ไม่พบผลการค้นหา
'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจของประชาชนกว่าร้อยละ 40.84 มองรัฐบาลจัดการฝุ่นละอองไม่มีประสิทธิภาพ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "การจัดการวิกฤตฝุ่นละออง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 มกราคม 2563 จากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดการวิกฤติฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานคร

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการปฏิบัติตัวเมื่อเผชิญปัญหาจากวิกฤตฝุ่นละอองของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.98 ระบุว่า สวมหน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้าน รองลงมา ร้อยละ 21.50 ระบุว่า หลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกบ้าน ร้อยละ 10.59 ระบุว่า งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ร้อยละ 6.61 ระบุว่า ใช้เครื่องฟอกอากาศ ร้อยละ 5.41 ระบุว่า ปิดประตู-หน้าต่างกันฝุ่น ร้อยละ 3.66 ระบุว่า ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้ทำอะไรเลย ร้อยละ 3.50 ระบุว่า ไม่สนใจ เพราะอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง ร้อยละ 3.18 ระบุว่า ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ร้อยละ 2.23 ระบุว่า ไม่สนใจ เพราะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่สนใจ เพราะคิดว่าร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานดี ร้อยละ 0.64 ระบุว่า เดินทางไปอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่มีฝุ่น ร้อยละ 0.48 ระบุว่า ไม่ได้ทำอะไร เพราะไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละออง และร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปลูกต้นไม้ ฉีดน้ำบริเวณรอบบ้าน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ซื้อเครื่องตรวจจับค่า pm 2.5 มาใช้

ด้านประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า ร้อยละ 2.47 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก เพราะ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีการจัดการแก้ปัญหาที่ดี ร้อยละ 17.60 ระบุว่า ร้อยละ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เพราะ มีการพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่น มีการแจ้งเตือนเขตพื้นที่สีแดง ทำให้ประชาชนได้เตรียมพร้อมรับมือ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ได้เกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐ แต่เป็นที่ตัวบุคคลในการทำให้เกิดฝุ่นละออง ระบุว่า ร้อยละ 40.84 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังแก้ไขได้ไม่ตรงจุด ทำงานไม่จริงจัง ไม่ต่อเนื่อง ควรมีมาตรการอย่างจริงจังที่เป็นรูปธรรมในการควบคุม เช่น การก่อสร้าง รถควันดำ หรือผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษ ร้อยละ 36.22 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย เพราะ การจัดการของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการตื่นตัว ไม่มีการเเก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม ไม่มีความชัดเจน ปัญหายังเดิม ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น งานก่อสร้างต่าง ๆ รถประจำทาง/รถส่วนตัวยังมีควันดำ และร้อยละ 2.87 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงการมีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.57 ระบุว่า ใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการขับรถส่วนตัว รองลงมา ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ฉีดน้ำล้างฝุ่นละอองหน้าบ้านตนเอง ร้อยละ 23.09 ระบุว่า หยุดเผาขยะ ใบไม้ เศษวัสดุ ร้อยละ 21.66 ระบุว่า ไม่มีส่วนช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง เพราะ การใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ทำอะไรหรือสร้างปัญหาอะไรเกี่ยวกับฝุ่นอยู่แต่ที่บ้าน/อาคารไม่ได้ไปไหน ขณะที่บางส่วนระบุว่า เนื่องจากจำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวเพื่อไปทำงาน ร้อยละ 16.96 ระบุว่า ดับเครื่องยนต์ ทุกครั้งเวลาจอดรถ ร้อยละ 8.20 ระบุว่า หยุดการจุดธูป ประทัด ร้อยละ 7.48 ระบุว่า นำรถไปเข้าอู่เพื่อแก้ไขปัญหาควันดำ ร้อยละ 2.23 ระบุว่า หยุดการก่อสร้าง และร้อยละ 3.50 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ใช้รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน หรือเดินแทนการใช้รถยนต์ ปลูกต้นไม้ และอยู่บ้านเพื่อลดการใช้รถ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ลดการใช้รถที่เติมน้ำมันดีเซล เปลี่ยนมาใช้รถที่เติมน้ำมันเบนซิน หรือ E20 แทน 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.81 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.19 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.40 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 13.14 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 18.47 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.84 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 27.15 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 93.87 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.54 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.11 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่างร้อยละ 31.53 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.37 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.62 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 15.36 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 22.93 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.77 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 41.72 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 12.26 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.11 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 25.80 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.89 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.48 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 10.03 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 27.47 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.18 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 25.32 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 6.45 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 19.43 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.85 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 8.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 15.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.51 ไม่ระบุรายได้