ไม่พบผลการค้นหา
ถึง ‘กรุงศิวิไล สุทินเผือก’ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ จะยืนยัน กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า ที่ เอ๋ ‘ชนมสวัสดิ์ อัศวเหม’ วางรากฐานไว้จะเดินหน้าในฐานะกลุ่มการเมืองในศึกเลือกตั้ง 2566 ต่อไป

แต่การจากไปของ บุตรชาย หัวแก้วหัวแหวนของ "วัฒนา อัศวเหม" อดีต ส.ส. สมุทรปราการ 10 สมัย หรือ ประมุขบ้านใหญ่แห่งเมืองปากน้ำ อาจทำให้ฐานเสียงกระทบกระเทือนมิใช่น้อย

เหมือนที่ครั้งหนึ่ง ‘ไทยรักไทย’ กระแสสูงกวาดที่นั่ง ส.ส. ในเขตสมุทรปราการแทบทั้งหมด ล้มบ้านใหญ่อัศวเหม ‘วัฒนา’ ที่ครองอำนาจยึดพื้นที่ตั้งแต่ปี 2518-2539 จนตระกูล ‘อัศวเหม’ ต้องถอยร่นไปสู้ในสนามท้องถิ่นแทน

พร้อมกับการก้าวเข้าสู่สนามเล็กของ เอ๋ ชนมสวัสดิ์ อัศวเหม โดยเริ่มจาก นายกฯเล็ก ถึงนายก อบจ. สมุทรปราการ ก่อนถูกสั่งปลดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. พ.ศ. 2558 

ปีเดียวกัน 4 ส.ค. 2558 ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุกคดีทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ ปี 2542 รับโทษ 1 ใน 4 ก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษ เมื่อ 7 ก.ย. พ.ศ. 2559 

ล่วงถึงศึกเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป 24 มี.ค. 2562 บ้านอัศวเหม โดนพลังดูดเข้า ‘พรรคพลังประชารัฐ’ โชว์ผลงานชิ้นโบว์แดง ด้วย ส.ส. 6 จาก 7 คน ในสมุทรปราการ รวมเฉียด 200,000 เสียง ประกอบด้วย

เขต 1 อัครวัฒน์ อัศวเหม พลังประชารัฐ 34,668

เขต 2 ยงยุทธ สุวรรณบุตร พลังประชารัฐ 35,707

เขต 3 ภริม พลูเจริญ พลังประชารัฐ 29,424 

เขต 5 กรงุศรีวิไล สุทินเผือก พลังประชารัฐ 41,745

เขต 6 ฐาปกรณ์ กลุเจริญ พลังประชารัฐ 27,806

เขต 7 ไพลิน เทียนสุวรรณ พลังประชารัฐ 27,875

กรุงศรีวิไล พลังประชารัฐ เลือกตั้ง สมุทรปราการ_ 16090302856849465_n.jpgกรุงศรีวิไล พลังประชารัฐ เลือกตั้ง สมุทรปราการ_ 5_6384743225560160481_n.jpg

พ่วงด้วย ต่อศักดิ์ อัศวเหม ลูกพี่ลูกน้อง​ เข้าวิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐเช่นเดียวกัน

ส่วน สุนทร ปานแสนทอง ผู้สมัคร ส.ส. เขต 4 ที่แพ้ พรรคอนาคตใหม่ ก็ถูกดันขึ้นแท่นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงปลายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ในขณะที่ ‘เอ๋ ชนม์สวัสดิ์’ ผันตัวเข้าสู่แวดวงธุรกิจผ่านบทบาทประธานสภาหอการค้า ทว่าก็ยังคงเป็นแม่ทัพใหญ่ ผลักดันอดีตภรรยา นันทิดา แก้วบัวสาย จากกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า ขึ้นแท่นนายก อบจ. ชนะถล่มทลาย ด้วยคะแนนเสียงมากที่สุด 341,504 คะแนน 

สถานการณ์หลังศึกเลือกตั้งปี 2562 นับเป็นการฟื้นคืน ตระกูล ‘อัศวเหม’ ให้กลับมาผงาดในสนามการเมืองใหญ่ อีกครั้ง

ทำให้ ‘พรรคเพื่อไทย’ ที่ต่อยอดมาตั้งแต่ ‘ไทยรักไทย’ ไม่ได้ ส.ส. ในสมุทรปราการ แม้แต่ที่นั่งเดียวเป็นหนแรกในรอบ 18 ปี และขยายอิทธิพลอย่างต่อเนื่องในสนามเล็ก ผ่านหลานสาว ‘พิม อัศวเหม’ ลูกสาว ‘พูนผล อัศวเหม’ พี่ชายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ปัจจุบันนั่งแท่น นายกฯเล็กเมืองปากน้ำ

เพลง ชนม์ทิดา อัศวเหมอนุทิน ศักดิ์สยาม ภูมิใจไทย เนวิน -03B8-49E6-A55B-0BEE42C81B52.jpegภูมิใจไทย ไชยชนก เนวิน ชิดชอบ ชนม์ทิดา อัศวเหม  -118D-4BB8-91E9-508721C1549C.jpegอนุทิน ภูมิใจไทย ชนม์ทิธา ไชยชนก -B13D-43E1-BB33-F2E0EA7C9FB5.jpeg

จากนี้ไปสปอตไลท์บ้านอัศวเหม คงจะต้องฉายจับไปที่ "เพลง ชนม์ทิดา อัศวเหม" บุตรสาว และคู่รัก "เป๊ก เศรณี ชาญวีรกูล บุตรชาย "เสี่ยหนู อนุทิน ชาญวีรกูล" หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่ได้เริ่มชิมลางผ่านการปรากฏชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ส่วน "พิม อัศวเหม" จะขยับมาลง ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 7 

พื้นที่ชิงชัย ส.ส. เมืองสมุทรปราการ ก็เป็นที่จับตาว่า เมื่อขาดแม่ทัพใหญ่อย่าง ‘เอ๋ ชนมสวัสดิ์’ อย่างคาดไม่ถึง

ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร เมื่อ 1 เขตที่เคยถูกเจาะเป็นของพรรคอนาคตใหม่ ในขณะที่พรรคเพื่อไทยตามมาเป็นที่ 2 สลับกับพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งพบว่า เสียงซีกประชาธิปไตยกระจายอยู่ในสีส้มและสีแดง หากนำคะแนนทั้ง 2 มารวมกัน ก็จะเป็นพรรคเพื่อไทยที่จะชนะถล่มทลาย ในขณะที่บางเขตแพ้ขาดเพียงแค่หลักร้อยถึงหลักพันเท่านั้น 

สำหรับศึกเลือกตั้ง ส.ส.หนนี้ ‘สมุทรปราการ’ จะได้ที่นั่ง ส.ส. เพิ่มอีก 1 คน

ฟากบ้านใหญ่ปากน้ำถือว่า พร้อมเต็มสูบ นำโดย ‘ต่อศักดิ์’ หนนี้จะลงสู้ในเขต 7

ฟาก ‘เพื่อไทย’ ก็ต้องเรียกว่าเป็นทัพหลวง นำโดย ประชา ประสพดี อดีต ส.ส.สมุทรปราการ และ รมช.มหาดไทยสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมด้วยอดีตแกนนำแดงแถวสอง ‘สัมฤทธิ์ เหมะ’ ภรรยา วรชัย เหมะ อดีตแกนนำเสื้อแดงปากน้ำ และเลือดใหม่อย่าง ภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์ ลงชิงชัย เทียบกันปอนด์ต่อปอนด์ ดังนี้ 

เขต 1 แพรวพรรณ พุกพิบูลย์ (เพื่อไทย) พบ นายอัครวัฒน์ อัศวเหม (พปชร.)

เขต 2 ภิญโญ กิจเลิศไพโรจน์ (เพื่อไทย) พบ ยงยุทธ สุวรรณบุตร (พปชร.)

เขต 3 ประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย (เพื่อไทย) พบ ภริม พูลเจริญ (พปชร.)

เขต 4 สัมฤทธิ์ เหมะ (เพื่อไทย) พบ วรพร อัศวเหม (พปชร.)

เขต 5 นิธิพล บุญเพ็ชร (เพื่อไทย) พบ นายจาตุรนต์ นกขมิ้น (พปชร.)

เขต 6 นฤมล ธารดำรงค์ (เพื่อไทย) พบ นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ (พปชร.)

เขต 7 ประชา ประสพดี (เพื่อไทย) พบ ต่อศักดิ์ อัศวเหม (พปชร.)

เขต 8 สลิลทิพย์ สุขวัฒน์ (เพื่อไทย) พบ นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก (พปชร.)

ศึกเลือกตั้งสมรภูมิปากน้ำทั้ง 8 เขตเที่ยวนี้ ดุเดือดอย่างน่าจับตาไม่น้อย

เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ศึกเลือกตั้งใหญ่เมืองปากน้ำจะเป็นการสู้กันหนักระหว่าง ขั้วประชาธิปไตย‘เพื่อไทย-ก้าวไกล’ กับค่ายลุงอย่าง ‘พลังประชารัฐ’ ที่เป็นแชมป์เก่ากวาด ส.ส.ไปได้มากที่สุด

กระแสคนเบื่อลุง จะยังมีอยู่หรือน้อยลง มนต์ ‘เพลง’ บ้านใหญ่ ‘อัศวเหม’ คงไม่ยอมให้เสียฐานที่มั่นง่ายๆ แม้สิ้น ‘พี่ใหญ่ เอ๋ ชนม์สวัสดิ์’ ก็ตาม

งานศพชนม์สวัสดิ์ อัศวเหมงานศพชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม


เอ๋ ชนม์สวัสดิ์.jpgชนม์สวัสดิ์ เอ๋ นันทิดา เพลง ชนม์ทิดา พิม IMG_7992.jpeg