นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2563 เห็นชอบผลการพิจารณางบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่จะนำมาจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. ... ซึ่งรายการงบประมาณที่จะนำมาโอนประกอบด้วย
(1) รายจ่ายประจำที่ยังมิได้เบิกจ่ายหรือยังไม่มีข้อผูกพัน หรือสามารถชะลอข้อผูกพันได้ ณ วันที่ 7 เม.ย. 2563
(2) รายจ่ายลงทุน อาทิ รายการปีเดียวที่ยังไม่ประกาศดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภายในวันที่ 7 เม.ย. 2563 และ/หรือไม่สามารถลงนามได้ภายในวันที่ 31 พ.ค. 2563 รายการที่สามารถชะลอการดำเนินการโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ หรือไม่สามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
(3) งบประมาณที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ หรือมีเงินรายได้เพียงพอของหน่วยงานรัฐสภา หน่วยงานของศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ องค์การมหาชน หน่วยงานของรัฐและทุนหมุนเวียน
ดังนั้น เพื่อให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการใช้จ่าย รายจ่ายลงทุนที่เหลือ ให้สามารถลงนามให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 2563 กรมบัญชีกลางจึงได้ส่งคณะทำงานเฉพาะกิจลงไปยังหน่วยงาน เพื่อให้การใช้จ่ายเงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
โดยขณะนี้ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 62 - 15 พ.ค. 2563) งบประมาณภาพรวมใช้จ่ายแล้ว 2,123,781 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 3,200,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66.37 โดยแบ่งเป็น
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล ระบุว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2563 จะพิจารณาในต้นเดือน มิ.ย. ถัดจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 3 ฉบับเพื่อบรรเทาเยียวยา แก้ปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะมีการพิจารณาตั้งแต่วันที่ 27 พ.ค. โดยจะเริ่มประชุม 09.30 น. และเสร็จสิ้นภายในเวลา 20.00 น. ของทุกวัน และลงมติภายในเวลา 15.00 น. ของวันที่ 31 พ.ค. 2563
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :