องค์กรพลังงานระหว่างประเทศเตือนว่า รัสเซียซึ่งเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบอันสองของโลกอาจถูกจำกัดให้ผลิตน้ำมันดิบได้เพียง 3 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงเดือน เม.ยที่จะถึงนี้ เนื่องจากบริษัทน้ำมันรายใหญ่ บริษัทการค้า และบริษัทเดินเรือต่างหลีกเลี่ยงการส่งออกและการซื้อน้ำมันจากสถานการณ์น้ำมันรัสเซียที่ตกต่ำ ทั้งนี้ ก่อนการรุกรานยูเครน รัสเซียขุดน้ำมันดิบกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยกว่าครึ่งถูกส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
“ผลกระทบของความสูญเสียในการส่งออกน้ำมันของรัสเซียไปยังตลาดโลกนั้นไม่อาจอธิบายได้” องค์กรพลังงานระหว่างประเทศระบุในรายงานประจำเดือนก่อนชี้ว่า วิกฤตการณ์ในครั้งนี้อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่อตลาดพลังงานในระดับโลกได้
ปัจจุบันนี้ แคนาดา สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย คว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ทำให้การส่งออกน้ำมันของรัสเซียได้รับผลกระทบในปริมาณ 13% แต่ตั้งแต่รัสเซียตัดสินใจรุกรานยูเครน หลายบริษัทน้ำมันและธนาคารระดับโลกต่างหยุดการทำการค้าน้ำมันกับรัสเซีย ส่งผลให้รัสเซียต้องเสนอส่วนลดราคาน้ำมันส่งออกของตนเองเพื่อสร้างแรงจูงใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่หลายเจ้าตัดสินใจยุติการร่วมกิจการกับทางรัสเซีย ตลอดจนยุติการเป็นหุ้นส่วนด้านน้ำมัน รวมไปถึงการระงับโครงการด้านน้ำมันอื่นๆ ในรัสเซียแล้ว นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังได้ประกาศเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (15 มี.ค.) ในการแบนการลงทุนด้านอุตสาหกรรมพลังงานในรัสเซียแล้ว
องค์กรพลังงานระหว่างประเทศเปิดเผยอีกว่า ผู้กลั่นน้ำมันกำลังพยายามจัดหาแหล่งน้ำมันดิบใหม่ ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ถูกบังคับให้ลดการผลิตน้ำมันไปโดยปริยาย ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันระดับโลกที่พุ่งสูงขึ้น
ปัจจุบันนี้ ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นผู้ผลิตรายเดียวที่มีกำลังการผลิตน้ำมันสำรองจำนวนมาก ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) ซึ่งได้ประกาศว่าจะเพิ่มพลังงานผลิตน้ำมันเพิ่มเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี OPEC มักล้มเหลวเพราะไม่สามารถผลิตน้ำมันได้ตามเป้าหมายของตนเอง ทั้งนี้ ชาติตะวันตกพยายามร้องขอให้ทั้งสองชาติเพิ่มพลังการผลิตน้ำมันมากขึ้น
เมื่อสัปดาห์ก่อน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งขึ้นไปถึง 139 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 4,620 บาท) ต่อบาร์เรล โดยนักวิเคราะห์หลายรายเตือนว่าราคาน้ำมันอาจพุ่งสูงขึ้นไปแตะถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6,650 บาท) ต่อบาร์เรล ด้วยสาเหตุที่ผู้ค้าน้ำมันต่างหลีกเลี่ยงการทำการค้าน้ำมันกับรัสเซีย ผลักดันให้เกิดอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซ้ำเติมให้เศรษฐกิจโลกมีความตึงเครียดมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันกลับพลิกกลับมาอย่างรวดเร็ว โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของน้ำมันดิบเบรนต์ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานระดับโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น 30% จากจุดสูงสุด ส่งผลให้ราคาน้ำมันตกลงมาต่ำกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 3,325 บาท) ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกในเดือนนี้ หลังจากราคาน้ำมันได้ร่วงลงอีก 6.5% ในวันอังคารที่ผ่านมา
วิกฤตน้ำมันของรัสเซียจะส่งผลกระทบต่อตลาดพลังงานของโลกอย่างร้ายแรง ในขณะที่สหภาพยุโรปที่เป็นผู้พึ่งพาการน้ำเข้าพลังงานน้ำมันและก๊าซเป็นเจ้าหลักของรัสเซีย กำลังหาแนวทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานรัสเซียลงในระยะยาว ถึงแม้ว่าสหภาพยุโรปจะยังไม่มีแนวโน้มการประกาศคว่ำบาตรพลังงานรัสเซียในเร็วๆ นี้ก็ตาม
ที่มา:
https://edition.cnn.com/2022/03/16/energy/russia-oil-output-opec/index.html