ทำให้ "องค์กรปราบโกง" เวียนว่ายอยู่ใน "วัฏจักรความขัดแย้ง"
ในวาระครบรอบ 2 ทศวรรษของคณะกรรมการ ป.ป.ช. “วรวิทย์ สุขบุญ” เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้คำมั่น ว่า คดีสำคัญจะแล้วเสร็จในปี 2563 อย่างน้อย 15 คดี
“วรวิทย์” ให้คำมั่นว่าในปี 2563 จะดำเนินการไต่สวนคดี 15 คดีให้แล้วเสร็จ ได้แก่
1. คดีทุจริตเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและของประเทศ ปี 2556
2. คดีการปราศรัยของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปี 2557
3. คดีทุจริตในการดำเนินการก่อสร้างฝายและเพาะชำปลูกหญ้าแฝกตามโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและป่าไม้ (ฝายแม้ว)
4. คดีการอนุญาตเปลี่ยนแปลงแผนผังโครงการเมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ
5. คดีทุจริตการทำสัญญาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ ภาค 2
6. คดีทุจริตการทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังแบบรัฐต่อรัฐ
7. คดีทุจริตเงินทอนวัด
8. คดีทุจริตในการจัดซื้อเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด GT200 และอัลฟ่า 6
9. คดีทุจริตสร้างสนามกีฬาฟุตซอล
10. คดีทุจริตเรียกรับเงินจากผู้นำเข้ารถยนต์อิสระทำให้ผู้นำเข้าเสียภาษีน้อยลง (รถหรู)
11. คดีทุจริตในโครงการจัดหาที่ดินเพื่อปลูกปาล์มและผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศอินโดนีเซีย
12. คดีทุจริตในการซื้อขายเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน Boeing B777 – 200 ER ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (โรลส์-รอยซ์)
13. คดีทุจริตในการออกโฉนดที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขารวก-ป่าเขาเมือง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
14. คดีทุจริตในการออกโฉนดที่ดินตำบลเขากะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด
15. คดีทุจริตในการออกโฉนดที่ดินทับซ้อนเขาเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาเตียนและป่าเขื่อนลั่น อำเภอสีคิ้วจังหวัดนครราชสีมา
(วรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.)
หากย้อนกลับไปในก่อนหน้าปี 2560
โดยในปี 2560 ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด 1.นายวัฒนา เมืองสุข เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับพวกรวม 13 คน ในการทำโครงการบ้านเอื้ออาทร และ 2.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ ข้อกล่าวหาออกหนังสือเดินทางธรรมดาให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ยศในขณะนั้น)
ในปี 2559 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 1.นายประชา ประสพดี เมื่อครั้งเป็น รมช.มหาดไทยใช้สถานะหรือตำแหน่งรัฐมนตรี ก้าวก่ายแทรกแซงการดำเนินงานของคณะกรรมการองค์การตลาด
2.พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีต รมว.กลาโหม กรณีเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมโดยมิชอบ
3.ขอให้ถอดถอน ส.ส. ออกจากตำแหน่ง กรณีมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ส่อว่ากระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงกรณีเสนอและพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช....จำนวน 3 ฉบับ เกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ประกอบด้วย 1.นายนริศ ทองธิราช ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย 2.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย 3.นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย
ในปี 2558 คณะกรรมกาาป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด 1.นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ กับพวกข้อกล่าวหา ทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว 2.นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ในคดีร่ำรวยผิดปกติ
3.นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กรณีใช้อำนาจในตำแหน่งและหน้าที่ รมว.คลัง สั่งการ แทรกแซง และครอบงำแต่งตั้งบุคคลเป็นคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรณีใช้อำนาจในตำแหน่ง รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อนุมัติให้บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้น
ปี 2557 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติส่งเรื่องให้ถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ออกจากตำแหน่ง กรณีปิดอภิปรายและตัดสิทธิสมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติในการร่วมประชุมกันของรัฐสภา วาระที่ 2 ในสมัยสามัญทั่วไป เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา และกรณีร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 มาตรา 237 และมาตรา 190
2.ขอให้ถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมออกจากตำแหน่ง กรณีมีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย กรณีละเลยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวของรัฐบาล
ปี 2555 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย กรณีมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมที่ดินที่ให้ยกเลิกโฉนดที่ดิน (ที่จดทะเบียนในนามสนามกอล์ฟอัลไพน์) เป็นการโอนที่ธรณีสงฆ์โดยมิชอบ
ปี 2554 คณะกรรมการป.ป.ช.มีมติชี้มูล 1.นายโภคิน พลกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทยกับพวก กรณีจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร และส่งเรื่องให้ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
2.นายศุภชัย โพธิ์สุ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.เกษตรและสหกรณ์ กรณีกระทำการโน้มน้าวให้ประชาชนที่มาเข้าร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมของกรมพัฒนาที่ดิน ที่โรงแรมริมปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ลงคะแนนเลือกผู้สมัครของพรรคภูมิใจไทย
3.นายวัฒนา อัศวเหม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.มหาดไทยกับพวก กรณีทุจริตโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดสมุทรปราการ (คลองด่าน) ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาจำคุก 10 ปี
ปี 2553 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูล 1.นายเสนาะ เทียนทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย กรณีโอนขายที่ธรณีสงฆ์โดยมิชอบ แต่สุดท้ายศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาว่าการฟ้องคดีของคณะกรรมการป.ป.ช. “ขาดอายุความ” เพราะไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาลภายในที่อายุความกำหนด
2.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกับพวก กรณีเห็นชอบให้กระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้บริหารคนใหม่ของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) โดยมิชอบ สุดท้าย คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีความเห็นไม่ตรงกับอัยการ ทำให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติฟ้องเอง
ปี 2552 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูล 1.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีกับพวกกรณีสลายการชุมนุม 7 ต.ค. 2551 แต่ที่ประชุมวุฒิสภามีมติไม่ถอดถอน 76 ต่อ 49 เสียง
2.นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ กรณีลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร แต่ที่ประชุมวุฒิสภามีมติถอดถอนไม่ถึง 1 ใน 3
ปี 2551 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลนายปลอดประสพ สุรัสวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้กับพวก กรณีให้มีการส่งออกเสือโคร่งที่อยู่ในความครอบครอบของบริษัทเอกชนไปยังประเทศจีน
เป็น 2 ทศวรรษของป.ป.ช.ที่ยังรอพิสูจน์ความตรงไปตรงมา โดยเฉพาะในยุคของพล.ต.อ.วัชพล ประสารราชกิจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง