ไม่พบผลการค้นหา
สุนัขเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ตามข้างถนนกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในรัสเซีย หลังจากมีการประเมินว่าในเมืองที่ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลกมีสุนัขเร่ร่อนถึง 2 ล้านตัว ทั้งนี้กลุ่มผู้รักสัตว์กังวลว่ามาตรการจัดการสัตว์เร่ร่อนจะทำให้สุนัขตาย แม้ว่าว่าทางการจะให้สัญญาว่าจะปล่อยพวกมันหลังจากจบช่วงฟุตบอลโลก

เทศกาลฟุตบอลโลกที่กำลังจะจัดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนมิ.ย. - ก.ค.นี้ นอกจากจะเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้มหาศาลให้แก่รัสเซียแล้ว ในอีกมุมหนึ่งสุนัขเร่ร่อนที่อาศัยอยู่ตามเมืองต่างที่ใช้จัดการแข่งขันนั้นกำลังประสบกับชะตากรรมที่อาจถูกฆ่าได้ทุกเมื่อ จากการปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองเพื่อต้อนรับเทศกาลดังกล่าว

อย่างไรก็ตามเนื่องจากในทั้ง 11 เมืองของรัสเซีย มีปัญหากับสุนัขจรจัดที่มีมากกว่า 2 ล้านตัว แต่ศูนย์พักพิงสัตว์เรร่อน มีเพียงแค่ในเมืองใหญ่ๆ 3 เมืองเท่านั้น ได้แก่มอสโคว เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก นิชนีโนโกโรด และกำลังดำเนินการสร้างเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งที่ เมืองคาลินนิกราด ซึ่งจำนวนสุนัขที่มากเกินกว่าจะสามารถจับไปอยู่ในศูนย์พักพิงได้หมดนั้น ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า ทางเจ้าหน้าท้องถิ่นจะใช้มาตรการในการวางยาเบื่อสุนัข เพื่อกำจัดสุนัขเร่ร่อนในเมืองต่างๆ เหมือนในช่วงโอลิมปิกฤดูหนาวในปี 2014 ที่ผ่านมา

อีเลนา อิวาโนวา เวอชอฟคายา รองผู้อำนวยการสมาคมติดตามกลุ่มหมาจรจัดในมอสโคว กล่าวว่า "ทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสัญญาว่าจะสร้างที่พักพิงให้แก่หมาจรจัดชั่วคราวในช่วงระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก แต่อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มเห็นว่านี่ไม่ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่มีมานานกว่า 10 ปี ไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันสั้น และทางกลุ่มก็ไม่อาจจะช่วยเหลือสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดได้ "

เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางท้องถิ่นในการควบคุมสุนัข ได้วางยาพิษสุนัขจำนวนมาก เพื่อกำจัดและควบคุมสุนัขเร่ร่อนในเมืองโซชิ ทางตอนใต้ของรัสเซีย ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ออกมาปฏิเสธต่อเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้หน่วยงานเอ็นจีโอท้องถิ่น หลายกลุ่มต่างออกมาเคลื่อนไหวในการรณรงค์การกระทำดังกล่าว รวมไปถึงจัดโครงการรณรงค์เรียกร้องให้หยุดกวาดล้างสุนัขโดยการวางยาพิษ


ก่อนหน้านี้วลาดิเมียร์ เบอร์มาตอฟ ประธานรัฐสภารัสเซีย และเป็นคณะกรรมการป้องกันระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปเยือนศูนย์พักพิงสัตว์ในเมืองเยากาเตรินเบิร์ก พบว่าสุนัขในศูนย์ดังกล่าว มีอาการขาดสารอาหารและเจ็บป่วยจำนวนมาก นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าศูนย์พักพิงสุนัขที่ได้มาตรฐานขนาดใหญ่ควรมีงบประมาณในการดูแลสุนัขแต่ละตัวมากกว่า 1.20 ยูโร หรือประมาณ 45 บาท อย่างไรก็ตามศูนย์พักพิงสัตว์ต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างแท้จริง

ที่มา The guardian / DW / telegraph