ไม่พบผลการค้นหา
เครือข่ายหาบเร่แผงลอย บุกทำเนียบร้องนายกฯ ทบทวนจัดระเบียบทางเท้าคืนพื้นที่ค้าเดิม เตรียมปักหลักยาวหากรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไม่มาเจรจาโดยตรง

แกนนำและสมาชิกเครือข่ายหาบเร่แผงลอยแระมาณ 500 คนรวมตัวกันชุมนุมที่บริเวณด้านหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และ 4 รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ทบทวนนโยบายจัดระเบียบทางเท้า คืนพื้นที่ขายให้กับหาบเร่แผงลอย 

โดยประธานเครือข่ายหาบเร่แผงลอยไทย นายเรวัตร ชอบธรรม บอกว่า ปัจจุบันเครือข่ายหาบเร่แผงลอยไทย มีสมาชิกที่เป็นผู้ค้าอยู่ว่า 7,500 คน ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขตของกรุงเทพมหานคร สำหรับข้อเรียกร้องคือ ต้องการร้องนายกรัฐมนตรี มีการแก้ปัญหา 3 ระยะ 

1.ระยะเร่งด่วน โดยให้รัฐบาลและกทม.ทบทวนยกเลิกนโยบายคืนทางเท้าให้กับประชาชน พร้อมคืนพื้นที่ค้าขายให้กับหาบเร่แผงลอยที่เคยได้รับอนุญาตในจุดค้าขายเดิมภายใน 7 วัน เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้จนกว่ากฏหมายฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ 

2.ระยะกลาง ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างผู้ค้า กับ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) โดยทางกลุ่มยืนยัน พร้อมจัดระเบียบแต่ขอให้พัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้ง เทศกิจ กทม. เครือข่ายผู้ค้าริมทางเท้า ผู้บริโภค และนักวิชาการ เพื่อพัฒนามาตรการจัดระเบียบให้สามารถอยุ่ร่วมกับชุมชน ไม่ใช่การยกเลิกหาบเร่อผงลอย เช่น การรักษาความสะอาด การดูแลพื้นที่ให้เป็นไปตามกำหนดของ กทม. รวมถึง ควบคุมเวลาตั้งแผงพร้อมลงโทษผู้กระทำผิด และการเสียภาษีอย่างถูกต้องให้แก่รัฐ 

3.ระยะยาว ขอให้รัฐบาลและ กทม. ออกกฏหมายการค้าริมทางเท้า เพื่อจัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่แผงลอย ป้องกันไม่ให้เกิดนโยบายที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา 


S__23429133.jpg


ทั้งนี้ประธานเครือข่ายหาบเร่ ยืนยันว่า จะปักหลักการชุมชุมอยู่ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ฝั่งทำเนียบรัฐบาล จนกว่าจะได้การเจรจาโดยตรงจาก 4 รัฐมนตรีรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์, นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยว, และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

โดยตัวแทนผู้ค้าฯ เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สถานที่ที่ กทม. จัดให้พวกตนค้าขายแทนริมทางเท้า ไม่มีผู้ซื้อมาจับจ่ายสินค้า เพราะเดินทางลำบากบ้าง อยู่ห่างไกลบ้าง หรืออยู่ใกล้ตลาดใหญ่อยู่แล้วบ้าง ทำให้ไม่มีรายได้ อีกทั้งพวกตนมีอาชีพหาเช้ากินค่ำ ช่วงเวลาที่ผ่านมาจึงสร้างความลำบากให้กับครอบครัวอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ได้มีการยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ว่า กทม. และศาลปกครอง แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนนี้ โดย กทม. มักอ้างว่า สาเหตุที่ต้องยกเลิกทางเท้าเพราะ บช.น. ไม่อนุญาต 


S__23429135.jpg


ส่วนการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวดโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล1 1 กองร้อย พร้อมควบคุมฝูงชนกว่า 50 นาย คอยรักษาความเรียบร้อย ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุม มีตัวแทนผลัดเปลี่ยนกันมาขึ้นปราศรัย และเล่าประสบการณ์ความทุกข์ยากของตน พร้อมกับตะโกนขอความช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีเป็นระยะ

ล่าสุดหลังการหารือ นายเรวัตร ชอบธรรม ประธานเครือข่ายฯ และ พ.ต.อ. เทียนชัย คามะปะโส รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล แถลงต่อผู้ชุมนุมว่า นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายพิจารณาแนวทางแก้ปัญหา โดยมี กทม., บช.น., และตัวแทนผู้ค้า และให้การคุ้มครองผู้ค้าที่ได้รับคำสั่งยกเลิกไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ออกจากพื้นที่ ส่วนผู้ค้าที่ออกจากพื้นที่ไปแล้วให้รอการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภายใน 30 วัน