแนะนำอาหาร เรื่องอาหารว่าเขากินยังไง 2. การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นเบาหวาน ในเรื่องของการดูแลตัวเองหมดเลย ในเรื่องของการดูแลเท้า การดูแลตับไต เราคุยในเรื่องอาหาร การดูแลตนเอง การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สุดท้ายนะคะ เราก็ให้โภชนากร เพราะฉะนั้นพยาบาลก็จะต้องเป็นตัวเชื่อมค่ะ เป็นผู้นำในการที่จะให้สหวิชาชีพมาช่วยดูแลผู้ป่วยร่วมกับเรา อันนี้เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ พยาบาลไม่สามารถดูแลผู้ป่วยเพียงคนเดียวได้ เราต้องทำเป็นทีม

ในสถานการณ์โควิด ประชาชนจะมีส่วนช่วยบุคลากรทางการแพทย์อย่างไร

“สำหรับประชาชนทั่วไป ความจริงแล้วท่านสามารถช่วยพวกเราได้เยอะทีเดียวค่ะ คือช่วยผู้ประกอบวิชาชีพทุกสาขาที่จะต้องมีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้ สิ่งที่ท่านจะช่วยได้ประการแรกเลยนะคะก็คือ การดูแลตนเองค่ะ ท่านต้องจำกัดตัวเอง หรือที่เรียกว่า Social Distancing คืออย่าไปในที่ชุมชน ท่านอยู่กับบ้าน ดิฉันอยากจะใช้คำว่า Physical Distancing ด้วยซ้ำไปนะคะ ทำให้ตัวเองอยู่ห่างไกลจากคนอื่น ท่านจะได้ไม่ต้องไปติดเชื้อจากคนอื่น หากว่าใครก็ตามแต่ที่สงสัย เราอาจจะไปติดเชื้อมาแต่ไม่แสดงอาการ ท่านก็ไม่นำเชื้อไปให้คนอื่นด้วย เพราะฉะนั้นเราขอเถอะค่ะ อยู่บ้านนะคะ ดูแลตัวเอง” รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล กล่าวในท้ายสุดของการสัมภาษณ์